Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การศึกษาพฤติกรรมการออกกำลังกายเพื่อสร้างแรงจูงใจของข้าราชการกองบัญชาการกองทัพไทย (พื้นที่แจ้งวัฒนะ),The study of behavior for physical exercises to motivate the officers in royal thai armed forces headquarters (In cheng wattana area)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
ไม่ระบุ/not specified
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, น.อ. จงเจต วัชรานันท์
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
ปีที่พิมพ์:
2559
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
เปิดเผยเฉพาะบางส่วน (ไม่เปิดเผยเนื้อหา)

บทคัดย่อ:

บทคัดย่อ ชื่อเรื่อง : การศึกษาพฤติกรรมการออกกำลังกายเพื่อสร้างแรงจูงใจของข้าราชการ กองบัญชาการกองทัพไทย (พื้นที่แจ้งวัฒนะ) โดย : นาวาอากาศเอก จงเจต วัชรานันท์ สาขาวิชา : สังคมจิตวิทยา อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจัย : นาวาอากาศเอก (สกัณฐ์ สัตยดิษฐ์) มิถุนายน ๒๕๖๑ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมในการออกกำลังกายของข้าราชการ กองบัญชาการกองทัพไทย และเพื่อศึกษาแนวทางการสร้างแรงจูงใจในการออกกำลังกายของข้าราชการ กองบัญชาการกองทัพไทย ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) โดยการเก็บ รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามในการวิจัยเชิงปริมาณ และการสัมภาษณ์เชิงลึกในการวิจัยเชิงคุณภาพ สำหรับประชากรที่ใช้ในการศึกษาในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ ข้าราชการกองบัญชาการกองทัพไทย (พื้นที่แจ้งวัฒนะ) ที่มีชั้นยศต่ำกว่านายพล รวมถึงพนักงานราชการ และลูกจ้างประจำในปีงบประมาณ ๒๕๖๑ จำนวน ๒,๘๘๘ คน โดยคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรเครซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ ๙๕ จึงได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน ๓๕๖ คน สำหรับประชากรที่ใช้ใน การศึกษาในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้บังคับบัญชาระดับสูงของกองบัญชาการกองทัพไทยในระดับที่ สามารถกำหนดนโยบายด้านการส่งเสริมการรักษาสุขภาพของกำลังพลได้โดยวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิง ปริมาณด้วยสถิติพรรณา (Descriptive Statistics) ได้แก่ จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ส่วนวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ การวิเคราะห์ เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่าข้าราชการกองบัญชาการกองทัพไทย มีสุขภาพปกติดี ร้อยละ ๔๘.๓ ส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ ๗๔.๔ ออกกำลังกาย ๑ – ๒ วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ ๓๑.๒ ซึ่งสอดคล้องการสัมภาษณ์ที่ได้ข้อมูลว่านโยบายหลักกำหนดให้ออกกำลังกายเป็นประจำในทุกวันพุธ เวลา ๑๕.๐๐ น. นอกจากนี้ในประเด็นสาเหตุที่ทำให้ข้าราชการไม่สามารถออกกำลังกายได้อย่างสม่ำเสมอ คือ มีภาระหน้าที่ราชการที่ต่อเนื่อง ร้อยละ ๔๘.๐ ซึ่งเป็นไปตามการให้ข้อมูลจากผู้บังคับบัญชาว่าข้าราชการ ส่วนใหญ่จะติดภารกิจที่เกิดจากการเร่งรีบเพื่อกลับบ้านเนื่องจากปัญหาการจราจร และการสั่งการ มอบหมายงานของผู้บังคับบัญชาทำให้ไม่สามารถร่วมกิจกรรมได้ และเมื่อพิจารณาผลการวิเคราะห์ความรู้ เกี่ยวกับประโยชน์ของการออกกำลังกายที่มีต่อสุขภาพ พบว่า ข้าราชการกองบัญชาการกองทัพไทย ส่วนใหญ่มีความรู้ถึงประโยชน์ของการออกกำลังกายเป็นอย่างดีสามารถตอบคำถามได้ตอบถูกทุกข้อ ร้อยละ ๖๘.๓ และมีทัศนคติ การรับรู้ ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการออกกำลังกาย อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย ๓.๘๖ แต่ในทางปฏิบัติข้าราชการมีการใช้สถานที่/อุปกรณ์ในการออกกำลังกายของ กองบัญชาการกองทัพไทยเป็นประจำ มีพฤติกรรมต่ำสุด ค่าเฉลี่ย ๒.๙๖ ซึ่งเป็นไปตามข้อมูลที่ได้จากการ สัมภาษณ์ที่กล่าวว่าพฤติกรรมการออกกำลังกายของข้าราชการกองบัญชาการกองทัพไทย ในภาพรวม ข้าราชการชั้นผู้น้อยไม่ค่อยใช้สถานที่ และอุปกรณ์ในการออกกำลังกาย แม้อุปกรณ์จะใหม่และทันสมัย เนื่องจากเกรงใจผู้บังคับบัญชาระดับสูงที่ใช้สถานที่อยู่ ผู้วิจัยได้เสนอแนวทางจากผลการวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการออกกำลังกายของข้าราชการ กองบัญชาการกองทัพไทย กล่าวคือ ควรมีการกำหนดนโยบายสนับสนุนพฤติกรรมการออกกำลังกายให้ เหมาะสมกับแต่ละช่วงอายุ โดยต้องไม่กระทบกับภารกิจอื่น ๆ และควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ข้าราชการ กองบัญชาการกองทัพไทยได้ทราบถึงระเบียบในการเข้าใช้สถานที่และอุปกรณ์การออกกำลังกาย รวมทั้ง ให้ข้าราชการทุกชั้นยศสามารถใช้บริการร่วมกัน เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ด้วยการใช้การ ออกกำลังกายเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา

abstract:

ABSTRACT Title : The Study of Behavior for Physical Exercises to Motivate the Officers in Royal Thai Armed Forces Headquarters (in Cheng Wattana Area) By : Group Captain Jongjet Vacharanan Major Field : Social - Psychology Research Advisor : Group Captain (Sakan Sattayadit) June 2018 The purpose of this research is to study the behavior of exercising in Royal Thai Armed Forces Headquarters and to study motivational aspects regarding exercising. On the other hand, the researcher used the mixed methods research strategy, which was implemented by combining information from questionnaires in quantitative research and in-depth interview in qualitative research. For the population surveyed as part of quantitative research, which includes officers from the Royal Thai Armed Forces Headquarter (in Chaeng Wattana area) with rankings below general officers, as well as government employees, and permanent employees consisting of 2,888 members in fiscal year 2018. The sample size was calculated based on the Krejcie and Morgan formula with a level of significance of 95 percent to result in a sample size of 356. The population members used for qualitative research consist of high-ranking officer who can decide the policies to promote the officers’ health from the Royal Thai Armed Forces Headquarters. The analysis consists of using descriptive statistics as a tool for quantitative research by taking the average as a percentage, mean, and standard deviation factor and using content analysis for qualitative research.The research finds that 48.3 percent of the officers have good health, 74.4 percent haveno personal health issues, and 31.2 percent exercise 1-2 times per week of which are notified of the policy recommending theofficers toexercise every Wednesday at 15:00. Moreover, in the case that officerscannot regularly exercise as they have official duties, 48 percent had to rush home because of fear of traffic congestion and orders from the general commander, resulting in an inability to participate in exercise programs. The result of the research regarding the health benefits of exercise shows that most officers understand the health benefits of exercising and could correctly answer every question (68.3 percent). Most also had high expectation for the benefits of exercise ( = 3.86) but in practice the number of officers who use the Royal Thai Armed Forces Headquarters’ exercise facility and equipment are considerably low ( = 2.96), which correlates to the interview results that suggest how low-ranking officers rarely use the equipment and exercise facilities, though these facilities are new and high-technology, as they are courteous of the higher-ranking officers members who are using these facilities. From research results, it is commended that there should be a policy promoting exercise with intensity appropriate to members of different age-groups. It is also important that this policy does not interfere with officials’ other responsibilities and there should be a clear announcement regarding the rules and regulations for usage of the gym’s facilities and equipment. Members of all rankings should also be able to use the equipment and share good relationships among one another by using exercising as a tool for harmonious collaboration and understanding between high-ranking officers and those below them.