เรื่อง: บทเรียนจากต่างประเทศเพื่อการพัฒนากระบวนการบริหารจัดการงานด้านมาตรฐานทางทหารของกระทรวงกลาโหม,Lessons learned from leading Defense Standardization organizations to create suitable guidelines for MOD's Defense Standardization Program
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
ไม่ระบุ/not specified
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, น.อ. ปิยะ ศิริสุทธิ์
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2556
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
เปิดเผยเฉพาะบางส่วน (ไม่เปิดเผยเนื้อหา)
|
|
บทคัดย่อ:
บทคัดย่อ
เรื่อง : บทเรียนจากต่างประเทศเพื่อการพัฒนากระบวนการบริหารจัดการงาน
ด้านมาตรฐานทางทหารของกระทรวงกลาโหม
โดย : นาวาอากาศเอก ปิยะ ศิริสุทธิ์
สาขาวิชา : การทหาร, วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจัย : นาวาอากาศเอก
(ถาวร ส าอางค์ศรี)
กรกฏาคม ๒๕๕๘
การวิจัยเรื่องบทเรียนจากต่างประเทศเพื่อการพัฒนากระบวนการบริหารจัดการงานด้าน
มาตรฐานทาทหารของกระทรวงกลาโหม มีวัตถุประสงค์๑) เพื่อศึกษาแนวคิดการบริหารจัดการเรื่อง
การมาตรฐานทางทหารของต่างประเทศ ๒) เพื่อศึกษาการด าเนินการด้านมาตรฐานทางทหาร การ
มาตรฐานร่วมทางทหารโดย กบ.ทหาร รวมทั้งการด าเนินงานของ กมย.ทบ., กมย.ทร. และ กมย.ทอ.
และ ๓) เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนากระบวนการจัดการงานด้านการมาตรฐานทางทหารส าหรับ
กระทรวงกลาโหม ด้วยใช้บทเรียนจากองค์กรที่ท างานลักษณะเดียวกันในต่างประเทศ ขอบเขตของ
การวิจัย ให้ความสนใจในเรื่องของการมาตรฐาน(ร่วม)ทางทหารที่มีความสัมพันธ์กับวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี โดยการศึกษาหลักการและเหตุผลจากกระบวนการจัดการจากองค์กรด้านการมาตรฐานทาง
ทหารของต่างประเทศที่มีประสบการณ์มาอย่างยาวนาน รวมถึงวิเคราะห์การด าเนินงานของหน่วยใน
กห. เพื่อให้ได้แนวทางพัฒนาการบริหารจัดการงานด้านการมาตรฐานทางทหารที่เหมาะสมส าหรับ
กระทรวงกลาโหม ประโยชน์ส าคัญที่ได้จากงานวิจัยนี้คือ ๑) ท าให้ทราบถึงแนวคิดการบริหารจัดการ
เรื่องการมาตรฐานทางทหารของต่างประเทศ ๒) ท าให้ทราบถึงการด าเนินการด้านมาตรฐานทางทหาร
และการมาตรฐานร่วมทางทหารของ กห. และ ๓) ท าให้ทราบถึงแนวทางพัฒนากระบวนการจัดการงาน
ด้านการมาตรฐานทางทหารส าหรับ กห. ๔) ท าให้ได้ทราบถึงตัวอย่างงานที่สมควรจัดให้เป็นงานการ
มาตรฐานร่วมทางทหาร และข้อควรค านึงอื่นๆในแง่มุมที่เกี่ยวข้อง โดยวิธีการวิจัยประกอบด้วย
การศึกษาการด าเนินงานด้านมาตรฐานทางทหารในต่างประเทศที่มีประสบการณ์มาอย่างยาวนาน เช่น องค์กรนาโต สหรัฐอเมริกา เยอรมนี ฝรั่งเศส โปแลนด์ ที่ก้าวไปถึงขั้นใช้การมาตรฐานทางทหารเพื่อ
เสริมสร้างความสามารถปฏิบัติการร่วมหรือ interoperability มีการสัมภาษณ์บุคลากรใน กห. ที่มี
ประสบการณ์เพื่อหาข้อมูลในเรื่องของมาตรฐานทางทหารในแง่มุมที่แตกต่างกัน
ผลการวิเคราะห์สังเคราะห์ที่ได้คือองค์ความรู้ที่สามารถน าไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนางาน
มาตรฐานทางทหาร ได้แก่ ๑) ขอบเขตของงานมาตรฐานทางทหารที่ควรด าเนินการ และ ๒) รูปแบบ
การบริหารจัดการงานมาตรฐานทางทหารที่เห็นควรมี ซึ่งเป็นผลมาจากการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล
ทั้งหมดจากในและต่างประเทศดังกล่าว ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัยคืองานการมาตรฐานทางทหาร
เป็นงานที่ต้องมีความเข้าใจและยอมรับร่วมกัน เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ในทุกสาขา
งานทางทหาร ต้องมีการพัฒนาปรับปรุงเป็นระยะ ๆ ตามการเปลี่ยนแปลงของภัยคุกคามหรือเทคโนโลยี
จึงสมควรมีการบูรณการระบบงานมาตรฐานทางทหารของ กห. ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผลจากงานวิจัย
นี้สามารถประยุกต์ใช้ความคิดกับการด าเนินงานด้านนี้ของ กห. ได้ หากในอนาคตต้องการเน้นให้เกิด
ความสามารถด้านปฏิบัติการร่วมหรือ interoperability แล้ว ก็สมควรให้ความส าคัญกับการมาตรฐาน
ทางทหาร ซึ่งถือเป็นปัจจัยเสริมหนึ่งที่ส าคัญไม่น้อย หัวข้อการปฏิบัติการร่วม(interoperability)กับผล
จากการมีมาตรฐานทางทหาร(defense standardization) จึงอาจเป็นประเด็นส าหรับงานวิจัยใน
อนาคตABSTRACT
Title: Lessons learned from leading Defense Standardization organizations to create
suitable guidelines for MOD’s Defense Standardization Program
By: Group Captain Piya Sirisuth
Major Field: Military, Science and Technology
Research Advisor: Group Captain
(Thaworn Samangsri)
………………………………..
The objectives of this research “Lessons learned from leading Defense
Standardization organizations to create suitable guidelines for MOD’s Defense
Standardization Program” are: 1) to study reasons and concept behind defense
standardization program in countries with such complicated practices, 2) to study
works and related activities regarding military standardization in Thai military (MOD,
RTA, RTN, RTAF, RTArF), and 3) to determine management approach deemed suitable
for Thai Defense using lessons learned from countries/organization of interest. The
scope of this research aims at the (joint) defense standardization which should be
updated as needed depending on perceived requirements and evolving technology.
The researcher had conducted a detailed study of defense standardization policy and
related topics from countries with a rich history of said programs, including that within
the Thai defense.
Benefits gained from this research include the following: 1) know the policies
and requirements regarding defense standardization in foreign organization/countries
(NATO, USA, some European states) 2) know “Thai ways” of managing current defense
standardization within the Ministry of Defense 3) identify practical guidelines useful for
effective management of Thai MOD’s defense standardization program, and 4) Identify standardization works essential for the growth of MOD’s defense standardization.
Research methodology includes the study of defense requirements, Defense
Standardization concept and lessons from selected countries such as NATO, USA,
Germany, France, and Poland, together with the interviews of experienced military
officers in different viewpoints. In NATO and USA, defense standardization is considered
one of the key factors essential to the achievement of military interoperability.
Result from this research describes; 1) initiatives and works in the field of
defense standardization that should be brought into the Thai MOD, and 2) a proposed
model to be used as management concept for executing effective Thai defense
standardization program. Recommendation from this research is that defense
standardization requires common understanding and mutual acceptance by all
involved parties. It has a broad area of works, covering both tangible and intangible
aspects in military affairs. Military standards should be modified regularly in accordance
with new threats, upcoming requirements, or technological changes. Therefore,
effective management of Defense standardization can bring benefits to the Thai
Defense. If the military interoperability is the issue of concern in the future, defense
standardization cannot be avoided. Finally, the researcher recommends that the future
research topic should focus on “the effect of military standardization on
interoperability”.
abstract:
ไม่มี