เรื่อง: แนวทางการบริหารจัดการฝึกอบรมโครงการ "เยาวชนไทย รู้รักสามัคคี" เพื่อสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ ของกรมกิจการพลเรือนทหาร,A Management Guideline for the Training Program "Thai Youth Unity" to Create Harmony of the People in the Thailand by the Department of Civil Affairs, Royal Thai Armed Forces,
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
ไม่ระบุ/not specified
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, พ.อ. วิฑูรย์ รวยสวัสดิ์
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2559
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
เปิดเผยเฉพาะบางส่วน (ไม่เปิดเผยเนื้อหา)
|
|
บทคัดย่อ:
บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง : แนวทางการบริหารจัดการการฝึกอบรม โครงการ “เยาวชนไทย รู้รักสามัคคี”
เพื่อสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ ของกรมกิจการพลเรือนทหาร
โดย : พันเอก วิฑูรย์ รวยสวัสดิ์
สาขาวิชา : การทหาร
อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจัย : พันเอก
(บรรพต สังข์มาลา)
กรกฎาคม ๒๕๖๑
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการและขั้นตอนการฝึกอบรมเยาวชน
ปัญหาข้อขัดข้องในการฝึกอบรมเยาวชน และเสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการการฝึกอบรมเยาวชน
ของโครงการ “เยาวชนไทย รู้รักสามัคคี” เพื่อสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ ของกรม
กิจการพลเรือนทหาร วิธีการวิจัยใช้วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยมีรวบรวมข้อมูล ๒ วิธี
คือ การวิจัยเอกสาร (Documentary research) และการสัมภาษณ์ เชิงลึก (In-depth interviews)
ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ มีจำนวน ๑๕ คน ประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน ๓ คน ครูฝึกประจำ
โครงการ จำนวน ๓ คน ครูพี่เลี้ยง จำนวน ๓ คน และเยาวชนที่เข้ารับการอบรม จำนวน ๖ คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แนวคำถามสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ใช้สำหรับการ
สัมภาษณ์ผู้รับผิดชอบโครงการ ครูฝึก ครูพี่เลี้ยง และเยาวชนที่เข้ารับการฝึกอบรม และใช้วิธีการ
วิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
๑. กระบวนการและขั้นตอนการฝึกอบรมเยาวชน ประกอบด้วย การพิจารณาเหตุผล
ในการดำเนินโครงการจากบริบททางสังคม นโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล แผนปฏิบัติราชการ
กระทรวงกลาโหม แผนปฏิบัติราชการกองบัญชาการกองทัพไทย แนวทางการปฏิบัติงานผู้บัญชาการ
ทหารสูงสุด และแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกองบัญชาการกองทัพไทย ที่ให้ส่วนราชการสนับสนุน
กิจกรรมการสร้างความปรองดองสมานฉันท์และฟื้นฟูประชาธิปไตย โดยมีขั้นตอนการจัดฝึกอบรมเยาวชน ประกอบด้วย การขออนุมัติหลักการจัดทำโครงการจากผู้บัญชาการทหารสูงสุด การขออนุมัติ
เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารดำเนินโครงการ การเตรียมความพร้อมการฝึกอบรม การจัดการฝึกอบรม
และประเมินผล และการรายงานและติดตามผลการฝึกอบรม
๒. ปัญหาข้อขัดข้องในการฝึกอบรมเยาวชน ด้านการบริหารจัดการ พบว่า มีความล่าช้า
จากการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายงบประมาณ และแผนงานการสร้างความปรองดองของ
รัฐบาล จำนวนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านการฝึกอบรมยังไม่เพียงพอ และต้องปรับแผนการอบรม
ไม่ให้กระทบต่อปฏิทินการเรียนการสอนของสถานศึกษา ด้านกระบวนการฝึกอบรม พบว่า เยาวชนมี
พื้นฐานและความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมที่แตกต่างกัน มีสภาพแวดล้อมการจัดฝึกอบรมแต่ละพื้นที่
แตกต่างกัน และบุคลากรที่เป็นคณะทำงานมาจากหลายหน่วยงานต้องปรับตัวเข้าหากัน และด้านอื่นๆ
พบว่า ระยะเวลาฝึกอบรมมีจำกัด ทำให้ไม่สามารถติดตามผลต่อเนื่องไปยังโรงเรียนหรือชุมชน และการ
ฝึกอบรมในภูมิภาคต่างๆ ทำให้มีความแตกต่างกันเรื่องความพร้อมของสถานที่
๓. แนวทางการบริหารจัดการการฝึกอบรมเยาวชน ผู้เกี่ยวข้องจะต้องมีความรู้ความเข้าใจ
ถึงเหตุผลความจำเป็นในการดำเนินโครงการฝึกอบรมเยาวชน เพื่อสามารถกำหนดมุ่งหมายในการ
ดำเนินการ และชี้แจงกับผู้บังคับบัญชาในแต่ละระดับ โดยแนวทางการฝึกอบรมเยาวชนให้มีประสบ
ความสำเร็จ จะต้องมีการดำเนินการอย่างครบถ้วนตามขั้นตอนและสอดคล้องเหมาะสมกับห้วงเวลา
ที่กำหนด ดังนี้
๓.๑ มีการขออนุมัติหลักการจัดฝึกอบรม และขออนุมัติดำเนินงานโครงการฝึกอบรม
เยาวชน อย่างรวดเร็ว ทันเวลา
๓.๒ มีการเตรียมความพร้อมฝึกอบรม ด้วยการประสานสถานที่ฝึกอบรม จำนวน
เยาวชนที่เข้าร่วม ห้วงเวลาการจัดฝึกอบรม และทรัพยากรที่มาสนับสนุน
๓.๓ การจัดการฝึกอบรม ต้องจัดตั้งกองอำนวยการฝึกอบรมมากำกับดูแล ทำการฝึก
ตามตารางการฝึก มีการติดตามประเมินผลทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการฝึกอบรม ทำการรายงานผล
ติดตามผล และทบทวนอุปสรรคปัญหาข้อขัดข้องเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไข
สำหรับแนวทางการพัฒนาโครงฝึกอบรมเยาวชนให้มีประสิทธิภาพในอนาคต ควรบูรณาการ
การทำงานร่วมกับหน่วยงานที่ดูแลงบประมาณ ควรปรับจุดมุ่งหมายการฝึกอบรมเยาวชนให้สอดคล้อง
กับสถานการณ์ ยุทธศาสตร์ และนโยบายต่างๆ ควรสร้างเครือข่ายระหว่างกองทัพกับหน่วยงานภายนอก
ควรขยายผลต่อยอดเครือข่ายเยาวชนที่จัดตั้งขึ้น ควรมีสถานที่ฝึกอบรมเยาวชนอย่างถาวร และควร
ปรับปรุงหลักสูตรและวิธีการฝึกอบรมเยาวชนให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่องABSTRACT
Title : A Management Guideline for the Training Program
"Thai Youth Unity" to Create Harmony of the
People in the Thailand by the Department of Civil
Affairs, Royal Thai Armed Forces
By : Colonel Witoon Rueysawat
Major Field : Military
Research Advisor : Colonel
(Banpot Sangmala)
July 2018
This study aims to : examine the youth training processes and procedures,
investigate related problems and issues in youth training, and provide guidance on the
management of the youth training program by the Department of Civil Affairs, Royal
Thai Armed Forces. This study applied techniques of a qualitative research - involving
two types of data collection through documentary research and in-depth interviews.
There are 15 key informants, consisting of 3 project managers, 3 project instructors,
3 project mentors, and 6 youth trainees. Data collecting tools were used
guidelines for the in-depth interviews. The content analysis was applied as a guideline
for data analysis. The results are as follows.
1. The process and procedures for youth training include rationalization to
implement the project from a social context, the high-priority government policies, Ministry of Defense Action Plan, and the Royal Thai Armed Forces Operational Directive
and Commander in Chief’s annual plan. All the governmental directives have called for
supports to the constructive activities of reconciliation and democracy. The process of
the youth training consists of: the approval of the project by the Commander – in –
Chief, the Director of the Department of Civil Affairs, Royal Thai Armed Forces; the
training preparation; training and evaluation; and reporting and following up.
2. Problematic concerns in Youth Training Management have been revealed
that there is a delay in changing the budget disbursement criteria and the government's
reconciliation plan. The number of training experts and trained personnel is insufficient.
The planned training schedule should not affect the school's teaching calendar. The
training process has showed that the youth had different backgrounds and interests in
taking part in activities. Training personnel come from various organizations and have to
adapt and adjust themselves to the training environment. In other aspects, it has been
found that the limited training duration make it hard to follow up or track continuously
to school or community and the training in different regions makes the difference in the
availability of training places.
3. Training Management Approach, relevant personnel must have a good
understanding of the reasons for the need to conduct youth training programs so as to
be able to set goals and explain to supervisors at each level, such a successful youth
training program must be completed in accordance with the procedure and consistent
with the time schedule as follows.
3.1 There exists a training principle approval and should be approved
and implemented swiftly in a timely manner.
3.2 There exists the training preparation by coordinating in training
facilities, the number of youths participating in the training, the time period and
schedule, and supporting resources.
3.3 Training Management, there has to be the establishment of a
Training Coordinating Center so as to: supervise, implement the training as scheduled;
follow up and evaluate the training -not only before, during, but also after the training; and report the training results and outcomes as well as review the obstacles and
problematic issues to be rectified.
For the development of youth training programs to be more effective in the
future, there should be the integration of working and cooperating with budgeting
agencies; adjustment of purposes of the training program to be in line with strategic
situations and policies; a network between the army and outside agencies be
established; the established youth network be maintained and extended; youth training
facilities be established and permanent; and the curriculum and methods of the
training program be continuously updated.
abstract:
ไม่มี