เรื่อง: แนวทางการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรบุคคลสายแพทย์ของโรงพยาบาลนวุติสมเด็จย่าและกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน,Guideline for the Formulation of the Strategic Plan for Healty Human Resource Management of Princess Mother Navuti Hospital and Border Patrol Police Headquarter
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
ไม่ระบุ/not specified
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, พ.ต.อ. บันเจิด ฐิตาภิวัฒนกุล
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2560
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
เปิดเผยเฉพาะบางส่วน (ไม่เปิดเผยเนื้อหา)
|
|
บทคัดย่อ:
บทคัดย่อ
เรื่อง : แนวทางการจัดท าแผนยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรบุคคลสายแพทย์ของ
โรงพยาบาลนวุติสมเด็จย่าและกองบัญชาการต ารวจตระเวนชายแดน
โดย : พันต ารวจเอก บันเจิด ฐิตาภิวัฒนกุล
สาขาวิชา : บริหาร
อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจัย : พันเอกหญิง
(อัมพาศรี ด ารงค์กุล)
กรกฎาคม ๒๕๖๒
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ เพื่อศึกษาและ
ประเมินสถานภาพการบริหารทรัพยากรบุคคลสายแพทย์ของโรงพยาบาลนวุติสมเด็จย่า และ กองบัญชาการ
ต ารวจตระเวนชายแดน เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์ความคิดเห็นเกี่ยวกับทิศทางขององค์กรกับความคาดหวัง
ของผู้บริหาร บุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการบริหารทรัพยากรบุคคลของ
โรงพยาบาลนวุติสมเด็จย่า และเพื่อศึกษาการจัดท าแผนยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรบุคคลสายแพทย์
โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารในกรอบ 5 มิติ ตามมาตรฐานความส าเร็จด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
ที่ ก.พ. ก าหนด ร่วมกับวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลส าคัญ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการบริหาร
ทรัพยากรบุคคลของโรงพยาบาลนวุติสมเด็จย่าและกองบัญชาการต ารวจตระเวนชายแดน 12 ท่าน และการ
ประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้ให้ข้อมูลส าคัญบางส่วนอีก 8 ท่าน
ผลการวิจัยพบว่า สิ่งที่ได้รับจากการศึกษาและประเมินสถานภาพด้านการบริหารทรัพยากร
บุคคลของโรงพยาบาลนวุติสมเด็จย่าและกองบัญชาการต ารวจตระเวนชายแดน โดยการวิเคราะห์ข้อมูล
เอกสาร และผลที่ได้รับจากการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลส าคัญนั้น พบว่า ส่วนใหญ่
มีสาระที่ตรงกันหรือสอดคล้องกัน โดยมีประเด็นที่โรงพยาบาลนวุติสมเด็จย่าควรให้ความส าคัญในการแก้ไข
หรือปรับปรุงในหลายประเด็น ซึ่งผู้วิจัยได้น าประเด็นเหล่านี้มาวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ส่วนต่าง
จนได้ผลผลิต คือ ประเด็นยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรบุคคล คือ ประเด็นยุทธศาสตร์การบริหาร
ทรัพยากรบุคคล 9 ประเด็นยุทธศาสตร์ จากนั้นจึงน าประเด็นเหล่านี้มาวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์
แรงเสริม แรงต้าน มาก าหนดเป็นเป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์ และ ตัวชี้วัด เพื่อให้มีองค์ประกอบที่ส าคัญของ
แผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างครบถ้วน คือ มิติของมาตรฐานความส าเร็จด้านการบริหาร
ทรัพยากรบุคคล ประเด็นยุทธศาสตร์ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล เป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์ในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ และตัวชี้วัดในแต่ละเป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์ โดยมีผลผลิต แยกตามมาตรฐาน
ความส าเร็จด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลทั้ง 5 มิติ สรุปได้ดังนี้คือ มิติที 1 ความสอดคล้องเชิง
ยุทธศาสตร์ ประกอบไปด้วย 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ 8 เป้าประสงค์ และ 8 ตัวชี้วัด มิติที่ 2 ประสิทธิภาพ
ของการบริหารทรัพยากรบุคคล ประกอบไปด้วย 1 ประเด็นยุทธศาสตร์ 3 เป้าประสงค์ และ 3 ตัวชี้วัด มิติ
ที่ 3 ประสิทธิผลของการบริหารทรัพยากรบุคคล ประกอบไปด้วย 2 ประเด็นยุทธศาสตร์ 7 เป้าประสงค์
และ 7 ตัวชี้วัด มิติที่ 4 ความพร้อมรับผิดด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ประกอบไปด้วย 1
ประเด็นยุทธศาสตร์ 3 เป้าประสงค์ และ 4 ตัวชี้วัด และมิติที่ 5 คุณภาพชีวิต และความสมดุลระหว่างชีวิต
กับการท างาน ประกอบไปด้วย 1 ประเด็นยุทธศาสตร์ 2 เป้าประสงค์ และ 2 ตัวชี้วัด
ผลการวิจัยครั้งนี้ สามารถน าไปใช้เป็นแนวทางในการจัดท าแผนยุทธศาสตร์การบริหาร
ทรัพยากรบุคคลของโรงพยาบาลนวุติสมเด็จย่าและกองบัญชาการต ารวจตระเวนชายแดนเป็นอย่างดี หรือ
น าไปปรับใช้กับองค์กรอื่นๆ ได้ โดยประยุกต์ให้เหมาะสมกับลักษณะขององค์กรนั้นๆ และควรพิจารณาถึง
ความเป็นไปได้ในการรวบรวมข้อมูลจากทุกแหล่งข้อมูลให้มากที่สุด โดยเฉพาะผู้บริหารสูงสุดขององค์กร
ทั้งนี้ เพื่อให้ผลการวิจัยมีความถูกต้อง ครบถ้วน และสมบูรณ์มากที่สุด กับมีแนวโน้มที่จะน าไปสู่การปฏิบัติ
ได้จริงอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงควรศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม เพื่อให้องค์ประกอบของแผนยุทธศาสตร์การ
บริหารทรัพยากรบุคคล มีความครบถ้วน สมบูรณ์ เหมาะสมกับสถานการณ์ให้ห้วงเวลาที่ศึกษาวิจัย
ตลอดจนครอบคลุมถึงองค์ประกอบอื่นๆด้วย เช่น การก าหนดระดับเป้าหมาย ค่าน้ าหนักของตัวชี้วัด และ
แผนงาน หรือ โครงการที่รองรับแผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคลABSTRACT
Title : Guideline for the Formulation of the Strategic Plan for Health
Human Resource Management of Princess Mother Navuti
Hospital and Border Patrol Police Headquarter
By : Police Colonel Bunjert Titapiwatanankun
Major Field : Management
Research Advisor : Colonel
(Aumpasri Damrongkul)
July 2019
This qualitative research was aimed to study and evaluate the status of the
health human resource management of Princess Mother Navuti Hospital and Border
Patrol Police Headquarter; to gather and analyze feedback on the direction of the
organization and the expectations of executives and officers responsible for human
resource management of Princess Mother Navuti Hospital by analyzing information
from the documents in the 5th dimension framework according to the success
standard of human resource management as dictated by the Office of the Civil Service
Commission; and scrutinizing data from: interviews with 12 key informants relating to
human resource management of the Internal Security Operations Command and
arranged focus group meetings to gather opinions from the other 8 key imformants.The research found that the results obtained from studying and evaluating
the status of the human resource management of the Princess Mother Navuti Hospital
and Border Patrol Police Headquarter, by analyzing data from the documents and the
results obtained from the analysis of the data abtained from key informant interview,
could be concluded that most of the subject matter were valid and congruent. Several
issues should Princess Mother Navuti Hospital need to focus on their rectification or
improvement. These issues were, then, analyzed by applying the technique of yielding
gap analysis resulting in the 9 strategic human resource management issues. These 9
strategic issues were then scrutinized through the technique of reinforce – resistance
analysis ensuing strategic goals and indicators so as to provide key element of strategic
human resource management full dimensional standards of achievement in human
resource management, strategic issues in human resource management, strategic
objectives in each strategic issue, and indicators in each of the strategic objectives.
With the outputs categorized by 5 dimensional standards of achievement in human
resource management were as follows: 1st Dimension: strategic consistency;
comprising of 4 stragegic issues, 8 goals and 8 indicators; 2nd Dimension: strategic
efficiency consisting of 1 strategic issue, 3 goals and 3 indicators: 3rd Dimension:
strategic effectiveness consisting of 2 strategic issues, 7 goals and 7 indicator; 4th
Dimension: liability comprising 1 strategic issue, 3 goals and 4 indicators; and 5th
Dimension: quality of life and balance between life and work, comprising of 1 strategic
issue, 2 goals and 2 strategic indicators.
The results of this research can be used as a guide in the formulation of
strategic plan of health human resource management of Princess Mother Navuti
Hospital and Border Patrol Police Headquarter, or even apply to other organizations
with appropriate characteristics of an organization. It is of vital importance that should
a possibility of maximum data collected from all source be considered, especially, the
chief executive of the organization, so as to have accurate and complete as much as
possible. This also reflects a practical trend of materialization including further studying so as to have all elements of human resource management, and suitability of the
situation in the timeframe studies. It also includes other elements such as assigning the
target level, the weight of the indicators, and program / project that support strategic
plan for human resource management.
abstract:
ไม่มี