Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การบูรณาการระบบตระหนักรู้สถานการณ์ทางทะเล (Maritime Domain Awareness : MDA) ของไทย รองรับการเข้าเป็นประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ,Integration of Maritime Domain Awareness of Thailand in Support of the Upcoming ASEAN Political-Security Community

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
ไม่ระบุ/not specified
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, น.อ. อนุรัตน์ ศิริวงศ์ ร.น.
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
ปีที่พิมพ์:
2556
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
เปิดเผยเฉพาะบางส่วน (ไม่เปิดเผยเนื้อหา)

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง : การบูรณ าการระบบตระหนักรู้สถานการณ์ ทางทะเล (Maritime Domain Awareness: MDA) ของไทยรองรับการเข้าเป็นประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน โดย : นาวาเอก อนุรัตน์ ศิริวงศ์ สาขาวิชา : การทหาร อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจัย : นาวาอากาศเอก (ถาวร สำอางค์ศรี) กรกฎาคม ๒๕๕๘ การวิจัยเรื่องการบูรณาการระบบตระหนักรู้สถานการณ์ทางทะเล (Maritime Domain Awareness: MDA) ของไทยรองรับการเข้าเป็นประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนเป็นการ วิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหลักการ ทฤษฎี และแนวความคิดเกี่ยวกับระบบการ แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเพื่อเสริมสร้างการรับรู้เท่าทันสถานการณ์ทางทะเล (Maritime Domain Awareness: MDA) รวมทั้งผลกระทบต่าง ๆ ต่อความมั่นคงทางทะเลที่จะเกิดขึ้น เพื่อนำไปสู่ การปรับบทบาทของกองทัพเรือและประเทศไทยให้สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะ เกิดขึ้นภายใต้การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ในเสาหลักประชาคมการเมืองและความมั่นคง อาเซียน (ASEAN Political-Security Community: APSC) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการวิจัยทำให้ทราบถึงปัญหาหรือภัยคุกคามที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อ ความมั่นคงและความปลอดภัยของการใช้ทะเล เช่น ปัญหาการกระทำอันเป็นโจรสลัด ปัญหาการใช้ ทะเลเป็นเส้นทางลำเลียงยาเสพติด ปัญหาการกระทำผิดกฎหมายในทะเล ปัญหาการบุกรุกและ ทำลายแหล่งทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในการที่จะรับมือกับปัญหาหรือภัย คุกคามต่างๆ เหล่านี้ประการหนึ่งคือ การรู้เท่าทันสถานการณ์ในทะเล ซึ่งการที่จะสามารถได้ภาพ สถานการณ์ทางทะเลครอบคลุมทุกพื้นที่ทางทะเลของไทยนั้นไม่อาจจะกระทำได้เพียงหน่วยงานใดข หน่วยงานหนึ่ง จำเป็นต้องมีการบูรณาการโดยมีหน่วยงานเจ้าภาพทำหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารและติดตามสถานการณ์ทางทะเล และทำหน้าที่เป็นศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารทางทะล ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ รวมทั้งต้องมีการพัฒนากลไกความร่วมมือหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ ระหว่างหน่วยงานในต่างประเทศ เพื่อขยายเครือข่ายความร่วมมือด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และติดตามสถานการณ์ทางทะเลกับมิตรประเทศ ทั้งในรูปแบบทวิภาคีและพหุภาคี โดยใช้ศูนย์ แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารฯ ดังกล่าวเป็นกลไกการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและแสวงหาความ ร่วมมือกับประชาคมโลกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงในรูปแบบใหม่ต่อไป โดยมีรูปแบบ ของศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารทางทะเลของไทย (Information Sharing Center : ISC) ตามที่ ผู้วิจัยนำเสนอ

abstract:

ค ABSTRACT Title : Integration of the Maritime Domain Awareness of Thailand in Support of the Upcoming ASEAN Political-Security Community By : Captain Anurat Siriwong Major Field : Military Research Advisor : Group Captain (Thaworn Samangsri) July 2015 The research under the title of the “Integration of the Maritime Domain Awareness of Thailand in Support of the Upcoming ASEAN Political-Security Community” is the qualitative research and aimed at the studies of the principles, theories, and the concepts related to the information sharing system to enhance the Maritime Domain Awareness and various potential impacts on the maritime security. The research will provide a guideline for the adaptation of the roles of the Royal Thai Navy and Thailand in order to effectively handle the changes likely to take place in the ASEAN Political-Security Community under the establishment of the ASEAN Community. Outcome of the research disclosed problems or threats likely to happen and affect maritime security and safety, for example, piracy, drug trafficking, maritime illegal actions, intrusion, and maritime natural resource destruction. One critical factor on tackling various types of problems or threats is the Maritime Domain Awareness of Thailand. The comprehensive maritime situation pictures covering all ง Thai maritime territory cannot be obtained under the responsibility of any particular agency. Integration is essential and must be supervised by a host agency in charge of the information sharing and situation tracking. The host agency will also acts as the domestic and international Maritime Information Sharing Center. In addition, development of the cooperation mechanism for the strategic partnership among associated overseas agencies is also necessary to widen the bilateral and multilateral cooperation in the maritime information exchange networks and update the maritime situations with allied countries. Such action can be achieved through the use of the information exchange center as the mechanism in creating trust and seeking cooperation with the world community in further protecting and solving non￾traditional threats under the patterns of the Information Sharing Center presented by the researcher.