Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การก่อความไม่สงบในพื้นที่ จชต. และการป้องกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบในพื้นที่ จชต.,Southern Border Provinces Insurgency and Southern Border Provinces Insurgency Prevention and Suppression

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
ไม่ระบุ/not specified
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, พ.อ. ประธาน ตลับทอง
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
ปีที่พิมพ์:
2559
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
เปิดเผยเฉพาะบางส่วน (ไม่เปิดเผยเนื้อหา)

บทคัดย่อ:

บทคัดย่อ เรื่อง : การก่อความไม่สงบในพื้นที่ จชต. และการป้องกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบ ในพื้นที่ จชต. ลักษณะวิชา : ยุทธศาสตร์ โดย : พันเอก ประธาน ตลับทอง อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจัย : พันเอก (คมศักดิ์ เจียมวัฒนาเลิศ) มิถุนายน ๒๕๖๑ เอกสารวิจัยฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงการก่อความไม่สงบในพื้นที่ จชต. และการป้องกันและ ปราบปรามการก่อความไม่สงบในพื้นที่ จชต. ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาที่มีความสำคัญต่อความมั่นคงของชาติเป็น อย่างยิ่ง โดยผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยที่เป็นการศึกษาจากข้อมูลแบบคุณภาพ เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ เจ้าหน้าที่รัฐที่เป็นผู้นำในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ จชต. จำนวน ๕ คน และการสัมภาษณ์ อดีตสมาชิกของ กลุ่มขบวนการฯ จำนวน ๓๑ คน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริงมากที่สุด นำข้อมูลเหล่านี่มาวิเคราะห์ ภายใต้ กรอบ ทฤษฎี แนวคิด หลักการที่เกี่ยวข้อง ประกอบการณ์ตรงของผู้วิจัย ที่ได้ปฏิบัติงานในพื้นที่ ระยะเวลา ๑๓ ปี และนำไปสู่การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ว่า กลุ่มก่อความไม่สงบในพื้นที่ จชต. ที่ขับเคลื่อนงานปฏิวัติต่อสู้กับ ฝ่ายรัฐบาลไทย มีชื่อกลุ่มว่า “กลุ่มขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี” (BARISAN REVOLUSI NATIONAL) (BRN.) กลุ่มขบวนการฯ นี้ได้ใช้แนวทางในการต่อสู้แบบเดียวกันกับสงครามปฏิวัติจีนของ เหมา เจ๋อ ตุง ที่ใช้ต่อสู้กับญี่ปุ่น และรัฐบาลจีนคณะชาติ ของนายพลเจียงไคเซค และใช้แนวทางในการต่อสู้ แบบเดียวกันกับ พวกเวียดกงในเวียดนาม หรือของโฮ จิ มินห์ ที่ต่อสู้กับฝรั่งเศส หรือแบบเดียวกันกับของ พลเอกโว เหงียน เกี๊ยบ ที่ต่อสู้กับสหรัฐอเมริกา ซึ่งกลุ่มขบวนการฯ ก็ได้ประยุกต์หลักการเหล่านั้น มาใช้ใน การต่อสู้กับฝ่ายรัฐบาลในปัจจุบัน การจัดองค์กร และโครงการสร้างในการต่อสู้มี 3 องค์กรหลักสำคัญ นั่นคือ องค์กรนำ, องค์กรมวลชน และ กกล.ติดอาวุธ ซึ่งกลุ่มขบวนการฯ มีความพร้อมและเข้มแข็ง มาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๖ และพยายามพัฒนาองค์กรของตนเอง สำหรับขับเคลื่อนงานปฏิวัติให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น เรื่อยๆ สำหรับแนวทางในการแก้ไข หรือ การป้องกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบในพื้นที่ จชต. นั้นผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสาร ตำรามาหลายเล่ม และเคยมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานในพื้นที่มาแล้ว ทำให้ได้ทราบว่าหลักการ การป้องกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบในพื้นที่ จชต. นั้นมีอยู่เอกสารใน เอกสาร ๒ เล่ม คือ คู่มือราชการสนาม รส.๑๐๐ – ๒๐ ว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการก่อความไม่สงบ ของ ทบ. และเอกสารปราบกบฏคอมมิวนิสต์มลายา ของ เซอร์ โรเบิร์ต ทอมสัน ซึ่งผู้ที่มีส่วนร่วมในการ แก้ไขปัญหา จชต. ควรจะต้องนำเอาหลักการเหล่านั้นมาประยุกต์ ใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และสภาพแวดล้อมในพื้นที่ เพื่อให้พื้นที่ จชต. นี้มีความสงบสันติสุข อย่างยั่งยืนตลอดไป

abstract:

ไม่มี