เรื่อง: แนวทางและมาตรการทางทหารในการรักษาความปลอดภัยเมืองเศรษฐกิจอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า สนับสนุนรักษาความปลอดภัยเทศบาลนครหาดใหญ่ กรณีเกิดภัยจากการก่อการร้ายรุนแรง,Guideline and Role for military Force in Supporting to Plan for Security of the Hat Yai Municipality
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
ไม่ระบุ/not specified
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, พ.อ. เปรียว ติณสูลานนท์
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2559
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
เปิดเผยเฉพาะบางส่วน (ไม่เปิดเผยเนื้อหา)
|
|
บทคัดย่อ:
บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง : แนวทางและมาตรการทางทหารในการรักษาความปลอดภัยเมืองเศรษฐกิจ
อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคง
ภายในภาค ๔ ส่วนหน้า สนับสนุนรักษาความปลอดภัยเทศบาลนครหาดใหญ่
กรณีเกิดภัยจากการก่อการร้ายรุนแรง
โดย : พันเอก เปรียว ติณสูลานนท์
สาขาวิชา : การทหาร
อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจัย : พลเรือตรี
( ประวิณ จิตตินันทน์)
มิถุนายน ๒๕๖๑
ปัญหาการก่อเหตุร้ายรุนแรง ด้วยการลอบวางระเบิดแสวงเครื่องในพื้นที่หาดใหญ่
จังหวัดสงขลา โดยเฉพาะในพื้นที่เขตเทศบาลนครหาดใหญ่เป็นพื้นที่เศรษฐกิจหลักของจังหวัดสงขลา
ภาคใต้ และประเทศไทย โดยกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง (ผกร.) จากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้และ ๔ อำเภอ
จังหวัดสงขลา ได้แก่ อำเภอ จะนะ ,เทพา, สะบ้าย้อย, นาทวี อีกทั้งเขตพื้นที่ติดต่อกับ อำเภอสะเดา
จังหวัดสงขลา พื้นที่เขตเทศบาลนครหาดใหญ่ ประชาชนในพื้นที่มีทั้งพุทธ มุสลิม จีนอยูร่วมกันได้เป็น
อย่างดีมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุขมาอย่างยาวนาน ในห้วงตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๗-พ.ศ.๒๕๕๗
ได้เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบโดยการก่อเหตุร้ายรุนแรงด้วยการลอบวางระเบิดแสวงเครื่องประกอบ
รถยนต์และ จักรยานยนต์ จำนวน ๘ ครั้ง ๑๙ จุดสร้างความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินให้กับ
ประชาชนและส่วนราชการอย่างมากมาย โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ ภาคการค้า ภาคการท่องเที่ยว
และภาคบริการได้รับผลกระทบมากที่สุด นอกจากนี้คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ประจำวันของประชาชน
ความไม่ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน อาทิเช่น รายได้ จากการค้าขายสินค้าของร้านค้าภาคบริการ
โรงแรมที่พักสถานบันเทิงจากการท่องเที่ยวลดลงอย่างเห็นได้ชัดทั้งนี้ทั้งนั้นมาตรการในการรักษาความ
ปลอดภัยของหน่วยงานความมั่นคงของรัฐในขณะนั้นยังคงเป็นความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
สภ.หาดใหญ่ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง โดยอาสาสมัครประจำอำเภอหาดใหญ่เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักตามอำนาจกฎหมายปกติทั่วไปกระทำได้อย่างจำกัดเนื่องจากมีกำลังน้อยและพื้นที่กว้างใหญ่
อีกทั้งทั้งมีประชากรแฝงอพยพจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้และ ๔ อำเภอ จังหวัดสงขลาเข้ามา
พักอาศัยและประกอบอาชีพต่างๆ เป็นจำนวนมาก มีเส้นทางเข้าออกหลายเส้นทางจึงไม่สามารถที่จะ
ป้องกันรักษาความปลอดภัยได้อย่างทั่วถึงและเกิดช่องโหวให้ผู้ก่อเหตุรุนแรง (ผกร.) เข้ามาก่อเหตุได้ง่าย
อีกทั้งยังไม่มี ภาคธุรกิจภาคประชาชน รัฐวิสาหกิจ เข้ามามีส่วนร่วมขาดการผนึกกำลังและ
การบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานในการปฏิบัติตามแนวทางและมาตรการรักษาความปลอดภัยเขต
เทศบาลนครหาดใหญ่ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๗ รัฐบาล โดยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน
ภาค ๔ สน.(กอ.รมน.ภาค ๔ สน.) ให้ความสำคัญได้กำหนดนโยบายแนวทางปัญหาป้องกันและแก้ไข
ปัญหาโดยเร่งด่วนมีการผนึกกำลังบูรณาการกำลังของหน่วยงาน พลเรือน ตำรวจ ทหาร และ
ภาคประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในรักษาความปลอดภัยเทศบาลนครหาดใหญ่ สงขลา
วัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้เพื่อศึกษาถึงการกำหนดนโยบายและแนวความคิด
ในการปฏิบัติของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ส่วนหน้าถึงแนวทางและมาตรการ
ทางทหารสนับสนุนตามแผนรักษาความปลอดภัยจากการก่อเหตุร้ายรุนแรงและเพื่อศึกษาการกำหนด
แนวทางในการปฏิบัติวิจัยการบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานต่างๆ ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ
(Qualitative Research) แบบวิจัยเอกสาร (Documentary Reserch) และการสัมภาษณ์เชิงลึก
(In – depht lnterview) โดยใช้ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) ที่ได้มาจากการสัมภาษณ์
กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญและผู้มีประสบการณ์ที่ เกี่ยวข้องทั้งระดับผู้กำหนด
นโยบาย ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติรวมทั้งให้ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) ที่ได้จากการศึกษาทฤษฏี
และการทบทวนวรรณกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้อง
ผลวิจัยพบว่าปัญหาการก่อเหตุร้ายรุนแรงในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ จากการสรุปผล
การปฏิบัติงานสถิติการเกิดเหตุร้ายรุนแรงตามแผนงานเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ปี
พ.ศ.๒๕๕๗ เขตเทศบาลนครหาดใหญ่ เกิดเหตุระเบิด ๒ จุด ได้แก่ หน้า สภ.หาดใหญ่ จำนวน ๑ จุด
บนถนนพลพิชัย หน้าร้านสะดวกซื้อเซเว๊นอีเลฟเว๊นเขตเทศบาลนครหาดใหญ่จำนวน ๑ จุด จากการ
ตรวจสอบพบว่าเป็นระเบิดแสวงเครื่องประกอบรถยนต์และจักรยานยนต์เป็นครั้งหลังสุด (ครั้งที่ ๘)
หลังจากนั้นเป็นต้นมารัฐบาลโดย กองรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค ๔ สน.)
ได้ปรับนโยบายและความคิดแนวทางและมาตรการในการป้องกันรักษาความปลอดภัยตามที่ได้กล่าวใน
ขั้นต้นและโดยกำหนดให้อำเภอหาดใหญ่และอำเภอสะเดาจังหวัดสงขลาอยู่ในแผนป้องกันรักษาความ
ปลอดภัยเมืองเศรษฐกิจ ๘ เมืองหลัก ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ส่วนหน้า
(กอ.รมน.ภาค ๔ สน.) อยู่ในแผนงานประจำมีแผนงานเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่
ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ และให้การสนับสนุนกำลังทหาร ๑ กองร้อย คือ กองร้อยอโณทัย ๓ สนับสนุนช่วยเหลือ
ในการรักษาความปลอดภัยเทศบาลนครหาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา นอกจากนี้ให้มีการบูรณาการ
กำลัง ๔ ฝ่าย ประกอบด้วย พลเรือน ตำรวจ ทหาร และภาคประชาชนในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางมาตรการป้องกันและรักษาความปลอดภัยเทศบาลนครหาดใหญ่ รวมถึง
ภาคธุรกิจ รัฐวิสาหกิจ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่เข้ามามีส่วนร่วมช่วยเหลือในปฏิบัติตามแผน
รักษาความปลอดภัยเทศบาลนครหาดใหญ่ ตามที่ได้กล่าวแล้วทั้งนี้ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๘ จนถึงปัจจุบันนี้
สถานการณ์ดีขึ้นตามลำดับ นักท่องเที่ยวกลับมาท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นส่งผลดีต่อความเป็นอยู่และคุณภาพ
ชีวิตของประชาชนมีความสุขในการดำรงชีวิตดีขึ้น ภาคบริการโรงแรมที่พักและการค้าดีขายสินค้าขึ้น
ตามไปด้วยและที่สำคัญ คือ ระบบเศรษฐกิจ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา กลับมามีรายได้เป็นอันดับหนึ่งของ
ภาคใต้และในอันดับต้นๆ ของประเทศไทย เช่นเดิม
abstract:
ABSTRACT
Title : Guideline and Role for military Force in Supporting to Plan for
Security of the Hat Yai Municipality
By : Colonel Preaw Tinsulanonda
Major Field : Military
Research Advisor : Rear Admiral
(Prawin Chittinan)
June 2018
During the period of 10 year, from B.E.2547 to B.E.2557, 10 incidents at 19
separated locations of the Improvise Explosive Devices (IED) employed by suspects
from the three southern provinces causing the recent violence in Hat Yai District,
Songkla Province particularly in the major economical center of Hat Yat Municipality
were reported. Such incidents resulted in significant numbers of casualties and
property damages. The municipality’s economic sector, heavily relying of the trade and
tourism, was the most affected sector due mainly to the sense of insecurity being felt
at the time among local populace and visitors. During which the level of the violence
continued to grow due mainly to undermanned local agencies of Royal Thai Police
and Ministry of Interior, who, according to the effective ordinary law, were the primary
responsible for provision of security, while the public sector of the community were
completely inactive in such duties. Being aware of these weaknesses, the 4th Forward
Internal Security Operations Command (4th FISOC) has implemented its policy of
integration of efforts from all sectors within the municipality aimed at the soonest
eradication of the violence.
Seeking the best approach for the above mentioned integration particularly
the potential best practice for military force in supporting role as its aim, this
qualitative research adopted the method of documentary research on relevant
theories and researches as well as in-depth interview with concerned policy-level
experts and scholars as its primary data. Consequently the research reveals that the classification of Hat Yai and Sadao Districts as two of the eight major cities within the
“Plan for Security Invigoration of Sothern Border Province” of the 4th FISOC allows the
military to contribute one company coded named “Anothai 3” in support of the
security operation within the municipality jointly planned and executed by police, civil,
military and public sectors. The security situation of the Hat Yai Municipality has since
significantly improved and eventually return to normal as a result of this
implementation.