Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การพัฒนามาตรฐานการรับรองสถาบันฝึกอบรมด้านการบินเพื่อเตรียมรับความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ,Developing certification standards for Approved Training Organization (ATO) ,to move toward the ASEAN Community

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
ไม่ระบุ/not specified
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, ร.อ. สถิตย์พันธ์ ประกอบผล
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
ปีที่พิมพ์:
2556
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
เปิดเผยเฉพาะบางส่วน (ไม่เปิดเผยเนื้อหา)

บทคัดย่อ:

บทคัดย่อ ชื่อเรื่อง : การพัฒนามาตรฐานการรับรองสถาบันฝึกอบรมด้านการบิน เพื่อเตรียมรับความพร้อมสู่ ประชาคมอาเซียน โดย : เรืออากาศเอก สถิตย์พันธ์ ประกอบผล สาขาวิชา : สังคมศาสตร์ อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจัย : นาวาเอก (ปิยะ อาจมุงคุณ) มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๘ การวิจัย เรื่อง การพัฒนามาตรฐานการรับรองสถาบันฝึกอบรมด้านการบิน (Approved Training Organization; ATO) เพื่อเตรียมรับความพร้อม สู่ประชาคมอาเซียน มีวัตถุประสงค์ ๑. เพื่อ ศึกษามาตรฐานการรับรองสถาบันฝึกอบรมด้านการบิน (Approved Training Organization; ATO) ของสากล (ต่างประเทศ) ๒. เพื่อศึกษามาตรฐานการรับรองสถาบันฝึกอบรมด้านการบิน (ATO) ของ ประเทศไทย ๓. เพื่อนำเสนอแนวทางมาตรฐานการรับรองสถาบันฝึกอบรมด้านการบิน (ATO) ซึ่งเป็น แนวทางใหม่ เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน (ASEAN COMMUNITY)โดยการศึกษาทฤษฎี ที่เกี่ยวข้อง และวิธีดำเนินการวิจัยแบบเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) แบบวิจัยเอกสาร (Documentary Research) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) โดยเปรียบเทียบ มาตรฐานการรับรองสถาบันฝึกอบรมด้านการบินของสากล (ต่างประเทศ) กับมาตรฐานการรับรอง สถาบันฝึกอบรมด้านการบินของประเทศไทยในปัจจุบัน เพื่อได้ข้อมูลการพัฒนาการรับรองสถาบัน ฝึกอบรมด้านการบิน และมาตรวจสอบเพื่อรายละเอียดความถูกต้องครบถ้วนกับมาตรฐานและ คำแนะนำขององค์การการบินพลเรือนพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization; ICAO)จึงได้มาตรฐานการรับรองสถาบันฝึกอบรมด้านการบิน (แนวทางใหม่) จากนั้นได้ นำมาตรฐานดังกล่าวไปดำเนินตั้งคำถามในการสัมภาษณ์ โดยการสัมภาษณ์ได้ใช้หลักเกณฑ์เลือก กลุ่มเป้าหมายผู้ให้สัมภาษณ์ ๓ กลุ่ม คือ กลุ่มผู้บริหาร กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และกลุ่มผู้ปฏิบัติงานหรือ ผู้กำกับดูแลที่เกี่ยวข้องเพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และจากผลการวิเคราะห์ซึ่งสามารถนำไปเป็นแนวทาง ปฏิบัติได้ให้มีมาตรฐานและประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ผลการวิจัย พบว่าสามารถดำเนินการพัฒนามาตรฐานการรับรองสถาบันฝึกอบรมด้านการบิน (แนวทางใหม่) เพื่อเตรียมรับความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนได้ โดยมีแนวทางและขั้นตอนการรับรอง สถาบั น ฝึกอบรม ด้าน การบิ น คือ ๑ . Pre and Formal Application Phases ๒ .Document Evaluation Phase๓.Facilities and Equipment Inspection Phase และ ๔.Certification Phase รายละเอียดการประกันคุณภาพและระบบคุณภาพ ซึ่งประกอบด้วย นโยบายคุณภาพและกลยุทธ์ ผู้จัดการคุณภาพ แผนประกันคุณภาพการตรวจสอบคุณภาพ การแก้ไขข้อบกพร่อง และการควบคุม คุณภาพ ส่วนระบบการจัดการด้านความปลอดภัย จะมีด้วยกัน ๔ แนวทาง คือ ๑.Safety Policy and Objective๒.Safety Risk Management ๓.Safety Assurance ๔.Safety Promotionและสุดท้ายคือ วิธีการจัดเก็บบันทึก โดยสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ตลอดเวลาและสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ ซึ่งการ เก็บข้อมูลดังกล่าวสามารถใช้รูปแบบกระดาษ และ/หรือทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ รวมทั้ง สามารถจัดบันทึก ข้อมูลที่ปรับปรุงใหม่ได้ภายใน ๒๔ ชั่วโมง พร้อมทั้งมีบันทึกข้อมูลสำรองซึ่งแนวทางดังกล่าวนี้เป็นสิ่งที่ ทำให้เกิดความเป็นมาตรฐานสากลที่สูงขึ้น รวมทั้งเป็นไปมาตรฐานคำแนะนำขององค์การการบินพล เรือนระหว่างประเทศ จึงสามารถนำไปออกประกาศกรมการบินพลเรือน เรื่องการรับรองสถาบัน ฝึกอบรมด้านการบิน พ.ศ.๒๕๕๘ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติสำหรับเจ้าหน้าที่กรมการบินพลเรือน และ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติในการยกระดับการพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยด้านการบิน เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนและในระดับสากลมากขึ้น ข้อเสนอแนะ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนามาตรฐานการรับรองสถาบันฝึกอบรมด้านการบิน อย่างต่อเนื่อง ควรจะมีการวิจัยในเรื่องนี้ต่อไป เช่น การกำหนดคุณสมบัติบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับสถาบัน ฝึกอบรมด้านการบิน รายละเอียดเนื้อหาการฝึกอบรม การเลือกใช้อุปกรณ์การสอนที่เหมาะสม คู่มือการ ดำเนินการและขั้นตอนการปฏิบัติ รวมทั้งการพัฒนาหลักสูตรสำหรับผู้ประจำหน้าที่ในอากาศ (นักบิน) อย่างต่อเนื่องในอนาคต

abstract:

ไม่มี