Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการพัฒนาหลักเกณฑ์การปรับย้ายกำลังพลในกองบัญชาการกองทัพไทย,Guidelines for The Promote Rules Improvement in Royal Thai Armed Forces

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
ไม่ระบุ/not specified
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, น.อ. วรวิทย์ ไวยเนตร
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
ปีที่พิมพ์:
2559
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
เปิดเผยเฉพาะบางส่วน (ไม่เปิดเผยเนื้อหา)

บทคัดย่อ:

ข บทคัดย่อ เรื่อง : แนวทางการพัฒนาหลักเกณฑ์การปรับย้ายก าลังพลในกองบัญชาการกองทัพ ไทย Guidelines for The Promote Rules Improvement in Royal Thai Armed Forces โดย : นาวาอากาศเอก วรวิทย์ ไวยเนตร อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจยั : นาวาอากาศเอก (อรรถโยธิน วรรณโชดก) กรกฎาคม ๒๕๖๑ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management) หมายถึง การจัดการ ในทุก ๆ ด้านที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรในองค์กรให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เต็มความรู้ความสามารถ ในขณะเดียวกันก็สร้างให้เกิดการเพิ่มพูนความรู้ และความสามารถ ให้กับบุคลากร เพื่อสร้างขวัญก าลังใจและความก้าวหน้าในการปฏิบัติงาน การที่องค์กรสามารถ บริหารทรัพยากรบุคคลให้สามารถเป็นบุคลากรที่ดีและมีความสุขได้นั้น ต้องเริ่มจากการที่องค์กร ก าหนดแนวทางรับราชการ การก าหนดเหล่าสายงาน สายวิทยา และการปรับย้ายก าลังพลให้มีความ เป็นธรรม งานวิจัยครั้งนี้จึงมุ่งเพื่อให้ได้องค์ความรู้ ไปแก้ไขข้อบกพร่อง และเป็นข้อมูลส าหรับการ พัฒนาระบบการปรับย้าย และการเลื่อนต าแหน่งของก าลังพลของกองบัญชาการกองทัพไทย อัน จ ะ น า ม า ซึ่ ง การท างานของก าลังพลให้มีประสิทธิภาพ และตรงตามความสามารถ โดยเป็นการศึกษาวิจัย เชิงคุณภาพ มีการสัมภาษณ์ผู้บริหารกรมก าลังพลทหาร เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และผู้ที่ได้รับ ผลกระทบจากการปรับย้าย จ านวน ๑๒ นาย ผลการวิจัยปรากฏว่า ๑. ข้อจ ากัดของหลักเกณฑ์ในการปรับย้ายก าลังพลในกองบัญชาการกองทัพไทยที่ ใ ช้ ในปัจจุบัน คือ ระบบการปรับย้ายที่ยังไม่สามารถน ามาสู่การปฏิบัติที่เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้ ส่วนหนึ่งเพราะกระบวนการพิจารณาการปรับย้ายถึงแม้จะเป็นการพิจารณาบัญชีในรูปของ คณะกรรมการ แต่ที่สุดแล้วก็ยังอยู่ที่การตัดสินใจของผู้บังคับบัญชาเป็นหลัก ซึ่งไม่ได้ตอบสนองข ต่อวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ขององค์กร ประกอบกับกองบัญชาการกองทัพไทยยังไม่มีการก าหนด สายงาน สายวิทยาการในการบริหารงานบุคคลท าให้การพิจารณาการปรับย้ายเป็นอ านาจของ ส่วนราชการต้นสังกัดเพียงหน่วยเดียว ยังไม่มีหน่วยที่เกี่ยวข้องอื่นให้ความเห็นร่วม สิ่งที่ได้ คือ กองบัญชาการกองทัพไทยได้คนที่มีความรู้ความสามารถไม่ตรงกับลักษณะงาน หรือสมรรถนะ ประจ าต าแหน่งนั้น ๆ ผลที่ตามมา คือ ก าลังพลส่วนหนึ่งเกิดความรู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรมใน การปรับย้าย ส่วนประเด็นปัจจัยที่ใช้เป็นองค์ประกอบในการพิจารณาปรับย้ายก าลังพล เป็นเพียง การกล่าวถึงในภาพกว้าง ๆ ไม่ได้ระบุชัดเจนว่า การพิจารณาก าลังพลลงแต่ละต าแหน่งจะต้องใช้ ปั จ จั ย ใ ด บ้ า ง ในการพิจารณา จึงท าให้เกิดการใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาเป็นส่วนใหญ่ ๒. แนวทางการพัฒนาหลักเกณฑ์และวิธีการปรับย้ายก าลังพลในกองบัญชาการกองทัพ ไทย เห็นว่า ควรก าหนดแนวทาง ดังนี้ ๒.๑ กองบัญชาการกองทัพไทยควรเริ่มต้นจากการแยกประเภทก าลังพลตาม ลักษณะงาน ทุกต าแหน่งต้องก าหนดสายงาน ก าหนดสายวิทยาการ ก าหนดส่วนราชการให้ รับผิดชอบในแต่ละสายวิทยาการ พร้อมทั้งก าหนดสมรรถนะประจ าต าแหน่ง และมาตรฐานก าหนด ต าแหน่ง เพื่อเป็นกรอบแนวทางที่จะท าให้เกิดหลักเกณฑ์การปรับย้ายที่มีประสิทธิภาพสูงสุดใน การบริหารงานบุคคลต่อไป ๒.๒ ก าหนดแนวทางการรับราชการของก าลังพลแต่ละคนตั้งแต่เริ่มบรรจุ พัฒนา ใช้ประโยชน์ จนกระทั้งพ้นจากราชการ โดยเน้นให้ก าลังพลได้รับความมั่นคง และมีความก้าวหน้า ภายในสายงานและสายวิทยาการเป็นหลัก ท าให้ก าลังพลแต่ละคนรับทราบและเข้าใจในเส้นทาง ความก้าวหน้าของตัวเองตั้งเริ่มรับราชการจนกระทั้งเกษียณ ๒.๓ ปรับแก้หลักเกณฑ์การปรับย้ายก าลังพลให้สัมพันธ์กับแนวทางการรับ ราชการที่ก าหนดไว้ ได้แก่ ๒.๓.๑ ประเด็นกระบวนการ และวิธีการในการปรับย้าย ต้องพิจารณาบัญชีปรับย้าย ในรูปของคณะกรรมการ และมีคณะกรรมการจากสายวิทยาการที่เกี่ยวข้องร่วมพิจารณาบัญชี ปรับย้ายของก าลังพลที่ได้รับการแยกประเภทก าลังพลตามสายวิทยาการที่ก าหนดแล้ว ๒.๓.๒ ประเด็นปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณาปรับย้ายก าลังพล ต้องก าหนดปัจจัย ต่าง ๆ ที่จ าเป็นต้องใช้ประกอบการพิจารณาปรับย้ายก าลังพลในแต่ละต าแหน่งให้ชัดเจน เพื่อ หลีกเลี่ยงการใช้ดุลยพินิจของผู้บังคับบัญชาในการปรับย้ายก าลังพล ข

abstract:

ค Abstract Title : Guidelines for The Promote Rules Improvement in Royal Thai Armed Forces. By : Group Captain Worrawit Waiyanate. Major Field : Joint Forces staff College Research Advisor : Group Captain (Atthayothin WanaChodo …………July 2018 Human Resources Management meaning is not only to manage every aspect of personnel in such organization in reaching their maximum capability to work but also include helping the personnel to develop their skill to another level in order to build up morale and will to work. In order to have such quality personnel it has to start with the organization itself in both working policy and deploying policy for their personnel. This research emphasized mainly about deploy or promotion of the working personnel within The Royal Thai Armed Force so that the organization can reach its maximum capability which may benefit the army in the near future.This research is a Qualitative Research which done by interviewing personnel in different ranks, including the commanders, commissioned officers along with related personnel and those who affected by such exercise, in the total of 12 personnel. The result is as follows ; 1. Deploying policy within The Royal Thai Armed Forces at the moment cannot be use if its goal is to reaching the maximum capacity of the organization. One of the reasons for such draw back is because the deploying policy is mainly by meansof the committee’s decision, yet the final judgement is based solely on the commander which did not served the main purpose of the organization. Not only such policy can be a drawback but The Royal Thai Armed Forces do not have the Human Resource branch in order to organize and optimize deploy orค promotion work within the organization. Such circumstance aforementioned result in some personnel feeling injustice or unfair about deploy orpromotion circumstance in the organization. 2. Developmental approach to such problem can be done as follows : 2.1 The Royal Thai Armed Forces should classify its personnel according to their field of work with every rank having specific working field, branch and responsible organization. Each field of work should have its own performance capacity and standard for personnel to be in such field. Such method can give the organization a more visible standard in choosing its personnel to fit the work. 2.2 Specify the path of each personnel in the field from the beginning until retirement, focusing mainly on each personnel and the nation’s security, so the personnel can clearly understand their field of work and how to proceed in such field from the beginning until their retirement. 2.3 Develop the deploy or promotion rule to correspond with the government as follows 2.3.1 Deploy or promotion for the personnel should be decide by means of committee which in the committee should consist some of those who work in the same working field as the personnel. 2.3.2 Each deploy or promotion should be considered by written or specific standard in order to avoid discretion judgement from the committee.