Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการบริหารการซ่อมบำรุงอากาศยาน ของกองบินถ่ายภาพทางอากาศ กรมแผนที่ทหาร ,Guide Line for Aircraft Maintenance Management of Survey Division, Royal Thai Survey Department

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
ไม่ระบุ/not specified
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, น.อ. ศิลป์ชัย มานิกบุตร
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
ปีที่พิมพ์:
2556
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
เปิดเผยเฉพาะบางส่วน (ไม่เปิดเผยเนื้อหา)

บทคัดย่อ:

บทคัดย่อ ชื่อเรื่อง : แนวทางการบริหารการซ่อมบำรุงอากาศยาน ของกองบินถ่ายภาพทางอากาศ โดย : นาวาอากาศเอก ศิลป์ชัย มานิกบุตร สาขาวิชา : การทหาร อาจารย์ที่ปรึกษา : นาวาอากาศเอก (ถาวร สำอางค์ศรี) กรกฎาคม ๒๕๕๘ การวิจัยเรื่อง “แนวทางการบริหารการซ่อมบำรุงอากาศยาน ของกองบินถ่ายภาพทางอากาศ” มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการซ่อมบำรุงอากาศยานของ กองบินถ่ายภาพทางอากาศในปัจจุบันและเพื่อศึกษา แนวทางการบริหารการซ่อมบำรุงอากาศยานของกองบินฯซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้ข้อมูลปฐมภูมิ คือข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกบุคคลที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๓ ท่าน ประกอบด้วย พลอากาศโท สุรสิทธิ์ ปัญญาอุทัย เจ้ากรมช่างอากาศ เรืออากาศตรี พนม โชติช่วง รองผุ้อำนวยการใหญ่ฝ่ายสนับสนุน การซ่อมบำรุง บริษัทการบินไทย จำกัด(มหาชน) พลเรือโท นวพลดำรงพงษ์ เจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหาร รวมทั้งใช้ข้อมูลทุติยภูมิคือข้อมูลที่เป็นเอกสาร เช่น เอกสารวิจัย ระเบียบ คำสั่ง ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยนี้ ผลการวิจัยพบว่า สาเหตุของการซ่อมบำรุงที่ขาดประสิทธิภาพของกองบินฯ เกิดจาก โครงสร้างการซ่อมบำรุงของหน่วย ที่ไม่สอดคล้องกับจำนวนและแบบอากาศยานในปัจจุบัน ปัญหาด้าน กำลังพลของหน่วย ที่ปฏิบัติงานด้านการซ่อมบำรุง ที่มีจำนวนไม่เหมาะสม และขาดความรู้ความเชี่ยวชาญใน กระบวนการซ่อมบำรุงฯ ได้แก่ การวางแผนงาน การจัดวงรอบการซ่อมบำรุง และปัญหาด้านการดำเนินการ ซ่อมบำรุงอากาศยานของหน่วย ที่ยึดถือตามระเบียบราชการ ไม่สามารถปรับปรุงตามสภาพแวดล้อม ทำให้ เกิดความไม่คล่องตัวในการซ่อมบำรุงฯ ความต้องการอะไหล่ที่เร่งด่วน จึงควรปรับปรุงกองบินฯ ๓ ด้านดังที่ กล่าวมาข้างต้น เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นแนวทางการบริหารการซ่อมบำรุงฯ ของกองบินฯ คือ ปรับปรุงด้านโครงสร้างหน่วย เพื่อให้สอดคล้องกับจำนวนและแบบของอากาศยานในปัจจุบัน รวมถึงรองรับ อากาศยานที่จะได้รับเพิ่มเติมในอนาคต ปรับปรุงการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรในด้านการซ่อม บำรุงฯ และด้านสนับสนุนอื่นๆ ปรับปรุงการดำเนินการด้านซ่อมบำรุง และการซื้อ/จ้างซ่อมบำรุงในลักษณะ Package เพื่อให้มีอากาศยานใช้งานได้ตามแผนงาน รวมทั้งมีความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน สำหรับ ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อได้แนวทางการบริหารงานซ่อมบำรุงฯ ที่เหมาะสมในเบื้องต้น เท่านั้น สำหรับวิธีการหรือขั้นตอนการนำไปปฏิบัติจำเป็นต้องศึกษารายละเอียดและประยุกต์วิธีการให้มี ความเหมาะสมกับหน่วยฯ ต่อไป

abstract:

ABSTRACT Title : Guideline for Aircraft Maintenance Management of Survey Division, Royal Thai Survey Departmemt By : Group Captain Sinchai Manigabud Field : Military Advisor : Group Captain ( Thavorn Sam-angsri ) July 2015 The objectives of this research were 1) To study the trend of repairing Royal Thai Survey aircrafts. 2) To study the aircraft maintenance method of the Royal Thai Survey Division. This is a qualitative research using primary data from in-depth interviewing of 3 experts: Director of Aeronautical Engineering, The deputy vice president Technical Support Department Technical Department Thai Airway International Public Company limited and Directorof Joint Logistics , Royal Thai Armed Forces. This research hasalso included secondary data which are regulations and orders relating to this research. The results showed that the cause of ineffectiveaircraft maintenance was due to three problems. The first problem concerned structural maintenance of the unit that wasnot suitable for the quantity and type of the royal Thai Survey aircrafts today. The second problem was about the lack of Aircraft Mechanics with experiences and skill in the maintenance processes. The last problem was about the inefficiency of repair operation in the Royal Thai Survey division that can not keep up to date with the present environment and the procurement process which was limited by regulations. The conclusion of this study to solve problems of the royal Thai Survey division‘s aircraft maintenance suggests that more attention should be focused on improving the three problemsareas mentioned above in order to generate more efficiency in aircraft maintenance management which would result in better flight safety.