บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง : แนวทางการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างพลเรือน – ทหารว่าด้วยการ
จัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย
โดย : นายรัฐธิปัตย์ ปางวัชรากร
สาขาวิชา : สังคมจิตวิทยา
อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจัย : พันเอก
(ดิษพงศ์ โชตะมังสะ)
มิถุนายน ๒๕๖๑
เอกสารวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่าง
พลเรือน – ทหารว่าด้วยการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยเหมาะสมสำหรับประเทศไทย โดยมี
วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงเอกสาร
(documentary research) ทั้งที่เป็นเอกสารทางวิชาการ เอกสารทางราชการ การค้นคว้าทางสื่อ
เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย และการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview)ผู้ทรงคุณวุฒิ
และบุคคลที่มีความสำคัญหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย ในระดับผู้บริหาร
และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการจากหน่วยงานพลเรือนและหน่วยงานทหาร ซี่งเป็นการค้นหาปัญหา/อุปสรรคที่
เกิดขึ้นจากการดำเนินการความร่วมมือระหว่างพลเรือน – ทหารว่าในการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย
แล้วนำไปวิเคราะห์ร่วมกับทฤษฎี เอกสารทางวิชาการ ผลงานวิจัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง และนำไปสู่
การจัดทำแนวทางการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างพลเรือน – ทหารว่าด้วยการจัดการความเสี่ยงจาก
สาธารณภัยเหมาะสมสำหรับประเทศไทย
ผลจาการวิจัยพบว่าปัญหา/อุปสรรคที่สำคัญการสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยพลเรือน
และทหารในการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย ได้แก่ การขาดความรู้ ความเข้าใจ และให้ความสำคัญ
เกี่ยวกับการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย การมีวัฒนธรรมการทำงานขององค์กรของหน่วยทหาร
และพลเรือนมีความแตกต่างกัน การขาดแนวทางการปฏิบัติร่วมกันในการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย
ระหว่างพลเรือนและหน่วยทหาร รวมถึงระเบียบ กฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย
บางส่วนทำให้การทำงานร่วมกันของหน่วยพลเรือนและหน่วยทหารไม่มีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้มีแนวทางเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยพลเรือนและหน่วยทหารในการจัดการ
ความเสี่ยงจากสาธารณภัย ได้แก่ การสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความสำคัญของการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย การใช้แนวคิดการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ(Humanitarian
Assistance and Disaster Relief : HADR) การสร้างกรอบความร่วมมือฯ การจัดการความเสี่ยงจากสา
ธารณภัย การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ ความเชื่อมั่นระหว่างหน่วยงาน การสร้างมาตรฐานในการปฏิบัติร่วม
ระหว่างหน่วยพลเรือนและหน่วยทหาร และการปรับแก้กฎหมาย แผน ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความ
เสี่ยงจากสาธารณภัยเพื่อให้หน่วยพลเรือนและทหารสามารถทำงานร่วมกันได้ดียิ่งขึ้นABSTRACT
Title : Guideline on Strengthening Civilian - Military Cooperation
for Disaster Risk Management in Thailand
By : Mr. Rattipat Pangwatcharakorn
Major Field : Socio - Psychology
Research Advisor : Colonel
(Disphong Chotamungsa)
June 2018
This paper aims to find out ways to improve civilian-military cooperation on
disaster risk management in Thailand. Qualitative research methods are used which
include documentary research on related academic journals, official document and
expert interview to identify gaps/challenges of and solutions for strengthening civilmilitary cooperation for disaster risk management in Thailand.
The study reveals several gaps/challenges including lack of knowledge and
understanding, little attention to disaster risk management, different organizational
culture between civil and military agencies, lack of common standard operating
procedures, limitations of some disaster related laws and regulations that affect the
effectiveness of their joint operations. As a result, there are ways to address those gaps
that are enhancing knowledge and understanding on disaster risk management; raising
awareness on disaster risk management; applying Humanitarian Assistance and Disaster
Relief (HADR) approach; developing cooperation framework on disaster risk management;
building mutual trust among concerned agencies; developing common standard
operating procedure; and revising laws and regulations relating to disaster risk management.