Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการพัฒนาความสัมพันธ์ ไทย-ลาว ภายใต้กลไกความร่วมมือด้านความมั่นคงชายแดน หลังเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ,Guidelines for the development of relations between Thailand and Laos, under the mechanisms of cooperation in border security after the ASEAN community.

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
ไม่ระบุ/not specified
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, พ.อ. ยุทธภูมิ บุญฤทธิ์
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
ปีที่พิมพ์:
2556
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
เปิดเผยเฉพาะบางส่วน (ไม่เปิดเผยเนื้อหา)

บทคัดย่อ:

บทคัดย่อ ชื่อเรื่อง : แนวทางการพัฒนาความสัมพันธ์ไทย – ลาว ภายใต้กลไกความร่วมมือด้าน ความมั่นคงชายแดน หลังเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดย : พันเอก ยุทธภูมิ บุญฤทธิ์ สาขาวิชา : การทหาร อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจัย : นาวาอากาศเอก (ชนินทร เฉลิมทรัพย์) กรกฎาคม ๒๕๕๘ การวิจัยเรื่อง “แนวทางการพัฒนาความสัมพันธ์ไทย – ลาว ภายใต้กลไกความร่วมมือด้าน ความมั่นคงชายแดน หลังเข้าสู่ประชาคมอาเซียน” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและแนวคิดเกี่ยวกับประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ศึกษา ความสัมพันธ์ไทย – ลาว กับผลการดำเนินงานของกลไกความร่วมมือด้านความมั่นคงชายแดน ไทย – ลาว ตามนโยบายที่เกี่ยวข้อง และเสนอแนะแนวทางการพัฒนาความสัมพันธ์ ไทย – ลาว ภายใต้กลไกความร่วมมือด้านความมั่นคงชายแดน หลังเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งเป็นการวิจัย เชิงคุณภาพ โดยใช้ข้อมูลปฐมภูมิจากการการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องจำนวน ๓ ท่าน ได้แก่ผู้ช่วย ทูตทหารไทย ณ เวียงจันทน์ ผู้อำนวยการกองนโยบายชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน สำนัก กิจการเพื่อความมั่นคง กรมกิจการชายแดนทหาร รองหัวหน้ากรมทหารชายแดน กรมใหญ่เสนาธิการ กองทัพประชาชนลาว รวมทั้งใช้ข้อมูลทุติยภูมิจาก เอกสารต่าง ๆ และผลการประชุมคณะกรรมการ ตามกลไกความร่วมมือด้านความมั่นคงชายแดนไทยกับ สปป.ลาว ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยครั้งนี้ ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการพัฒนาความสัมพันธ์ไทย – ลาว ภายใต้กลไกความร่วมมือ ด้านความมั่นคงชายแดน หลังเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ควรสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ ลดความ หวาดระแวงต่อกัน มีการพบปะ แลกเปลี่ยน หารือทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการให้มากขึ้นสร้างบุคลากรที่ตอบสนองการทำงานร่วมกันและให้โอกาสทำหน้าที่เป็นระยะเวลานานพอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของผู้บริหาร รวมถึงมีการจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอต่อการดำเนินงาน ในกิจกรรมต่างๆ ให้ความสำคัญต่อกลไกความร่วมมือด้านความมั่นคงชายแดนระดับจังหวัดและ แขวง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทระหว่างผู้ว่าราชการจังหวัดกับเจ้าแขวงชายแดนไทย – แดน มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานไทย – ลาวขึ้นในพื้นที่ชายแดนระหว่างจังหวัดกับแขวงเพื่อให้การ ประสานงานในเรื่องต่างๆรวดเร็วและเป็นเอกภาพมากยิ่งขึ้น ถือเป็นการบูรณาการในการบริหาร จัดการชายแดนที่สำคัญ ทั้งนี้ควรมีการจัดทำแผนงานเพื่อพัฒนาการดำเนินงานของกลไกความร่วมมือ ด้านความมั่นคงชายแดนไทย – ลาวให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยรัฐบาลควรมอบหมายให้ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ สมช. ซึ่งรับผิดชอบด้านความมั่นคงในภาพรวม เป็นเจ้าภาพ หลักในการดำเนินการต่อไป อย่างไรก็ตามทางการพัฒนาความสัมพันธ์ไทย – ลาว ภายใต้กลไกความร่วมมือด้าน ความมั่นคงชายแดน หลังเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในการดำเนินงานของไทยยังต้องปรับปรุงให้กลไก ความร่วมมือด้านความมั่นคงชายแดนไทย – ลาว สามารถตอบสนองแนวทางดังกล่าวข้างต้นเพิ่มเติม ได้แก่ลดขั้นตอนด้านเอกสารที่ไม่จำเป็น ทำให้งานในระดับนโยบาย สามารถตกลงใจดำเนินงานตาม กรอบของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องได้ทันทีและมอบหมายงานไปจนถึงระดับปฏิบัติได้อย่างรวดเร็วและเป็น รูปธรรม มีการควบคุมและกำกับดูแลการดำเนินงานของกลไกระดับภูมิภาคหรือผู้ปฏิบัติให้เป็นไปตาม กรอบนโยบายความมั่นคงแห่งชาติของไทยต่อประเทศเพื่อนบ้านด้านลาวและแนวทางที่รัฐบาล กำหนด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินการตามกลไกความร่วมมือระหว่างจังหวัดกับแขวงชายแดน ไทย – ลาว ทำให้ขอบเขตการประชุมเพื่อการตกลงใจในความร่วมมือด้านต่าง ๆ กับ สปป.ลาว มีความชัดเจน ก่อนที่จะมอบหมายให้กลไกระดับปฏิบัติจะนำไปดำเนินการ และผลการประชุมของ กลไกในระดับนโยบาย สามารถที่จะนำไปสู่การปฏิบัติได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้คณะรัฐมนตรีสั่งการ เนื่องจากรัฐสภาได้พิจารณาเห็นชอบกรอบการหารือกับ สปป.ลาว ไว้แล้ว คณะกรรมการในกลไก ต่างๆ ควรมีคุณวุฒิและประสบการณ์ในการทำงาน ทำให้เกิดความรอบคอบในการตกลงใจในประเด็น ต่าง ๆ ในการหารือระดับทวิภาคีระหว่างไทยกับ สปป.ลาว หัวหน้าส่วนราชการระดับสูง ควรมี โอกาสพบปะกันในการประชุมอย่างเป็นทางการและไม่ทางการให้บ่อยครั้งขึ้น เพื่อสร้างความสัมพันธ์และส่งผลดีต่อความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ บนพื้นฐานของ ความเข้าใจและได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน นำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืนต่อไป .......................................................

abstract:

Abstract Title : Guidelines for the development of relations between Thailand – Laos, under the mechanism for cooperation on border security after the ASEAN community By : Col Yuttapoom Boonyalit Branch : Military Advisors research : Sr Gp Capt (Chanintorn Chalermsup) July 2015 Research"Guidelines for the development of relations between Thailand –Laos, under the mechanism for cooperation on border security after the ASEAN community". The research’s purport is to study Theories of international relations, ASEAN Political and Security Community. To study the relationship between Thailand - Laos with the implementation of a mechanism for cooperation on border security, Thailand - Laos by the relevant policies. And guidelines for the development of relations between Thailand – Laos, under the mechanism for cooperation on border security after the declaration of ASEAN community.This is a qualitative research using primary data from the interviews of 3 experts, the Assistant Military Attache at Vientiane, Director of the Thailand border policy with neighboring countries, Bureau for Security Affairs, Department of Border Affairs and Deputy Chief of the Border Department, Lao Armed Forces. As well as secondary data from various sources and the General Border Committee (GBC) Thailand - Laos relates. The results should build trust; reduce distrust to another, promote more meetings to discuss the exchange of official and unofficial matters. Encouragepersonnel to meet and work together providing opportunities to serve at length for a considerable period of time, especially on the part of the managements and to ensure sufficient budget for the activities.The importance of mechanisms for cooperation on border security, the provincial and district levels needs to be given priority. In particular, the role of Thai provincial governor with the Lao district governor. However, the development of relations between Thailand - Laos under the mechanism for cooperation on border security, after the declaration of ASEAN community needs further development. In Thailand, there is a need to improve the implementation of a mechanism for cooperation on border security, Thailand – Laos to meet the above guidelines including procedures to reduce unnecessary paperwork. Difficulties at the policy level can be resolved within the framework of the relevant government immediately and assignments to class action quickly and tangibly to control and supervise the implementation of a regional mechanism or practice to comply with the policy framework for national security of the neighboring countries. In particular, the implementation of a cooperation mechanism between the provincial border with Laos - Thailand, Laos meeting to decide the scope of cooperation in various fields with the Lao PDR. Prior to assignment to the class action mechanism is put into operation and the meeting of the mechanism at the policy level would be able to put into practice immediately without waiting for the cabinet’s order. Since Parliament has approved the framework for dialogue with the Lao PDR. The boards in the various mechanisms should have qualifications and work experiences in order to make a thoughtful decision on issues in various bilateral dialogues between Thailand and Lao PDR. Government officials should have the opportunity to meet in a formal and informal meeting more often to build relationships and create a positive impact on cooperation in resolving the issues effectively on the basis of understanding and mutual benefit which would lead to a stable, prosperous and sustainable future.