สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute
NDSI- RASS
ระบบสืบค้นงานวิจัยและวิชาการ
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
คู่มือใช้งาน
Logout
Search
ค้นหา
Category
แสดงตามประเภท
แสดงทั้งหมด
งานวิจัย
งานวิชาการ
งานนวัตกรรม
เอกสารประกอบการศึกษาตามหลักสูตร
อื่น ๆ
แสดงตามปี
ปี พ.ศ. 2567
ปี พ.ศ. 2566
ปี พ.ศ. 2565
ปี พ.ศ. 2564
ปี พ.ศ. 2563
ปี พ.ศ. 2562
ปี พ.ศ. 2561
ปี พ.ศ. 2560
ปี พ.ศ. 2559
ปี พ.ศ. 2558
ปี พ.ศ. 2557
ปี พ.ศ. 2556
ปี พ.ศ. 2555
ปี พ.ศ. 2554
ปี พ.ศ. 2553
ปี พ.ศ. 2552
ปี พ.ศ. 2551
ปี พ.ศ. 2550
ปี พ.ศ. 2549
ปี พ.ศ. 2548
ปี พ.ศ. 2547
ปี พ.ศ. 2546
แสดงตามหน่วยงาน
แสดงทั้งหมด
สปท.
วปอ.สปท.
วสท.สปท.
สจว.สปท.
ศศย.สปท.
รร.ตท.สปท.
รร.ชท.สปท.
สศท.สปท.
แสดงตามสภาวะแวดล้อมทางยุทธศาสตร์
แสดงทั้งหมด
Social-Psychology
Science and Technology
Economics
Strategy
Politics
Military
Education
Diplomacy
Information
Environment
not specified
แสดงตามหลักสูตรต่าง ๆ
แสดงทั้งหมด
หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร
หลักสูตรผู้นำพอเพียงด้านความมั่นคง
หลักสูตรเสนาธิการทหาร
หลักสูตรเสนาธิการร่วม
หลักสูตรนายทหารอาวุโส บก.ทท.
หลักสูตรจิตวิทยาความมั่นคง
หลักสูตรพัฒนาสัมพันธ์ผู้บริหาร
หลักสูตรนักยุทธศาสตร์
หลักสูตร รร.ตท.สปท.
หลักสูตร รร.ชท.สปท.
หลักสูตรจิตวิทยาความมั่งคง สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานิ (สจว.สพฐ.
อื่น ๆ
Readed :
018622
Today :
000197
Total :
047637
Download :
000058
เรื่อง:
การพัฒนามาตรฐานการรับรองสถาบันฝึกอบรมด้านการบินเพื่อเตรียมรับความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ,Developing certification standards for Approved Training Organization (ATO) ,to move toward the ASEAN Community
Download
Open PDF
E-Book
หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
ไม่ระบุ/not specified
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, ร.อ. สถิตย์พันธ์ ประกอบผล
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
ปีที่พิมพ์:
2556
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
เปิดเผยเฉพาะบางส่วน (ไม่เปิดเผยเนื้อหา)
บทคัดย่อ:
บทคัดย่อ ชื่อเรื่อง : การพัฒนามาตรฐานการรับรองสถาบันฝึกอบรมด้านการบิน เพื่อเตรียมรับความพร้อมสู่ ประชาคมอาเซียน โดย : เรืออากาศเอก สถิตย์พันธ์ ประกอบผล สาขาวิชา : สังคมศาสตร์ อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจัย : นาวาเอก (ปิยะ อาจมุงคุณ) มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๘ การวิจัย เรื่อง การพัฒนามาตรฐานการรับรองสถาบันฝึกอบรมด้านการบิน (Approved Training Organization; ATO) เพื่อเตรียมรับความพร้อม สู่ประชาคมอาเซียน มีวัตถุประสงค์ ๑. เพื่อ ศึกษามาตรฐานการรับรองสถาบันฝึกอบรมด้านการบิน (Approved Training Organization; ATO) ของสากล (ต่างประเทศ) ๒. เพื่อศึกษามาตรฐานการรับรองสถาบันฝึกอบรมด้านการบิน (ATO) ของ ประเทศไทย ๓. เพื่อนำเสนอแนวทางมาตรฐานการรับรองสถาบันฝึกอบรมด้านการบิน (ATO) ซึ่งเป็น แนวทางใหม่ เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน (ASEAN COMMUNITY)โดยการศึกษาทฤษฎี ที่เกี่ยวข้อง และวิธีดำเนินการวิจัยแบบเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) แบบวิจัยเอกสาร (Documentary Research) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) โดยเปรียบเทียบ มาตรฐานการรับรองสถาบันฝึกอบรมด้านการบินของสากล (ต่างประเทศ) กับมาตรฐานการรับรอง สถาบันฝึกอบรมด้านการบินของประเทศไทยในปัจจุบัน เพื่อได้ข้อมูลการพัฒนาการรับรองสถาบัน ฝึกอบรมด้านการบิน และมาตรวจสอบเพื่อรายละเอียดความถูกต้องครบถ้วนกับมาตรฐานและ คำแนะนำขององค์การการบินพลเรือนพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization; ICAO)จึงได้มาตรฐานการรับรองสถาบันฝึกอบรมด้านการบิน (แนวทางใหม่) จากนั้นได้ นำมาตรฐานดังกล่าวไปดำเนินตั้งคำถามในการสัมภาษณ์ โดยการสัมภาษณ์ได้ใช้หลักเกณฑ์เลือก กลุ่มเป้าหมายผู้ให้สัมภาษณ์ ๓ กลุ่ม คือ กลุ่มผู้บริหาร กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และกลุ่มผู้ปฏิบัติงานหรือ ผู้กำกับดูแลที่เกี่ยวข้องเพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และจากผลการวิเคราะห์ซึ่งสามารถนำไปเป็นแนวทาง ปฏิบัติได้ให้มีมาตรฐานและประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ผลการวิจัย พบว่าสามารถดำเนินการพัฒนามาตรฐานการรับรองสถาบันฝึกอบรมด้านการบิน (แนวทางใหม่) เพื่อเตรียมรับความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนได้ โดยมีแนวทางและขั้นตอนการรับรอง สถาบั น ฝึกอบรม ด้าน การบิ น คือ ๑ . Pre and Formal Application Phases ๒ .Document Evaluation Phase๓.Facilities and Equipment Inspection Phase และ ๔.Certification Phase รายละเอียดการประกันคุณภาพและระบบคุณภาพ ซึ่งประกอบด้วย นโยบายคุณภาพและกลยุทธ์ ผู้จัดการคุณภาพ แผนประกันคุณภาพการตรวจสอบคุณภาพ การแก้ไขข้อบกพร่อง และการควบคุม คุณภาพ ส่วนระบบการจัดการด้านความปลอดภัย จะมีด้วยกัน ๔ แนวทาง คือ ๑.Safety Policy and Objective๒.Safety Risk Management ๓.Safety Assurance ๔.Safety Promotionและสุดท้ายคือ วิธีการจัดเก็บบันทึก โดยสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ตลอดเวลาและสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ ซึ่งการ เก็บข้อมูลดังกล่าวสามารถใช้รูปแบบกระดาษ และ/หรือทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ รวมทั้ง สามารถจัดบันทึก ข้อมูลที่ปรับปรุงใหม่ได้ภายใน ๒๔ ชั่วโมง พร้อมทั้งมีบันทึกข้อมูลสำรองซึ่งแนวทางดังกล่าวนี้เป็นสิ่งที่ ทำให้เกิดความเป็นมาตรฐานสากลที่สูงขึ้น รวมทั้งเป็นไปมาตรฐานคำแนะนำขององค์การการบินพล เรือนระหว่างประเทศ จึงสามารถนำไปออกประกาศกรมการบินพลเรือน เรื่องการรับรองสถาบัน ฝึกอบรมด้านการบิน พ.ศ.๒๕๕๘ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติสำหรับเจ้าหน้าที่กรมการบินพลเรือน และ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติในการยกระดับการพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยด้านการบิน เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนและในระดับสากลมากขึ้น ข้อเสนอแนะ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนามาตรฐานการรับรองสถาบันฝึกอบรมด้านการบิน อย่างต่อเนื่อง ควรจะมีการวิจัยในเรื่องนี้ต่อไป เช่น การกำหนดคุณสมบัติบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับสถาบัน ฝึกอบรมด้านการบิน รายละเอียดเนื้อหาการฝึกอบรม การเลือกใช้อุปกรณ์การสอนที่เหมาะสม คู่มือการ ดำเนินการและขั้นตอนการปฏิบัติ รวมทั้งการพัฒนาหลักสูตรสำหรับผู้ประจำหน้าที่ในอากาศ (นักบิน) อย่างต่อเนื่องในอนาคต
abstract:
ไม่มี