เรื่อง: การพัฒนาการประชาสัมพันธ์แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ของอนุสรณ์สถานแห่งชาติ,The Development of Public Relations of History Learning Resources ,of the National Memorial
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
ไม่ระบุ/not specified
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, พ.อ. ยุทธกร สุภาสูรย์
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2556
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
เปิดเผยเฉพาะบางส่วน (ไม่เปิดเผยเนื้อหา)
|
|
บทคัดย่อ:
บทคัดย่อ
เรื่อง : การพัฒนาการประชาสัมพันธ์แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์
ของอนุสรณ์สถานแห่งชาติ
โดย : พันเอก ยุทธกร สุภาสูรย์
สาขาวิชา : สังคมจิตวิทยา
อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจัย : นาวาเอก
(รัฐฉัตร์ พุทธวัจน์ศิริ)
กรกฎาคม ๒๕๕๘
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาการประชาสัมพันธ์แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ของอนุสรณ์สถาน
แห่งชาติมีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และรูปแบบของการประชาสัมพันธ์ ๒) เพื่อศึกษา
รูปแบบ และการดำเนินการประชาสัมพันธ์ของอนุสรณ์สถานแห่งชาติ๓) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนา
การประชาสัมพันธ์แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ของอนุสรณ์สถานแห่งชาติโดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ
(Qualitative Research) แบบวิจัยเอกสาร (Documentary Research) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In
– depth interview) ใช้ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data) จากการสังเกตและสัมภาษณ์เชิงลึก รวมทั้งใช้
ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) จากเอกสารทางราชการ และเอกสารทางวิชาการ แนวคิดทฤษฎี
จากผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจากแหล่งต่างๆ รวมทั้งเว็บไซต์ต่างๆ ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย ทำให้
ทราบถึงแนวทางในการพัฒนาการประชาสัมพันธ์แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ของอนุสรณ์สถานแห่งชาติ
และแนวความคิดในการประชาสัมพันธ์แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ของอนุสรณ์สถานแห่งชาติผลจากการวิจัยพบว่า การพัฒนารูปแบบการประชาสัมพันธ์แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์
ของอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ควรดำเนินการทั้งในเรื่องของการพัฒนากระบวนการประชาสัมพันธ์ เน้น
ขั้นตอนของการประเมินผล และการพิจารณาใช้สื่อในการประชาสัมพันธ์ ต้องให้ความสำคัญกับสื่อ
บุคคลที่ต้องพัฒนาทักษะของการพูดโน้มน้าวจิตใจ สื่อสมัยใหม่ที่สาธารณชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย และ
สื่อกิจกรรมที่จะต้องเข้าไปดำเนินการในชุมชนให้มีส่วนร่วมในการประชาสัมพันธ์ ส่วนแนวความคิดและ
รูปแบบการประชาสัมพันธ์แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ของอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ที่จะทำให้ชุมชน
เข้ามามีส่วนร่วมคือการพัฒนาระดับของการสร้างบริบทในการมีส่วนร่วมของประชาชนใน ๓ ระดับ คือ
ระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค และระดับชาติ
ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย ในกระบวนการประชาสัมพันธ์ควรให้ความสำคัญในขั้นตอน
ของการประเมินผล เพื่อให้ทราบถึงปัญหาอุปสรรคของการดำเนินการ และควรจะพิจารณาศึกษาแนว
ทางการประชาสัมพันธ์บนสื่อสังคมออนไลน์(Social network) ผ่านแอพพลิเคชั่น (Application) บน
โทรศัพท์มือถือ (Smart Phone) ซึ่งเป็นการประชาสัมพันธ์ที่สามารถเข้าถึงสาธารณชนได้อย่าง
กว้างขวางและทั่วถึง
abstract:
Abstract
Title : The Development of Public Relations of History Learning
Resources of the National Memorial
By : Colonel Yuddhakorn Supharsoon
Major Field : Socio - Psychology
Research Advisor : Captain
(Rathachatr Buddhavacsiri)
July 2015
The research title The Development of Public Relations of History Learning
Resources of the National Memorial objectives to 1) Study concept, theory and Public
Relations Models, 2) Study Public Relations Models and implementation of the
National Memorial, 3) Study Public Relations development guidelines of Historical
Learning Resources of the National Memorial by Quantitative Research typed
Documentary Research and In-depth interview using Primary data from monitoring and
In-depth interview as well as Secondary data from official documents and academic
documents, theory concept from related research and websites. Benefits from the
research are the knowledge about Public Relations development guidelines of History
Learning Resources of the National Memorial and Public Relations concept of History
Learning Resources of the National Memorial.Result of the research revealed that the development of Public Relations
Models of the History Learning Resources of the National Memorial should be focusing
on the Public Relations development process by emphasizing evaluation process and
considering the use of media for Public Relations. The development should focus on
personal media which emphasizes speaking skills should be developed to be more
persuasive, on new media which can be easily accessed by the public and on media
activity which allows community to participate in the Public Relations. The Public
Relations concept and models of the History Learning Resources of the National
Memorial which will allow community to participate in the development can be
divided into 3 levels including local, regional and national levels.
Suggestion from the research is that, the Public Relations process should focus
on evaluation process to be able to realize the problems and obstacles of the
implementation and should consider using social network via application on Smart
Phone for the Public Relations which can easily be accessed by the public.