เรื่อง: แนวทางการพัฒนาระบบบัญชาการและควบคุมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติการร่วมระหว่างกองทัพอากาศ และกองทัพเรือ,Development of Command and control system to Enhance Joint operational capacity between Air Force and Navy
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
ไม่ระบุ/not specified
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, น.อ. กิตติกรณ์ กรีธาพล
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2559
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
เปิดเผยเฉพาะบางส่วน (ไม่เปิดเผยเนื้อหา)
|
|
บทคัดย่อ:
บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง : แนวทางการพัฒนาระบบบัญชาการและควบคุมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ
ในการปฏิบัติการร่วมระหว่างกองทัพอากาศ และกองทัพเรือ
โดย : นาวาอากาศเอก กิตติกรณ์ กรีธาพล
สาขาวิชา : การทหาร
อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจัย : พันเอก
(คมศักดิ์ เจียมวัฒนาเลิศ)
มิถุนายน ๒๕๖๑
การวิจัย เรื่อง แนวทางการพัฒนาระบบบัญชาการและควบคุมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ
ในการปฏิบัติการร่วมระหว่างกองทัพอากาศ และกองทัพเรือ Development of Command and
control system to Enhance Joint operational capacity between Air Force and Navy นั้ น
เนื่องจากเมื่อได้มีการปฏิบัติการร่วมกันแล้วพบว่า ในการติดต่อสื่อสารและประสานการปฏิบัติ
ยังมีอุปสรรคในการแลกเปลี่ยนข้อมูลในระบบบัญชาการและควบคุม(ACCS)ของศูนย์ควบคุมการปฏิบัติ
ทางอากาศ ๑-๓ กับ ร.ล.จักรีนฤเบศร, ร.ล.นเรศวร และ ร.ล.ตากสิน และเมื่อเรือออกจากฝั่งระบบการ
ติดต่อสื่อสารขัดข้องไม่สามารถติดต่อกันได้ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติการร่วม
ระหว่างกองทัพอากาศกับ กองทัพเรือ ในการควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ ศึกษาระบบบัญชาการและ
ควบคุม ACCS และแนวทางในการพัฒนาระบบบัญชาการและควบคุม เพื่อการปฏิบัติทางอากาศร่วม
ระหว่างศูนย์ควบคุมการปฏิบัติทางอากาศกับ ร.ล.จักรีนฤเบศร, ร.ล.นเรศวร และ ร.ล.ตากสิน การวิจัย
นี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ อันประกอบไปด้วยกระบวนการวิจัยเชิงเอกสาร และกระบวนการสัมภาษณ์
เชิงลึก เพื่อนำข้อมูลด้านคุณภาพมาวิเคราะห์แบบอุปนัยและและวิเคราะห์เนื้อหาโดยคำนึงถึงมุมมอง
ต่างๆ ทั้งจากเอกสาร ตำรา การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และมุมมองของผู้วิจัยเอง แล้วนำผลการวิเคราะห์
ข้อมูลมาสังเคราะห์สรุปผลเป็นผลงานของการวิจัยจากการศึกษาวิจัยพบว่า ตามที่ได้มีการติดตั้งระบบ
ACCS บน ร.ล.จักรีนฤเบศร, ร.ล.นเรศวร และ ร.ล.ตากสิน รวมถึงการปฏิบัติการร่วมของ ร.ล.จักรีนฤเบศร,
ร.ล.นเรศวร และ ร.ล.ตากสิน กับ บ.Saab 340 Erieye และ บ.Gripen ทำให้ร.ล.จักรีนฤเบศร,
ร.ล.นเรศวร และ ร.ล.ตากสิน เปรียบได้กับ ศูนย์ควบคุมการปฏิบัติทางอากาศภาคทะเล (Maritime Sector Operation Center) ซึ่งในการควบคุมการปฏิบัติทางอากาศระหว่างศูนย์ควบคุมการปฏิบัติทาง
อากาศภาคทะเลกับศูนย์ควบคุมการปฏิบัติทางอากาศทางภาคพื้นนั้น จำเป็นจะต้องใช้การปฏิบัติแบบ real time
ทั้งเพื่อการพิสูจน์ฝ่าย และเพื่อความปลอดภัยด้านการจราจรทางอากาศ ซึ่งจากการทำการวิจัยนี้พบว่า
ระบบ ACCS ที่กองทัพอากาศได้รับการพัฒนาขึ้นนั้น มีระบบย่อย (Sub system) ของระบบ คือระบบ
Command Control Information System : CCIS ซึ่งใช้ในการรับ-ส่ง คำสั่งยุทธการย่อย มีฟังก์ชั่น
และความสามารถในการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งสามารถที่จะนำมาใช้ประกอบการปฏิบัติงานร่วมกับระบบ
ACCS ของ ร.ล.จักรีนฤเบศร, ร.ล.นเรศวร และ ร.ล.ตากสิน ได้ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับ
นายทหารควบคุมการบินสกัดกั้น ที่จะใช้ระบบดังกล่าวประกอบในการพิสูจน์ฝ่ายและการประสานการ
ปฏิบัติกับศูนย์ควบคุมการปฏิบัติทางอากาศที่ภาคพื้นต่อไป รวมถึงหากระบบ ACCS ได้รับการพัฒนา
อย่างต่อเนื่องจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งที่จะใช้ระบบดังกล่าวเพื่อการปฏิบัติทางอากาศร่วมระหว่าง
ศูนย์ควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ กับ ร.ล.จักรีนฤเบศร, ร.ล.นเรศวร และ ร.ล.ตากสิน ต่อไปในอนาคต
abstract:
ABSTRACT
Title : Development of Command and control system to Enhance Joint
operational capacity between Air Force and Navy
By : Group Captain Kittikorn Kreethapol
Major Field : Joint Operation
Research Advisor : Coronel
(Komsak Jiamwattanalert)
June 2018
The research of the Development of the Air Command Control System :
ACCS for the The research of Development of Air Command and control system to
Enhance Joint Operational capacity between Air Force and Navy have started due to the
experience during the joint operation exercise, concluding that there are still having
some difficulties to co-operate the Air Command and Control System (ACCS) among
Sector Operation Center 1-3,HTMS ChakriNaruebet, HTMS Naresuan and HTMS Taksin.
When the ships started operating the missions far from mainland, the communication
line among operators could not support the operation objective sufficiently.The purpose
of this research is to study about the joint air operation control between Air Force and
Navy and to study the ACCS functionalities and the way to improve them.This qualitative
research consists of documentary research and in-depth interview to gather the
qualitative information to analyze from various perspectives including document, books,
interviewing the specialists and the opinions of the researcher. After synthetizing the analysis concludes this research that the installing and operating of ACCS aboard the 3
ships makes them to be Maritime Sector Operation Center (MSOC) which coordinate the
air operation control between the MSOC and SOC and must be in Real-time operation
for the purpose of identifying and safety use of the airspace. The ACCS within the Air
Force has its own sub-system called “CCIS : Command Control Information System”
used for sending and receiving the air tasking order which can be corporately used by
the ACCS on the Navy ships in order to enhance the capability of fighter controller to
identify and coordinate with SOC. So the ACCS should be improved and developed to
enhance the efficacy of the joint operation.