Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการบริหารจัดการการปฏิบัติการสื่อสารร่วมในภารกิจการบรรเทาสาธารณภัยเพื่อรองรับยุทธศาสตร์ทหาร 20 ปี ,Management Pratices for Joint Operation in Disaster Mitgation To support the military strategy 20 years

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
ไม่ระบุ/not specified
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, น.อ. นพวิทย์ หาญไชยนะ
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
ปีที่พิมพ์:
2559
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
เปิดเผยเฉพาะบางส่วน (ไม่เปิดเผยเนื้อหา)

บทคัดย่อ:

บทคัดย่อ เรื่อง : แนวทางการปฏิบัติงานการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย กองพลพัฒนาที่ ๒ พื้นที่จังหวัดนครราชสีมา โดย : พันเอก ไชยนคร กิจคณะ สาขาวิชา : การทหาร อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจัย : พลตรี (ศุภธัช นรินทรภักดี) มิถุนายน ๒๕๖๑ การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดแนวคิด ทฤษฎี กฎหมาย แผน คำสั่ง เกี่ยวกับการบรรเทาสาธารณภัยและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยและ เพื่อเสนอ แนวทางการปฏิบัติงานการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยกองพลพัฒนาที่ ๒ พื้นที่จังหวัดนครราชสีมา วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) แบบวิจัย เอกสาร (Documentary Research) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) โดยใช้ข้อมูล ปฐมภูมิ (Primary Data) ที่ได้มาจากการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง ทั้งระดับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติ รวมทั้งใช้ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) ที่ได้มาจากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และการทบทวนวรรณกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่ากองพลพัฒนาที่ ๒ เป็นหน่วยที่มีเครื่องมือยุทโธปกรณ์ที่ได้รับจาก กองทัพบกมาจำนวนหนึ่งเพื่อเตรียมการจัดตั้งกองร้อยบรรเทาสาธารณภัยแต่ยังไม่ได้รับการอนุมัติซึ่ง หน่วยได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยจัดกำลังพลภายในหน่วยในการดูและเครื่องมือยุทโธปกรณ์และทำ การฝึกอบรมให้กับกำลังพลเพื่อปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยได้อย่างดี และเมื่อพิจารณาถึง โครงสร้างการจัดกองพลพัฒนาที่ ๒ แล้วถือว่ามีความเหมาะสมแต่ยังไม่สมบูรณ์คือโดยหน่วยมีกรม ทหารช่างที่ มีเครื่องมือช่าง๒ และกรมพัฒนาที่ ๒ เป็นหน่วยพัฒนาสัมพันธ์ซึ่งพร้อมที่จะปฏิบัติงานได้ อย่างสมบูรณ์แบบ รวมทั้งกองพลพัฒนาที่ ๒ ยังมีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาถึงแม้จังหวัด นครราชสีมาจะมีศบภ.มทบ.๒๑ รับผิดชอบ แต่ กองพลพัฒนาที่ ๒ ก็สามารถที่เข้าสนับสนุนให้กับ ศบภ.มทบ.๒๑ หรือเข้าช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยได้ทันทีเมื่อ ศบภ.ทภ.๒ สั่งการ ถือว่าเป็นหน่วยที่ความพร้อมมากที่สุดในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย สำหรับขั้นตอนการปฏิบัติในการช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยนั้นหน่วยได้ยึดถือตามแนวทางศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพบกมีการปฏิบัติ ๓ ขั้น ได้แก่ ขั้นเตรียมการ ขั้นการปฏิบัติเมื่อเกิดภัย และขั้นการฟื้นฟูบูรณะ โดยในขั้นเตรียมการ หน่วยได้จัดเตรียม ชุดบรรเทาสาธารณภัยเป็นชุดเผชิญเหตุในการที่เข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่รับผิดชอบของหน่วย ได้ทันที ซึ่งในขั้นนี้หน่วยต้องหน่วยทหารในเรื่องการจัดทำแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของ หน่วย และเป็นหน่วยประสานงานขับเคลื่อนการจัดทำแผนการบูรณาการร่วมหน่วยงานทุกภาคส่วน และควรมีการร่วมฝึกซักซ้อมแผนกับหน่วยงานด้านบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาอย่าง ระหว่างส่วนราชการพลเรือน มูลนิธิ องค์กรการกุศล ในพื้นที่เสี่ยงภัยพิบัติ หรือ ซักซ้อมแผนเผชิญเหตุ กรณีเกิดภัยพิบัติในพื้นที่ใดๆ เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ รับทราบบทบาทหน้าที่จัดเตรียมข้อมูลพื้นฐาน ต่างๆ ที่จำเป็นในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยอาทิเช่น ข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัย เครื่องมือยุทโธปกรณ์และ อุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ร่วมกับส่วนราชการทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง มีการฝึกซ้อมทำแผน ร่วมกันตั้งแต่ระดับล่างจนถึงบนสุด นอกจากนี้ยังต้องศึกษาถึงระเบียบคำสั่งที่เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือ ผู้ประสบภัย หากมีข้อให้ที่ขัดระเบียบจะได้รับทราบหาแนวทางแก้ไขและมีความเข้าใจกันระหว่าง หน่วยงาน ขั้นปฏิบัติการ ในขั้นนี้ถือว่าเป็นการบูรณาการร่วมกันว่าที่ทุกส่วนได้ประสานงานกันและทำ การฝึกซักซ้อมแผนกันในขั้นเตรียมการนั้นสามารถปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยได้ตามที่ได้ วางแผนหรือไม่ และขั้นการฟื้นฟู ก็เป็นการเตรียมการเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างทันทีตามที่ได้ วางแผนประสานงานกันไว้ ทำให้ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนได้อย่างทันทีและทันเหตุการณ์ ABSTRACT Title : Operational guidelines of Windstorm relief mission in Nakorn Ratchasima of 2nd Development Division By : Colonel Chainakorn Kitkana Major Field : Military Research Advisor : Major Genaral (Supathat Narindarabhakdi) June 2018 The objectives of this research were to study National Prevention and Relief Plan in case of Windstorm for the 2nd Development Division in Nakorn Ratchasima to comply with the plan, rule, regulation, conventional raw and theory to study operation system in the present to determine the guidelines for supporting the plan involving the Operational guidelines concept. Research methodology, researchers used a qualitative research process including documentary research and in-depth Interviews by using the primary data collected from target group interviews e.g. senior officers, experts and experiences with both executives and practitioners, including the use of secondary data that derived from the conceptual and theory studies, as well as the reviewing of the literature involved. The results found that the operation of 2nd Development Division to assist the disaster relief in case of windstorm should begin at the stage of the situation is getting serious before entering crisis situation with the use of Public Relief in Disaster relief missions by using Military Engineer as an operation unit from windstorm relief, later the coordinate will be sent to the Department of Disaster Prevention and Mitigation or Command Center and other related units in Nakorn Ratchasima. When Engineering unit Receive an order to go on the mission, they will start the unit deployment steps, including Planning, Preparation, Deployment, Site Set up & Test, Execution and Redeployment. The 2n d Development Division and having served as the director responsible for directing, planning and supervising the disaster relief mission, is interested in the development of disaster relief missions of the 2 nd Development Division in Nakorn Ratchasima. The Operational guidelines concept will lead to developing the more effective mission of disaster relief, supporting all forms of disaster in the future and leading to the improvement of personnel, utility and equipment of the Mitigation Division 2 nd development to be more appropriate in disaster relief missions in Nakorn Ratchasima. Furthermore, the Operational guidelines concept will lead to more effective cooperation between Civilian Disaster Relief Agencies, as a unit that responsible for providing assistance. The commander of the 2 nd Development Division, Deputy Division commander of the 2 nd Development Division and Chief of Staff the 2nd Development Division. The 2 nd Development Division played a practical role in assisting relief for people who was affected directly, had a successful structural rate but did not approve the process of personnel appointment. The mission is operated solely by the joint of internal unit which is enough to perform duties in assisting victims only initially. Therefore, Disaster Relief Company should be established and the personnel should be appointed. If the company cannot be appointed, the 2nd Development Division must arrange the unit to initially manage the disaster situations. The internal structure of the unit arrangement should be divided into the headquarters, supporting, equipment, transport and general work unit which varies by type and severity of the disaster. The unit should also be trained and educated about disaster prevention and relief and should be a coordinator driving the integrated planning in all sectors because awareness and creating a network of cooperation in normal situation can reduce losses of a disaster. The personnel of the unit should be to join the practice of disaster relief with agencies regularly and proposed relevant agencies to push the rehearsing plan between international agencies, Foundation and Charity Organization in the risk areas to emphasize their duties. In time of the disaster, the urgent operating should be immediately established to coordinate primarily in the affected area, after that, the operating unit should report to the following unit to bring assistances to the area.

abstract:

ไม่มี