Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางในการส่งกำลังสิ่งอุปกรณ์ประเภท 5 (เฉพาะรายการกระสุนปืนเล็ก) ของกองทัพบก เพื่อการป้องกันประเทศในระยะ 10 ปีข้างหน้า,Guidelines for logistics The Supplies class 5 (only the small arm ammunition) of the Army to the Defense for period in 10 years

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
ไม่ระบุ/not specified
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, พ.อ. คำรณ แย้มประเสริฐ
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
ปีที่พิมพ์:
2556
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
เปิดเผยเฉพาะบางส่วน (ไม่เปิดเผยเนื้อหา)

บทคัดย่อ:

บทคัดย่อ เรื่อง : แนวทางในการส่งกำลังสิ่งอุปกรณ์ประเภท ๕ (เฉพาะรายการกระสุนปืนเล็ก) ของกองทัพบก เพื่อการป้องกันประเทศ ในระยะ ๑๐ ปีข้างหน้า โดย : พันเอก คำรณ แย้มประเสริฐ สาขาวิชา : การทหาร อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจัย : พันเอก (ศุภธัช นรินทรภักดี ) กรกฎาคม ๒๕๕๘ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์เกี่ยวกับปัญหาการส่งกำลังสิ่งอุปกรณ์ ประเภท ๕ (เฉพาะกระสุนปืนเล็ก) ของกองทัพบก เพื่อรองรับต่อภัยคุกคามรูปแบบใหม่ในทศวรรษหน้า เพื่อให้ได้แนวทางในการส่งกำลังกระสุนปืนเล็กของกองทัพบก เกี่ยวกับการกำหนดระดับสะสมสิ่ง อุปกรณ์ประเภท ๕ สำรองสงคราม ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะในการสะสมกระสุนสำรองสงคราม เพื่อ รองรับต่อภัยคุกคามรูปแบบใหม่ในทศวรรษหน้า การดำเนินการวิจัย ใช้รูปแบบการศึกษาวิจัยเชิง คุณภาพ แบบวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาวิจัยพบว่า การสะสมกระสุนสำรองสงครามที่ผ่านมาไม่สามารถรักษาระดับ สำรองสงคราม ๔๕ วันส่งกำลัง บางครั้งมากเกินไปจนทำให้มีกระสุนเสื่อมสภาพจนต้องทำลาย หรือ บางครั้งก็น้อยเกินไปไม่เพียงพอต่อการสนับสนุนภารกิจต่าง ๆ ของกองทัพบก เนื่องจากข้อจำกัดในเรื่อง งบประมาณ จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมด้านความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถือได้ ว่ามีเสถียรภาพ ดังนั้นแนวโน้มการใช้กำลังขนาดใหญ่ทำการรบนั้นมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก และในอดีต ที่ผ่านมาการปฏิบัติการทางทหารที่เกิดขึ้น เป็นการปฏิบัติการป้องกันดินแดนในลักษณะข้อพิพาทเขตแดนใช้กำลังขนาดไม่เกิน ๑ กองพลในการรบปะทะ ไม่มีการใช้กำลังขนาดใหญ่ และการปะทะมักจบลง ด้วยการเจรจา เพราะฉะนั้นการสะสมกระสุนสำรองสงครามในปริมาณที่มากเกินไปจะเป็นภาระในด้าน งบประมาณ พื้นที่การเก็บรักษา และไม่เหมาะสมกับปริมาณความต้องการในการใช้ในแต่ละ ปีงบประมาณ ทำให้เกิดการสูญเสียจากการเสื่อมสภาพเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณโดยไม่จำเป็น จึง ควรใช้แนวทางที่ผู้วิจัยได้เสนอไว้เป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดระดับสะสม ผู้วิจัยหวังว่าเอกสารวิจัยฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์ใช้เป็นแนวทางในการกำหนดระดับกระสุน สำรองสงครามของกองทัพบก เพื่อช่วยให้ประหยัดงบประมาณและเกิดความพร้อมในการรบเมื่อเกิด ภาวะสงคราม

abstract:

ABSTRACT Title : Guidelines for logistics the supplies class 5 (only the small arm ammunition) of the army to the defense for period of 10 years. By : Colonel Kamron Yamprasert Major Field : Military Research Advisor : Colonel (Supathat Narindarabhakdi) July 2015 This research aims to study and analyze the problem of delivering the supplies class 5 (only small arms ammunition) by the army to provide support to neutralize a new form of threat in the next decade. Also to provide guidelines to regulate the quantity of the supplies class 5 accumulation and delivering channels in order to neutralize a new form of threat in the next decade. This research utilized the qualitative research technique including documentary research and also in-depth interviews. Results of the study showed that the accumulated small arms ammunition in the past was unable to maintain the level of the reserve for 45 delivering days which was sometimes too much resulting in deteriorations and destruction of the ammunitions. Sometimes too little and was not enough to support Missions of the army due to budget restrictions. According to an analysis of the security environment in South East Asia, the situation can be considered as stable and therefore the large scale war is highly unlikely, and in past military operations usually occurred in the form of territory protection and border dispute not exceeding 1 Brigade in combat battalions and often ended up with negotiations. Therefore, the accumulation of too much ammunition put burdens on the budget, storage and unsuitable for the demand of use in each fiscal year which caused unnecessary lost due to the deteriorations and destruction of ammunitions. It is therefore suggested that the proposed guidelines be utilized as part of the regulations in appropriate level of ammunitions accumulation. The researcher hopes that this research papers will be useful as guidelines in determining the level of ammunition reserve for the army to help conserve the budget and provide readiness in battle when at war.