Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกู้ทุ่นระเบิดในประเทศไทย กรณีศึกษา หน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิดด้านมนุษยธรรมที่ 3,Guideline to enhance efficiency of Demining in Thailand : Case study of Humanitarian Mine Action Unit 3

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
ไม่ระบุ/not specified
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, พ.อ. วีระพล พุ่มจิตร
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
ปีที่พิมพ์:
2559
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
เปิดเผยเฉพาะบางส่วน (ไม่เปิดเผยเนื้อหา)

บทคัดย่อ:

บทคัดย่อ ชื่อเรื่อง : แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกู้ทุ่นระเบิดในประเทศไทย กรณีศึกษา หน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิดด้านมนุษยธรรมที่ ๓ โดย : พันเอก วีระพล พุ่มจิตร สาขาวิชา : สังคมจิตวิทยา อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจัย : นาวาอากาศเอก (อรรถโยธิน วรรณโชดก) มิถุนายน ๒๕๖๑ ปัญหาทุ่นระเบิดของประเทศไทย เกิดขึ้นมาจากตลอดห้วงอดีตที่ผ่านมาประเทศไทย ประสบปัญหาความขัดแย้งทางอุดมการณ์ แนวความคิดภายในประเทศและความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม ต่างๆ ของประเทศเพื่อนบ้านโดยรอบประเทศไทย ซึ่งการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่คือ การใช้ความรุนแรง การใช้อาวุธ รวมทั้งการใช้ทุ่นระเบิด ซึ่งเป็นอาวุธที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางใน ขณะนั้น ท าให้พื้นที่ภายในบางส่วน โดยเฉพาะบริเวณชายแดนทั้ง ๔ ด้าน ของประเทศไทย ประสบ ปัญหาจากทุ่นระเบิด และสรรพาวุธระเบิดที่ยังไม่ระเบิด (Unexploded Ordance : UXO) ส่งผล กระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาชุมชน และการ พัฒนาเศรษฐกิจตามแนวชายแดนร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน ท าให้การปฏิบัติการทุ่นระเบิดเพื่อ มนุษยธรรมของประเทศไทยได้เริ่มขึ้น โดยเป็นไปตามพันธกรณีในอนุสัญญาว่าด้วยการห้ามใช้ สะสม ผลิตและโอน และการท าลายทุ่นระเบิดสังหารบุคล หรือ อนุสัญญาออตตาวา โดยประเทศไทยได้ลงนาม ในอนุสัญญา เมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐ ณ กรุงออตตาวา ประเทศแคนาดา มีผลบังคับใช้ต่อประเทศ ไทยตั้งแต่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๔๒ ส านักนายกรัฐมนตรีจึงได้มีค าสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการด าเนินงานทุ่น ระเบิดเพื่อมนุษยธรรมแห่งชาติ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ หัวหน้าส่วนราชการและ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมเป็นกรรมการ และมอบให้กองบัญชาการกองทัพไทย จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการทุ่น ระเบิดแห่งชาติ เพื่อเป็นศูนย์กลางของการปฏิบัติงานทั้งปวงที่เกี่ยวกับทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรม โดย เริ่มด าเนินการตั้งแต่ ๑๘ มกราคม ๒๕๔๓ เป็นต้นมาการเก็บกู้ทุ่นระเบิดของประเทศไทย ในห้วงแรกก าหนดระยะเวลา ๑๐ ปีการด าเนินการ ของประเทศไทยเป็นไปด้วยความล่าช้า ท าให้ไม่สามารถปฏิบัติตามระยะเวลาของอนุสัญญาฯ ได้ ประเทศไทยจึงได้ยื่นค าขอขยายระยะเวลาตามพันธกรณีในอนุสัญญา ครั้งที่ ๑ เมื่อ เดือน พ.ย.๒๕๕๑ และได้รับการขยายเวลาต่อไปอีก ๙ ปี ๖ เดือน โดยจะสิ้นสุดในเดือน พ.ย.๒๕๖๑ การปรับลดพื้นที่อันตรายจากทุ่นระเบิด ณ เดือน ธ.ค.๒๕๕๙ ที่ผ่านมา ยังคงเหลือพื้นที่ อันตราย จ านวน ๔๒๒.๖ ตร.กม. ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ตามแนวชายแดน ไทย –กัมพูชา และ ไทย –ลาว จ านวนทั้งสิ้น ๒๓๙.๔ ตร.กม. โดยมีหน่วยรับผิดชอบในการเก็บกู้รื้อถอนทุ่นระเบิดในพื้นที่ดังกล่าว คือ หน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิดด้านมนุษยธรรมที่ ๓ และจากการที่พื้นที่อันตรายจากทุ่นระเบิดยังเหลืออยู่มาก เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๐ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้ประเทศไทย ขอขยายระยะเวลาอนุสัญญาฯ เพิ่มเติม ออกไปอีก ๕ ปี (๑ พ.ย.๒๕๖๑ – ๓๑ ต.ค. ๒๕๖๖) ดังนั้น จึงเป็นความท้าทายของประเทศไทย และศูนย์ ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ ว่าจะสามารถด าเนินการให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่ได้ขอขยายระยะเวลา อนุสัญญาฯ ออกไปได้หรือไม่ และศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ จ าเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิธีการ ท างานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการด าเนินงานด้านการเมืองระหว่างประเทศ ให้เกิดความ ร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้การด าเนินการเก็บกู้ทุ่นระเบิดร่วม โดยเฉพาะ ตามแนวชายแดน ไทย – กัมพูชา และ ไทย – ลาว ในพื้นที่หน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิดด้านมนุษยธรรมที่ ๓ เพื่อให้แล้ว เสร็จตามระยะเวลาของอนุสัญญาฯ ที่ได้ขอขยายระยะเวลา ครั้งที่ ๒ และเพื่อคืนพื้นที่ปลอดภัยให้แก่ ประชาชนในพื้นที่ABSTRACT Title : Guideline to enhance efficiency of Demining in Thailand : Case study of Humanitarian Mine Action Unit 3 By : COLONEL WEERAPOL PUMJITR Major Field : Psychological Society Research Advisor : GP CAPT (AUTTHAYOTHIN WANNACHODOK) June 2018 Thailand’s landmine problem has arisen since Thailand has faced ideological and internal conflicts as well as conflicts with various groups of the neighbouring countries for many years. Most solutions often ended up with the use of violence, arms, and landmines which widespread at that time. These have caused some parts of the internal areas and four bordering areas around the country to encounter landmine and unexploded ordnance (UXO) problems affecting security of people’s lives and properties. They have also hindered community and joint economic development effort along the borders with neighbouring countries. So, Thailand’s humanitarian landmine operations are implemented to comply with the Convention on the Prohibition of the Use, Stockpiling, Production and Transfer of Anti-Personal Mines (also known as the Mine Ban Treaty) signed on 3 December 1997 in Ottawa, Canada which has entered into force Thailand since 1 May 1999. The office of the Prime Minister issued an order to establish the National Mine Action Committee (NMAC), chaired by the Prime Minister and comprising of all heads of relevant government departments and units as committees. The Royal Thai Armed Forces Headquarters was assigned to establish Thailand Mine Action Center (TMAC) to function as a primary agency for all relevant humanitarian mine action affairs which has started since 18 Janauary 2000. Thailand has been clearing landmines since the first 10 years of the Ottawa Convention, however, Thailand was unable to accomplish the goal. As a result, Thailand has to submit the 1st extension request under the Mine Ban Convention in November 2008 and was granted 9 years six months which will expire in November 2018. Within December 2016, Thailand was left with 422.6 sq.km. of suspected mine contaminated area which 239.4 sq.km. of them situated along the Thai - Cambodian and Thai - Lao Border. The Humanitarian Mine Action 3 is the primary responsible unit in demining which a lot of mines and UXO still remain. On 28 March 2017, the Royal Thai Cabinet has granted the Thai delegation to submit the 2nd extension request that will allow 5 more years for Thailand to clear landmines (1 November 2018 – 31 October 2023). Despite the extension, Thailand Mine Action Center (TMAC) still face a great challenge in completing the task within allotted time. TMAC, of course, will have to adapt to increase the work efficiency as well as seeking international cooperation especially with the neighboring countries to enable demining along the Thai – Lao and Thai Cambodian Border which falls under the responsibility of HMAU 3 to comply with the 2nd Extension request of Thailand and ultimately return safe area to the people.

abstract:

ไม่มี