Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักการเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา เพื่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน : กรณีศึกษาสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐในจังหวัดยะลา,The integration of the King's philosophical concept : sufficiency economy, understanding, empathy and development for strengthening communities; a case study for officials in Yala province

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
ไม่ระบุ/not specified
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, พ.อ. สายน้ำ พินิจอักษร
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
ปีที่พิมพ์:
2556
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
เปิดเผยเฉพาะบางส่วน (ไม่เปิดเผยเนื้อหา)

บทคัดย่อ:

บทคัดย่อ ชื่อเรื่อง : การบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักการเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา เพื่อ การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนกรณีศึกษาสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐในจังหวัดยะลา โดย : พันเอก สายน้ำ พินิจอักษร สาขาวิชา : สังคมศาสตร์ อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจัย : นาวาเอก ( ปิยะ อาจมุงคุณ ) กรกฎาคม ๒๕๕๘ การวิจัยเรื่องการบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักการเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา เพื่อ การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐในจังหวัดยะลา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา แนวทางการบูรณาการการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในจังหวัดยะลา โดยการนำแนว พระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักการเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา มาประยุกต์ใช้ในการบริหาร จัดการอย่างมีประสิทธิภาพ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนใน พื้นที่จังหวัดยะลามีหลายหน่วย มีความแตกต่างกันทั้งในด้าน โครงสร้าง การบริหารจัดการ องค์ความรู้ วัฒนธรรมองค์กร ซึ่งถือเป็นข้อจำกัด คำถามคือเราจะบูรณาการกันอย่างไร ทั้งเรื่ององค์กร บุคลากร องค์ความรู้ และแผนการปฏิบัติ เพื่อขับเคลื่อนการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง ให้สามารถพึ่งตนเองได้ทั้ง เรื่องความปลอดภัยและการพัฒนา ซึ่งหากชุมชนหมู่บ้านแต่ละชุมชน มีความมั่นคงปลอดภัย ประชาชน อยู่อย่างพอเพียงมีคุณภาพชีวิตที่ดีจะนำมาซึ่งความสงบสุข อันเป็นความต้องการและความคาดหวังของ ประชาชนในพื้นที่จังหวัดยะลาและจังหวัดชายแดนภาคใต้ การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เป็นงานสำคัญในพื้นที่จังหวัดยะลา เป้าหมายเพื่อให้ ประชาชนอยู่ดี กินดี ไม่เป็นหนี้สินและอยู่อย่างพึ่งพาตนเองได้ รวมถึงการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน สำหรับสมาชิกในหมู่บ้าน/ชุมชน แนวทางหนึ่งคือการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต อีกแนวทางหนึ่งคือการส่งเสริมให้เกิดการ เรียนรู้ร่วมกันของประชาชนในระดับหมู่บ้าน/ตำบล โดยจัดเวทีเพื่อร่วมกันวิเคราะห์ถึงปัญหา สาเหตุ และแนวทางแก้ไขปัญหา ไปจนถึงการเรียนรู้เพื่อค้นหาทางเลือกในการแก้ปัญหา สิ่งเหล่านี้จะถูก ประมวลขึ้นเป็น “แผนชุมชน”ซึ่งจะเป็นเครื่องมือในการพัฒนาแก้ไขปัญหาชุมชนในทุกมิติ กระบวนการ ชุมชนดังกล่าวจะขับเคลื่อนได้น้อยหรือไม่ได้เลย หากปราศจากทีมงานเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่ให้คำแนะนำที่ ถูกต้องเปรียบเสมือนพี่เลี้ยง รวมทั้งการสนับสนุนต่างๆจากภาครัฐ ฝ่ายพลเรือน ปกครอง ตำรวจ ทหาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกันบูรณาการขับเคลื่อนส่งผลให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งได้อย่างยั่งยืน ผลการวิจัยพบว่า การบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักการเข้าใจ เข้าถึงพัฒนา เพื่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในจังหวัดยะลา เป็นการบูรณาการทางกระบวนการคิด อัน ได้แก่ แนวคิดด้านบูรณาการ ปรัชญาและหลักการพระราชดำริและการปฏิบัติ อันได้แก่ การ บริหาร จัดการในด้านต่างๆอย่างมีเหตุมีผล เพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งพึ่งตนเองอันจะนำไปสู่การสนับสนุนการ แก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งสอดคล้องกับ พ.อ.วรจิตร์ ศาสตร์ศิลป์ ซึ่ง ศึกษาวิจัยเรื่อง “ แนวทางการปฏิบัติ เพื่อลดเหตุความรุนแรงในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้ เนื่องมาจากเป้าหมายการเอาชนะที่หมู่บ้าน ทั้งนี้การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ด้วยหลักการ เข้าใจ ได้แก่ ปัญญา การสื่อสาร ๒ ทาง เราเข้าใจประชาชน ประชาชนเข้าใจเรา เข้าถึงคือการเปิด โอกาสการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา และพัฒนาทักษะการบริหาร จัดการอย่างถูกวิธี โดยประชาชน เป็นที่ตั้ง มีความพอประมาณ ไม่เบียดเบียน มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี พร้อมรับผลกระทบการ เปลี่ยนแปลง ภายใต้เงื่อนไขรอบรู้วิชาการ/ประสบการณ์ รอบคอบ ระมัดระวังในการดำเนินการและมี คุณธรรม จริยธรรม สติปัญญา ความซื่อสัตย์สุจริต อดทน เพียร สอดคล้องกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน ๔ ท่าน ผู้วิจัยมีความเห็นว่าการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน หากดำเนินการในแนวทางดังกล่าว ทำให้ประชาชนในชุมชนจังหวัดยะลามีความปลอดภัยมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุข

abstract:

ABSTRACT Title : The integration of the King’s philosophical concept:sufficiency economy, understanding, empathy and development \for strengthening communities; a case study for officials in Yala province By : COL Sainam pinij-aksorn Major Field : Socialogy Research Advisor : Captain ( Piya artmungkun ) July 2015 The research on the integration of philosophy and principles to understand the developer access to the strengthening of the community for the authorities in Yala province. The purpose is to study ways of strengthening the integration of communities in the Province. By Works philosophy and principles to understand the development and application of management efficiency. Government agencies related to the strengthening of the community in Yala province with several units. There are significant differences in terms of management structure, corporate culture knowledge. This is the limit. The question is, are integrated with each other. The organization's personnel, knowledge and action plans. Driven to build stronger communities. To foster the security and development. If each community, village Secure The public is sufficiently good quality of life. Will bring peace. As the needs and expectations of citizens in the southern border provinces of Yala. The strengthening of the community. It is important in Yala. The goal is to keep the public well-being, not a liability, and stay self-reliant. The mutual dependence for members of village / community. Another approach is to induce the King's sufficiency economy philosophy, primarily in lifestyle. Another approach is to foster mutual learning among people in the village / district. The stage for the joint analysis of the issue. Causes and Solutions To learn to find alternative solutions. These are processed up. "Community Plan" which will be instrumental in developing solutions to communities in all dimensions. The community will drive less or not at all. Without a team of government officials. The guide was like a mentor. As well as support from the government, the civil ruling military organization. Together, the integrated drive results in a strong, sustainable communities. The results showed that Integrating the philosophy and principles to understand the developer access to the strengthening of the community in Yala. The integration process, including the concept of integration. The philosophy and principles of initiative and management practices, including in areas such Lange. To foster a strong community support will lead to a solution to unrest in the southern provinces. Which corresponds to Col.Worajit satsi research, which "practices. To reduce the violence in the three southernmost provinces. Due to the goal of overcoming the village. The strengthening of community principles. Issues include two-way communication that we understand the people. We understand the public Access to the opportunity to contribute to the problems. And development of management skills Handled correctly The public is A restraint There is no reason not to encroach on the immune as well. With change impacts Under terms of academic knowledge of / experience in voluntary action. Ethics and intellectual honesty, patience, perseverance, consistent with the essentials of 4 researchers are of the opinion that the strengthening of the community. If implemented in a way that makes people in the community Yala secure a better quality of life and happiness.