Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการพัฒนาการทำงานของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ให้มีประสิทธิภาพ,Guidelines for Internal security operations command (ISOC) To Operate Efficiency

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
ไม่ระบุ/not specified
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, นาย สุทธิศักดิ์ เทพปัญญา
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
ปีที่พิมพ์:
2559
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
เปิดเผยเฉพาะบางส่วน (ไม่เปิดเผยเนื้อหา)

บทคัดย่อ:

บทคัดย่อ ชื่อเรื่อง : การพัฒนาข่ายการติดต่อสื่อสารข้อมูลเพื่อสนับสนุนภารกิจการป้องกันภัยทาง อากาศของกองทัพบก ตามแนวคิดการปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง ในทศวรรษหน้า (พ.ศ.๒๕๖๒ – ๒๕๗๑) โดย : พันเอก อภิชาติ กุลรวิวรรณ สาขาวิชา : การทหาร อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจัย : นาวาอากาศเอก (จิตติ อินทรฤทธิ์) มิถุนายน ๒๕๖๑ ตามที่กองทัพบกได้นำแนวคิดการปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลางมาใช้ในภารกิจ การป้องกันภัยทางอากาศของกองทัพบก โดยมีแผนที่จะจัดหาระบบ C 4 I ด้านการป้องกันภัยทางอากาศ เข้าประจำการ เพื่อใช้ในการอำนวยการ วางแผน และสั่งการด้านการป้องกันภัยทางอากาศ ต่อหน่วยใน ระบบป้องกันภัยทางอากาศของกองทัพบก ซึ่งมีที่ตั้งการวางกำลังอยู่ในทุกพื้นที่ ทั้งในเขตหน้า เขตหลัง และเขตภายใน แต่ในปัจจุบันยังไม่มีข่ายการติดต่อสื่อสารข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อรองรับระบบ C 4 I ดังกล่าว จึงทำให้ไม่สามารถปฏิบัติภารกิจการป้องกันภัยทางอากาศตามแนวคิดดังกล่าวได้สำหรับการวิจัยในครั้ง นี้ผู้วิจัยได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ ๒ ข้อ คือ ๑) เพื่อศึกษาความต้องการข่ายการติดต่อสื่อสารข้อมูล รวมทั้งสภาพปัญหาและข้อจำกัดของโครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคมที่มีอยู่ และหน่วยทหารสื่อสารของ กองทัพบก ในการสนับสนุนภารกิจดังกล่าว และ ๒) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาข่ายการ ติดต่อสื่อสารข้อมูลเพื่อสนับสนุนภารกิจการป้องกันภัยทางอากาศของกองทัพบก ตามแนวคิดการ ปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลางในทศวรรษหน้า (พ.ศ.๒๕๖๒ – ๒๕๗๑) ในส่วนของวิธีดำเนินการ วิจัยนั้น ผู้วิจัยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ อันประกอบไปด้วย กระบวนการวิจัยเชิงเอกสาร และการ สัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์เนื้อหาทั้งจากเอกสาร ตำรา การสัมภาษณ์เชิงลึก และมุมมอง ของผู้วิจัยเอง จากนั้นนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลมาสรุปและอภิปรายผลเป็นผลงานของการวิจัย ซึ่งผล การศึกษาวิจัยสามารถตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัยได้ทั้ง ๒ ข้อ โดยวัตถุประสงค์ของการวิจัยข้อที่ ๑ นั้น สรุปผลได้ว่ากองทัพบกจะใช้ระบบ C 4 I ด้านการป้องกันภัยทางอากาศ ในการอำนวยการ ควบคุม และสั่งการในภารกิจการป้องกันภัยทางอากาศของกองทัพบกซึ่งระบบ C 4 I ดังกล่าวจะต้องเป็นระบบ เครือข่ายสารสนเทศขนาดใหญ่ (WAN) ที่จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมข้อมูลความ เคลื่อนไหวของอากาศยานจากเรดาร์ของกองทัพบก จากระบบ ACCS ของกองทัพอากาศ และจาก แหล่งข่าวอื่น ๆ นำมาดำเนินกรรมวิธีอย่างอัตโนมัติโดยระบบคอมพิวเตอร์และแจกจ่ายข้อมูลข่าวสาร ดังกล่าวให้กับหน่วยในระบบป้องกันภัยทางอากาศของกองทัพบก ที่มีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตหน้า เขตหลัง และเขตภายในครอบคลุมทั่วประเทศ ในส่วนของโครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคมของกองทัพบกนั้น ถูก สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นเครือข่ายการติดต่อสื่อสารข้อมูลระหว่างหน่วยทหารต่าง ๆ ในพื้นที่ทั้งสี่กองทัพภาค ในระบบ C 4 I ของ ทบ. แต่ก็ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของความไม่ครอบคลุมพื้นที่ทั่วทั้งประเทศ การถูกบดบัง สัญญาณ และความคับคั่งของโครงข่าย และสำหรับในส่วนของหน่วยทหารสื่อสารของกองทัพบก อาทิ เช่น กองพันทหารสื่อสารกองพลดำเนินกลยุทธ และกองพันทหารสื่อสารกองทัพภาคนั้น จะมีบทบาทใน การสนับสนุนภารกิจการป้องกันภัยทางอากาศ ในการเชื่อมโยงหน่วยในระบบป้องกันภัยทางอากาศที่อยู่ ในพื้นที่ที่ไม่มีโครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคมของกองทัพบกเข้ากับสถานีปลายทางของโครงข่ายสื่อสาร โทรคมนาคมของกองทัพบกที่ใกล้ที่สุด แต่ก็มีข้อจำกัดเนื่องจาก หน่วยกองพันทหารสื่อสารดังกล่าวมี หน้าที่หลักตามภารกิจในการที่จะต้องให้การสนับสนุนด้านการสื่อสารให้กับหน่วยบังคับบัญชาของตน เป็นลำดับแรก ทำให้ในบางครั้งอาจจะทำให้เครื่องมือสื่อสารในอัตราไม่เพียงพอต่อการให้การสนับสนุน การเชื่อมต่อให้กับหน่วยในระบบป้องกันภัยทางอากาศที่มาสนับสนุน สำหรับวัตถุประสงค์ของการวิจัย ข้อที่ ๒ สรุปผลได้ว่า ระบบ C 4 I ด้านการป้องกันภัยทางอากาศ จะใช้โครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคมของ กองทัพบกเป็นโครงข่ายการติดต่อสื่อสารข้อมูลหลัก (Backbone) สำหรับพื้นที่ที่ไม่มีโครงข่ายสื่อสาร โทรคมนาคมของกองทัพบก จะมีกองพันทหารสื่อสารที่ ๑๓ ซึ่งเป็นหน่วยขึ้นตรงของกองพลทหารปืน ใหญ่ต่อสู้อากาศยาน เป็นผู้ดำเนินการสนับสนุนการเชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับสถานีปลายทางของโครงข่าย สื่อสารโทรคมนาคมของกองทัพบกที่ใกล้ที่สุด ทั้งนี้กองพันทหารสื่อสารที่ ๑๓ จะต้องได้รับการปรับ โครงสร้างที่มีความเหมาะสม สำหรับการปรับปรุง พัฒนา นั้นจะต้องวางแผนเป็น ๒ ระยะ คือ แผน ระยะสั้น (๕ ปี) ในเรื่องของการดำรงสภาพ บูรณาการ และบริหารจัดการโครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคม ของกองทัพบกให้มีประสิทธิภาพ และในเรื่องของการปรับโครงสร้างใหม่ของกองพันทหารสื่อสารที่ ๑๓ และแผนระยะยาว (๑๐ ปี) ในเรื่องของการปรับปรุง พัฒนา และขยายโครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคมของ กองทัพบก และการจัดหายุทโธปกรณ์และเครื่องมือสื่อสารให้กับกองพันทหารสื่อสารที่ ๑๓ ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถสนับสนุนภารกิจการป้องกันภัยทางอากาศของกองทัพบกได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใน ทศวรรษหน้า (พ.ศ.๒๕๖๒ – ๒๕๗๑) นอกจากนี้ ยังมีเรื่องประเด็นสำคัญอื่น ๆ และข้อเสนอแนะที่เป็น ประโยชน์ทั้งในเชิงนโยบาย การปฏิบัติและวิชาการ สำหรับผู้ที่สนใจเพื่อการศึกษาวิจัยต่อไปในอนาคต

abstract:

ABSTRACT Title : Development of a data communication network to support an army air defense mission based on the network centric operation concept for the next decade (2019 – 2028) By : Colonel Apichart Kulraviwan Major Field : Military Research Advisor : Group Captain (Jitti Inthararith) June 2018 According to the Royal Thai Army’s implementation of the network centric operation concept on its air defense mission, by planning to procure an air defense C4 I system to be in further service for direction, planning, command and control all units in the Army’s air defense system which shall be deployed in all areas throughout the country at wartime. But at the present, without a large data communication network to support such system makes impossible to perform an air defense mission based on such concept. Therefore, the researcher defines purposes of this research in two objectives: 1) to study requirements for data communication network together with problems and limitations of the existing armytelecommunication network and signal units in supporting such mission and 2) to propose guidelines to develop a data communication network to support the army air defense mission based on the network centric operation concept in the next decade (2019 – 2028). For research methodology, the researcher used a qualitative research method, which consists a documentary research and an in-depth interview, to analyze the contents of the documents, textbooks, in-depth interviews and views of the researcher. Then, the results of the data analysis were summarized and discussed as a conclusive summary. The results of this research can response to such two objectives. For the first objective, this research has suggested that the Army would use the air defense C 4 I system in direction control and command for the Army’s air defense mission. Such C4 I system should be a WAN network to centralize in gathering track data from the Army’s radars, the Airforce’s radars via ACCS system and other sources and to process automatically and to distribute such processed data to all units in air defense system locating throughout the country. For the Army’s existing telecommunication network, it is use as a backbone network for the Army C 4 I. However, it has some limitations in support the system such as its coverage, being masked by high buildings and network congestion. For the Army’s signal units such as a division signal unit and a regional signal unit, they shall take role to support an air defense mission in linkingunits of the Army’s air defense system to the nearest access node. However, there are some limitation as well since such roles to support an air defense mission are not their major responsibilities making insufficient of personnel and equipment in support. For the second objective, this research has suggested that The Army’s existing telecommunication network is suitable for use as a backbone of the air defense C4 I network together with the 13th signal battalion, which is the subordinate unit of the anti￾aircraft artillery division, supporting in linking to the nearest access node in areas without such telecommunication network. For development, it should be planned into two phases, a short-term plan (5 years)on maintenance, integration and management of the RTA telecommunication network and on reorganization of the 13th signal battalion and a long-term plan (10 years) on the development and expansion of the Army’s existing telecommunication network and supplies of armaments and communication equipment to the 13th signal battalion in order to efficiently support the army air defense mission within the next decade (2019 – 2028). Furthermore, there are also other important issues and useful suggestions in terms of policy, practice, and academic for those interested in further research in the future.