Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการปรับปรุงและพัฒนาระบบการแยกประเภทกำลังพลของกองทัพอากาศ,Guideline for improvement and development RTAF's personnel categorization system

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
ไม่ระบุ/not specified
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, น.อ. ศักดิ์เสรี สยามพันธ์
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
ปีที่พิมพ์:
2559
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
เปิดเผยเฉพาะบางส่วน (ไม่เปิดเผยเนื้อหา)

บทคัดย่อ:

บทคัดย่อ ชื่อเรื่อง : แนวทางการปรับปรุงและพัฒนาระบบการแยกประเภทกําลังพลของกองทัพอากาศ โดย : นาวาอากาศเอก ศักดิ์เสรี สยามพันธ์ สาขาวิชา : ด้านการทหาร อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจัย : พันเอก (จิรานุวัฒน์ ศักดิ์เสือ) กรกฎาคม ๒๕๖๑ การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ระบบการแยกประเภทกําลังพล กองทัพอากาศ และ เพื่อกําหนดแนวทางการปรับปรุงและพัฒนา ระบบการแยกประเภทกําลังพล กองทัพอากาศ วิธีดําเนินการวิจัย ผู้วิจัยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) แบบ วิจัยเอกสาร (Documentary Research) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) โดยใช้ ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) ที่ได้มาจากการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิผู้เชี่ยวชาญ และ ผู้มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง ทั้งระดับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติรวมทั้งใช้ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) ที่ได้มาจากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและการทบทวนวรรณกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า ระบบการแยกประเภทกําลังพลของกองทัพอากาศ เป็นเครื่องมือที่สําคัญ และมีประโยชน์อย่างยิ่ง ในการบริหารจัดการกําลังพลของกองทัพอากาศ ช่วยให้กองทัพอากาศสามารถ บรรจุกําลังพลลงในตําแหน่งต่าง ๆ ตรงตามคุณสมบัติที่กองทัพอากาศต้องการ และสามารถบริหาร จัดการกําลังพลให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สําหรับแนวทางการปรับปรุงและพัฒนาระบบการแยกประเภทกําลังพลของกองทัพอากาศนั้น ผลการวิจัยมีความสอดคล้องกันระหว่างแนวคิด ทฤษฎี และวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง กับการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) พบว่า ระบบการแยกประเภท กําลังพลของกองทัพอากาศควรปรับปรุงและพัฒนา ในเรื่องของการกําหนดเหล่าทหารและจําพวกทหาร ให้ มีความสอดคล้องกันกับการวางแผนบรรจุกําลังพลลงในตําแหน่ง การแต่งต้ังและเลื่อนระดับความชํานาญ เลขหมายความชํานาญทหารอากาศควรปรับเปลี่ยนรายละเอียดของประสบการณ์ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน การสําเร็จหลักสูตรตามที่กองทัพอากาศกําหนด ในกรณีของหลักสูตรนายทหารชั้นผู้บังคับฝูง ควร เพิ่มเติมหลักเกณฑ์ในกรณีที่ไม่สามารถเข้ารับการศึกษาในหลักสูตรดังกล่าวได้เพื่อให้กําลังพลที่ไม่ สามารถเข้ารับการศึกษาหลักสูตรดังกล่าว สามารถเลื่อนยศเป็นนาวาอากาศตรีได้ในส่วนของการเลื่อน ระดับความชํานาญเลขหมายความชํานาญทหารอากาศรองของนายทหารสัญญาบัตรโดยใช้ ประสบการณ์ควรเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ให้สําเร็จหลักสูตรที่สายวิทยาการกําหนด เพื่อให้มีความรู้ในส่วน ของภาควิชาการด้วย สําหรับในกรณีของการเลื่อนระดับความชํานาญเลขหมายความชํานาญทหาร อากาศของนายทหารประทวน ซึ่งจะต้องเข้ารับการฝึกงานในหน้าที่ ควรปรับปรุงชั่วโมงการฝึกใน มาตรฐานการฝึกความชํานาญของแต่ละสายวิทยาการ ให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงานจริง โดยเน้นการ ฝึกภาคปฏิบัติมากกว่าการฝึกภาควิชาการ และในส่วนของการฝึกภาคปฏิบัติควรเน้นการฝึกเฉพาะ ลักษณะงานที่ปฏิบัติจริงของกําลังพลผู้นั้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการปฏิบัติงานของหน่วย และควรมีการทําแผนการฝึกงานในหน้าที่ล่วงหน้า ในระยะเวลา ๓ - ๕ ปีเพื่อเป็นการเตรียมกําลังพล ให้มีความพร้อมที่จะเข้ารับการฝึกงานในหน้าที่ตามห้วงระยะเวลาที่กองทัพอากาศกําหนด สําหรับใน กรณีของการย้ายโอนกําลังพลมาจากภายนอกกองทัพอากาศ ควรกําหนดหลักเกณฑ์ในการแต่งตั้งเลข หมายความชํานาญทหารอากาศหลัก โดยการเทียบเคียงคุณสมบัติของกําลังพลที่กําหนดไว้แล้วใน จําพวกทหารที่จะแต่งตั้ง ส่วนในประเด็นของการกําหนดให้นายทหารสัญญาบัตรชั้นยศนาวาอากาศเอก รับเงินเดือนอัตรานาวาอากาศเอกพิเศษ ไม่ต้องมีเลขหมายความชํานาญทหารอากาศแต่ให้ใช้เลขหมาย รายงานแทน ควรยกเลิกเลขหมายรายงาน แล้วให้กําหนดเป็นเลขหมายความชํานาญทหารอากาศแทน โดยเพิ่มระดับความชํานาญสูงขึ้นมาอีกหนึ่งระดับจากนายทหารชั้นยศนาวาอากาศเอก นอกจากนี้ใน ส่วนของการกําหนดตัวเลขของเลขหมายความชํานาญทหารอากาศ ควรเปลี่ยนแปลงตัวเลขที่แสดง ระดับความชํานาญ ให้ง่ายต่อการทําความเข้าใจ และในส่วนของการกําหนดคําบรรยายลักษณะความ ชํานาญทหารอากาศ ควรปรับปรุงข้อความและขั้นตอนให้สามารถอ่านทําความเข้าใจได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องมี การตีความ ประเด็นสุดท้ายการเปลี่ยนเหล่าทหารและหรือจําพวกทหาร ควรเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ในรายละเอียดของการไปช่วยราชการของกําลังพล ซึ่งไม่ได้อยู่ปฏิบัติงานในตําแหน่ง ยังไม่ควรที่จะได้รับ สิทธิ์ในการเปลี่ยนจําพวกทหาร เนื่องจากยังไม่มีความชํานาญในเลขหมายความชํานาญทหารอากาศรอง ที่ตัวเองดํารงตําแหน่งอยู่ ABSTRACT Title : Guideline for improvement and development RTAF ’s personnel categorization system By : Group Captain Sakseree Siampan Major Field : Military Research Advisor : Colonel (Jiranuwat Sakseau) July 2018 The purposes of this research were studying and analyzing Royal Thai Air Force Personnel Categorization System and set guidelines for adjustment and development of RTAF Personnel Categorization System. The research methods were qualitative research, documentary research and in-depth interview by using primary data from focus group interview. There are three interview groups from both of administrative part and operative part: experts, specialists and experienced practitioners. Moreover, by using secondary data from concepts studies, theories studies and literature reviews. The findings indicated that RTAF Categorization System is an important and useful tool for RTAF personnel management which helps to reassign personnel into appropriate positions according to RTAF qualifications and to manage personnel for effective working. Guidelines for adjustment and development of RTAF Personnel Categorization System, the results are consistent between concepts studies, theories studies, literature reviews and in-depth interview. It was found that RTAF Personnel Categorization System should be adjusted and developed concerning for specify corps and sub-corps specifying to be consistent with personnel reassignment plan into appropriate positions. RTAF proficiency numbers appointing and promoting should be adjusted concerning with experience details for single standard. RTAF graduate schemes and graduate trainings, in case squadron officer schemes should be adjusted concerning with details for the personnel who are not able to study this scheme but they are able to be promoted as Squadron Leader. RTAF proficiency numbers promoting for commissioned officer by using experiences, the details should be adjusted concerning with schemes and trainings for appropriate academic knowledge and skills. In case of RTAF proficiency numbers promoting for non - commissioned officer by on-the-job training (OJT), the details should be adjusted concerning with the time standard and practical part to be consistent with each of the positions and to be effective at work. In addition to, OJT schedule should be planned in advanced for 3 – 5 years for OJT personnel preparing according to a fixed time. Others personnel transferring, the details should be specified concerning with defined qualifications and sub-corps. In case of Senior Group Captain, report numbers for this rank should be cancelled and replaced the RTAF proficiency numbers instead of it while the level of the number is higher than Group Captain. Furthermore, RTAF proficiency numbers specification, the level of the numbers should be simplified and clarified. In case of the description of the RTAF proficiency numbers should be simplified and intelligible. Lastly, corps and/or sub-corps changing, the details of rules should be added concerning the personnel who work in temporary duties which are not related to main duties. They are not be able to changed their sub-corps due to they have no skills in sub - RTAF proficiency numbers which they have.

abstract:

ไม่มี