Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การศึกษาแนวทางการบริหารจัดการน้ำบริเวณพื้นที่สูงชายแดนจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ ลดและย้ายถิ่นของชุมชน,The water resource management guideline's study for Thailand's highland Boundary in Chiang Mai to solve lack of water and migration problem

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
ไม่ระบุ/not specified
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, นาย ณัฐวุฒิ นากสุก
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
ปีที่พิมพ์:
2559
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
เปิดเผยเฉพาะบางส่วน (ไม่เปิดเผยเนื้อหา)

บทคัดย่อ:

บทคัดย่อ ชื่อเรื่อง : การศึกษาแนวทางการบริหารจัดการน้ำบริเวณพื้นที่สูงชายแดนจังหวัดเชียงใหม่เพื่อแก้ปัญหา ขาดแคลนน้ำ ลดและย้ายถิ่นของชุมชน โดย : นายณัฐวุฒิ นากสุก สาขาวิชา : การบริหารจัดการน้ำ อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจัย : นาวาอากาศเอก ( สกัณฐ์ สัตยดิษฐ์ ) มิถุนายน ๒๕๖๑ เอกสารวิจัยฉบับนี้ ได้ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการน้ำบริเวณพื้นที่สูงชายแดนจังหวัด เชียงใหม่เพื่อแก้ปัญหา ขาดแคลนน้ำ ลดและย้ายถิ่นของชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเพื่อศึกษา สภาพการใช้และปัญหาการขาดแคลนน ้าของชุมชนบริเวณพื้นที่สูงชายแดน แนวทางการบริหาร จัดการน ้าในชุมชนบริเวณพื้นที่สูงและสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง รวบรวมข้อมูล และค้นหาปัญหาที่จะซึ่ง จะนําไปสู่ การกําหนดเป็นแนวทางการการบริหารจัดการน ้า ปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค ใน พื้นที่ต้นน้ำมีสาเหตุมาจากปัญหาการเข้าถึงบริการน้ำสะอาดในการอุปโภคบริโภค เนื่องมาจากที่อยู่อาศัย กระจัดกระจายอยู่ในพื้นที่ป่าเขา พื้นที่สูงและห่างไกลจากแหล่งน้ำผิวดิน รวมทั้งแหล่งน้ำใต้ดินมีปริมาณต่ำ และพัฒนาได้ล่าช้า การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ วิธีดําเนินการวิจัยใช้การศึกษารวบรวมข้อมูลจากเอกสาร ที่เกี่ยวข้อง (Documentary Research) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จาก ผู้เชี่ยวชาญที่มี ประสบการณ์ในเรื่องนโยบายการบริหารจัดการน ้า และใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่สูง ได้แก่ปัญหาด้านการขาด แคลนน้ำอุปโภคบริโภค ในพื้นที่ต้นน้ำมีสาเหตุมาจากปัญหาการเข้าถึงบริการน้ำสะอาดในการอุปโภคบริโภค เนื่องมาจากที่อยู่อาศัยกระจัดกระจายอยู่ในพื้นที่ป่าเขา พื้นที่สูงและห่างไกลจากแหล่งน้ำผิวดิน รวมทั้งแหล่ง น้ำใต้ดินมีปริมาณต่ำและพัฒนาได้ล่าช้า ปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร มักประสบปัญหามากใน พื้นที่การเกษตรนอกเขตชลประทานที่เป็นพื้นที่ราบ ส่วนพื้นที่เกษตรกรรมบนพื้นที่สูงจะเพาะปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย และยอมรับสภาพของการอาศัยน้ำฝนอย่างเดียวเพื่อการเกษตร แต่ในปัจจุบัน มีความเปลี่ยนแปลงใน ด้านสภาพภูมิอากาศ สภาพสิ่งแวดล้อม ทำให้มีความจำเป็นในการใช้น้ำเพิ่มขึ้น การวางแผนการบริหารจัดการน้ำในการขาดแคลนน้ำส่วนใหญ่อยู่ในช่วงฤดูแล้งของพื้นที่ ต้อง คำนึงถึงปริมาณน้ำต้นทุนในแหล่งน้ำ เพื่อสนองตอบความต้องการใช้น้ำในทุกกิจกรรมอย่างทั่วถึงและเป็น ธรรม ซึ่งในพื้นที่สูงส่วนใหญ่อาศัยน้ำฝนเป็นหลัก และสนับสนุนน้ำชลประทานเสริมในช่วงต้นฤดูฝนหรือช่วง ที่เกิดฝนทิ้งช่วง ในการบริหารจัดการน้ำจำเป็นต้องดำเนินการกระบวนการอื่นๆควบคู่ไปด้วยเพื่อให้เกิด ความสมดุลในธรรมชาติด้วย การส่งเสริมการอนุรักษ์ดินและน้ำ การพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก เพิ่ม อินทรียวัตถุในดินเพื่อเป็นการเพิ่มช่องว่างในดิน การจัดระบบการปลูกพืชที่เหมาะสม การรักษาฟื้นฟูพื้นที่ ป่าโดยเฉพาะพื้นที่ป่าต้นน้ำ พร้อมทั้งต้องจัดลำดับความสำคัญในการจัดสรรน้ำได้แก่ เพื่อการอุปโภค￾บริโภค เพื่อการเกษตรกรรม และเพื่อการรักษาระบบนิเวศน์

abstract:

ABSTRACT Title : The water resource management guideline’s study for Thailand’s highland boundary in Chiang Mai to solve lack of water and migration problem By : Mr.Nuttawuth Naksook Major Field : Water Management Research Advisor : Group Captain ( Sakan Sattayadit ) JUNE 2018 This paper explores the water resource management guideline’s study for Thailand’s highland boundary in Chiang Mai to solve lack of water and migration problem. The purpose of this study was to study the water use and the shortage of water in the border area. Guidelines for water management in highland communities and related environments. Gather information and look for problems that will lead to Determination is a guideline for water management. Shortage of water upstream areas are caused by access to clean water services. Due to the scattered habitat in the forest. High and remote areas of surface water. The groundwater was low and development was delayed. This research is a qualitative research. How to use the study to gather information from relevant documents (Documentary Research) and depth interviews (In￾depth Interview) from Experts with experience in water management policy. The questionnaire was used to collect data. The results showed that the factors affecting the water management in the highlands. The problem is the shortage of water. Upstream areas are caused by access to clean water services. Due to the scattered habitat in the forest. High and remote areas of surface water. The groundwater was low and development was delayed. The problem of water shortage for agriculture is often encountered in agricultural areas outside the irrigated area. Highland areas will be cultivated with less water. And accept the condition of rainwater only for agriculture but today there are changes in the climate. Environment There is a need for increased water. Water management planning for most water shortages is in the dry season of the area. The cost of water in the water. In response to the demand for water in all activities thoroughly and fairly. Most of the highland areas rely heavily on rainwater and support irrigation water in the early rainy season or during the precipitation period. Water management needs to be carried out along with other processes to balance the environment. Promotion of soil and water conservation. Development of small water resources. Add organic matter to the soil to increase gaps in soil. Organizing appropriate cropping systems. The rehabilitation of forest areas, especially the upstream forest areas, must be prioritized for water allocation. For the consumer. For agriculture and to maintain ecology.