Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การเสริมสร้างความมั่งคงด้านอาหารประมงของจังหวัดสมุทรปราการโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ,Enhancing Food of Fisheries Management in Samutprakan Province of Participation Fisheries Community

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
ไม่ระบุ/not specified
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, นาย อำนาจ หนูทอง
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
ปีที่พิมพ์:
2556
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
เปิดเผยเฉพาะบางส่วน (ไม่เปิดเผยเนื้อหา)

บทคัดย่อ:

บทคัดย่อ ชื่อเรื่อง : การเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารประมงของจังหวัดสมุทรปราการ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน โดย : นายอำนาจ หนูทอง สาขา : สังคมจิตวิทยา อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจัย : พันเอก (อุดม งามศักดิ์กุล) กรกฎาคม ๒๕๕๘ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ การศึกษากระบวนการการเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหาร ประมง ของจังหวัดสมุทรปราการ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยใช้วิธีการ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการค้นคว้าจากเอกสารงานวิชาการ เอกสารงานวิจัย แนวคิดทฤษฎี ผลงานวิจัยที่ เกี่ยวข้อง รวมทั้งในเว็ปไซด์และจากการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้บริหารของกรมประมง จำนวน ๔ ท่าน ซึ่งเป็น ผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์เกี่ยวกับความมั่นคงด้านอาหารประมง การมีส่วนร่วมของชุมชน รวมทั้งการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำและเป็นผู้มีหน้าที่โดยตรงกับการบริหารจัดการด้านการประมง ผลการวิจัยพบว่า การประกอบอาชีพการประมงในจังหวัดสมุทรปราการมีประกอบอาชีพการเพาะเลี้ยงสัตว์ น้ำจืด การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งและการทำการประมงในทะเล เนื่องจากจังหวัดสมุทรปราการเป็นที่ ราบลุ่มและพื้นทะเลเป็นดินโคลนเหมาะต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อีกทั้งเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ เนื่องจากอยู่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้มีสัตว์น้ำมาอาศัยชุกชุมทำให้เกิดความมั่นคงด้านอาหารประมงใน จังหวัดสมุทรปราการ ในปัจจุบันมีความต้องการบริโภคสัตว์น้ำเพิ่มมากขึ้นตลอด เนื่องมาจากการเพิ่มของประชากร การเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติอันที่เกิดจากมนุษย์และเกิดจากธรรมชาติการลดลงของพื้นที่ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย ขาดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำอันเป็นผลทำให้ผลผลิตสัตว์น้ำลดลง เพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าวต้องมีการฟื้นฟูแหล่ง น้ำธรรมชาติเพื่อให้เกิดความเหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำโดยการปล่อยพันธุ์ สัตว์น้ำลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติเพื่อทดแทนสัตว์น้ำในธรรมชาติที่ลดลง การส่งเสริม การให้ความรู้และการนำ เทคโนโลยี่สมัยใหม่มาใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิตสัตว์น้ำแก่เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและ ส่งเสริมการประกอบอาชีพการประมงด้านอื่นๆ การลดปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมายโดยการบังคับ ใช้กฎหมายอย่างจริงจังและมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนโดยมีการส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ ความ เข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์ของการมีส่วนร่วมและการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำแก่ประชาชนทั่วไปและกลุ่มเยา ชนให้มากขึ้น การเข้ามามีบทบาทในการบริหารจัดการทรัพยากรประมงให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการออกกฎ ระเบียบ ร่วมแวงแผนการดำเนินงาน ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ร่วมแรง ร่วมใจ ร่วมแก้ปัญหา การสร้างผู้นำ และมีผู้รับผิดชอบในแต่ละด้านของชุมชน รวมทั้งการสร้างจิตสำนึกแก่ผู้มีส่วนได้-ส่วนเสียและประชาชน ทั่วไปให้เห็นคุณค่าของทรัพยากรสัตว์น้ำให้มากขึ้น อันนำไปสู่การเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารประมง ในจังหวัดสมุทรปราการ ผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะใน ๔ ด้าน ประกอบด้วย ๑. ด้านการเสริมสร้างศักยภาพให้ชุมชนผลิตสัตว์น้ำที่พอเพียงและหลากหลายและให้ชุมชนมี ส่วนร่วมในการดูแลทรัพยากรสัตว์น้ำ ๒. ด้านการสร้างจิตสำนึกการรวมกลุ่มของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ การส่งเสริม และพัฒนาศักยภาพบุคลากรในชุมชน การส่งเสริมและสนับสนุนการรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อให้เกิดความ เข้มแข็ง ๓. ด้านนโยบายภาครัฐบาลในการให้การสนับสนุนด้านความรู้ในด้านต่างๆ ด้านการฟื้นฟู ทรัพยากร สัตว์น้ำและการเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำเพื่อทดแทนสัตว์น้ำในธรรมชาติที่ลดลง การพัฒนาข้อมูล ข่าวสารในการให้บริการแก่ชาวประมงและผู้สนใจ ๔. ด้านกฎหมายให้มีการแก้กฎหมายให้ทันสมัยทันเหตุการณ์และมีการบังคับใช้กฎหมายย่าง จริงจังและเข้มงวด การกำหนดพื้นที่อนุรักษ์ การห้ามใช้เครื่องมือบางชนิดทำการประมงABSTRACT Title : Enhancing Food of Fisheries Management In Samutprakan Province of Participation Fisheries Community By : Mr. Amnat Hnuthong Major Fild : Social Psychology Research Advisor : Colonel (Udom Ngamsaksakul) July 2015 The study is intended to study the process of enhancing food security of fisheries of the Samut prakan province by the participation of the community as a qualitative research. Researcher used data collection method by researching from academic research, theoretical concept documents, and related research as well as in￾depth interviews of 4 experts from the management of the fishery Department, who have experience, expertise and knowledge about fisheries food security. Participation of the community, including aquatic resources conservation and is responsible directly to the management of fishing. The results showed that the fishing occupation in Samutprakarn are aquaculture occupation is coastal aquaculture and fisheries in the sea due to the Plains and Samutprakarn as seabed mud soil suitable to aquaculture. As well as the abundant food source because it is the mouth of the Chao Phraya River providing abundant water living creatures providing fisheries food security in Samutprakarn. Currently there are more and more demand for aquatic animals due to the increase of the population. Degradation of natural resources caused by human and by nature Reduction of breeding aquatic animals .Lack of community participation in the conservation of marine resources resulting in the decreased yield of aquatic animals. In order to solve the problem of natural water sources must be refreshed to achieve appropriate to the breeding of marine life. To increase productivity, aquatic animal species by releasing water into natural water bodies for aquaculture in natural substitution decreased. To promote the knowledge and energy of modern technology applied to production efficiency water animals farmers and promote the professional fishing to reduce the problems of illegal fishing by enforcing the law seriously and focus on the participation of the community in the promotion and dissemination of knowledge. The understanding of benefits of participation and the conservation of aquatic resources to the general public, and the youth groups should be encouraged to play a role in the management of the fishery resources, community participation in the design rules. Organizing joint operational plan together mutually exclusive ideas cooperation shared solution. The leaders and the people responsible for each area of the community, including the creation of consciousness of the stake holders and the general public to see the value of aquatic resources. Which would lead to strengthen food security, fisheries in Samutprakarn There are suggestions in the research as follows: 1. The community empowerment to produce enough water and animal diversity and community involvement in aquatic resources administrator 2. Creating awareness of community integration in the conservation of aquatic resources to promote and develop people in the community. To promote and support the farmers to achieve the integration of Government policy 3. Support knowledge in various aspects of rehabilitation resources. Aquaculture and aquatic production to substitute for the natural decrease in marine life. The development of the information to provide services to fishermen and those interested 4. Legal, law, modern and fashionable event resolution and has been seriously burned and law enforcement personnel to determine the conservation area and to not use some tools for the fishing.

abstract:

ไม่มี