เรื่อง: แนวทางการพัฒนาการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการตระหนักรู้ของประชาชนในการเข้าร่วมเป็นประชาคมอาเซียน ของกรมประชาสัมพันธ์ ,The Development of Public Relations Campaign to Raise Public Awareness of the ASEAN Community
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
ไม่ระบุ/not specified
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, นาง ปรีห์กมล ถนอมศักดิ์ชัย
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2556
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
เปิดเผยเฉพาะบางส่วน (ไม่เปิดเผยเนื้อหา)
|
|
บทคัดย่อ:
บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง : แนวทางการพัฒนาการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการตระหนักรู้ของประชาชนในการเข้าร่วม
เป็นประชาคมอาเซียน
โดย : นางปรีห์กมล ถนอมศักดิ์ชัย
สาขาวิชา : สังคมจิตวิทยา
อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจัย : พันเอก
(ชนินทร เฉลิมทรัพย์)
มิถุนายน ๒๕๕๘
การรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘ เป็นความเปลี่ยนแปลงที่ทุกภาคส่วนจะต้อง
ตระหนักและให้ความส าคัญกับการสร้างความพร้อมและความเข้มแข็งทั้งมิติด้านการเมืองและความมั่นคง
เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ส าหรับประเทศไทยการที่จะก้าวเข้าสู่การรวมตัวเป็น “ประชาคมอาเซียน”
สิ่งที่ต้องเตรียมพร้อมมากที่สุด คือ “เตรียมประชาชน” ให้ตื่นตัวและเตรียมความพร้อมอย่างจริงจัง
โดยเรียนรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนให้เกิดความเข้าใจ พัฒนาตัวเองให้สามารถประกอบอาชีพและด ารงอยู่
ในประชาคมอาเซียนได้อย่างมีคุณภาพและประสบความส าเร็จ การประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลข่าวสาร
เป็นเครื่องมือส าคัญที่จะท าให้ประชาชน รับรู้ และเข้าใจ เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนดังกล่าว แต่ในปัจจุบัน
การประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนยังไม่เป็นระบบด้วยความหลากหลายของเนื้อหา และช่องทาง
ที่ยังไม่ครอบคลุมทั่วถึง จึงท าให้ประชาชนยังไม่ตระหนักถึงผลประโยชน์ที่จะเกิดจากการรวมตัวเป็น
ประชาคมอาเซียนเท่าที่ควร
การศึกษาวิจัยเรื่อง “แนวทางการพัฒนาการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการตระหนักรู้ของประชาชน
ในการเข้าร่วมเป็นประชาคมอาเซียนของกรมประชาสัมพันธ์” นี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาการด าเนินงานของกรมประชาสัมพันธ์ในการสร้างการตระหนักรู้ของประชาชนในการเข้าร่วมเป็นประชาคมอาเซียน และเพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนางานดังกล่าวของกรมประชาสัมพันธ์
กระบวนการวิจัยประกอบด้วย การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิ การใช้ข้อมูลทุติยภูมิ คือ ข้อมูลจาก
เอกสารทางวิชาการ แนวคิดทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และใช้หลักการวิเคราะห์ SWOT
มาวิเคราะห์เสนอแนวทางการพัฒนาการประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างการตระหนักรู้ของประชาชนในการ
เข้าร่วมเป็นประชาคมอาเซียนของกรมประชาสัมพันธ์
ผลจากการศึกษาวิจัยพบว่า แนวทางการพัฒนาการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการตระหนักรู้ของ
ประชาชนในการเข้าร่วมเป็นประชาคมอาเซียนของกรมประชาสัมพันธ์ ในระดับนโยบาย ควรมีการจัดท า
แผนยุทธศาสตร์การประชาสัมพันธ์ที่มีการก าหนดวัตถุประสงค์ แผนงาน โครงการที่ชัดเจนเพื่อหลีกเลี่ยงการ
ด าเนินงานประชาสัมพันธ์ที่ซ้ าซ้อนของหน่วยงานต่าง ๆ และการขับเคลื่อนการด าเนินงานของคณะท างาน
ประชาสัมพันธ์อาเซียนระดับประเทศให้มีบทบาทในการก าหนดกรอบการประชาสัมพันธ์ประชาคมอาเซียน
มากขึ้นเพื่อให้มีการท างานแบบบูรณาการของทุกภาคส่วน ในระดับปฏิบัติการ ให้มีการจัดตั้งศูนย์
ประชาสัมพันธ์ประชาคมอาเซียน เพื่อผลิต รวบรวม และเผยแพร่ข้อมูลประชาคมอาเซียนทุกรูปแบบตามที่
ระบุในแผนยุทธศาสตร์ให้แก่ประชาชน รวมทั้งพัฒนาเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ของกรมประชาสัมพันธ์
ได้แก่สื่อมวลชนทั้งวิทยุ โทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ อาสาสมัครประชาสัมพันธ์ประจ าหมู่บ้านและชุมชน (อป.มช.)
ในส่วนกลางและภูมิภาคโดยการรักษาเครือข่ายที่มีอยู่และขยายเพิ่มเครือข่ายใหม่ เพื่อเป็นเครื่องมือในการ
ประชาสัมพันธ์สู่ประชาชนให้ครอบคลุมพื้นที่มากที่สุด สิ่งส าคัญที่จะสนับสนุนการประชาสัมพันธ์คือ
การพัฒนาบุคลาการของกรมประชาสัมพันธ์โดยเฉพาะที่ท างานเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนให้มีความรู้เรื่อง
ประชาคมอาเซียนและภาษาต่างประเทศพร้อมทั้งสร้างแรงจูงใจในการท างานตามกระบวนการพัฒนา
ทรัพยากรบุคคล
ทั้งนี้มีข้อเสนอแนะให้กรมประชาสัมพันธ์พัฒนาบทบาทเป็นหน่วยงานประชาสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์
เพื่อให้ค าปรึกษาด้านการประชาสัมพันธ์ และการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตระหนักรู้เกี่ยวกับการเข้าร่วม
เป็นประชาคมอาเซียนควรเน้นถึงประโยชน์ที่ได้รับ โดยประชาสัมพันธ์ในลักษณะซ้ า ๆ บ่อย ๆ เพื่อให้เกิด
การรับรู้ เข้าใจและมีทัศนคติที่ดีจนรู้สึกเป็นเจ้าของประชาคม
abstract:
ABSTRACT
Title : The Development of Public Relations Campaign to Raise Public
Awareness of the ASEAN Community
By : Mrs. Preekamol Thanomsakchai
Major Field : Socio – Psychology
Research Advisor : Group Captain
(Chanintorn Chalermsup)
July 2015
The establishment of an ASEAN Community in late 2015 will bring about
significant changes that all sectors need to realize and prepare for the new situation. They
also need to strengthen their society, in terms of political and security, economic, and
social and cultural aspects. In moving toward the “ASEAN Community,” Thailand must
place an emphasis on preparing its people, so that they become aware of ASEAN
integration and the need to learn more about ASEAN partners. Thai people must also be
equipped with knowledge and better understanding about the ASEAN Community in order
that they will develop themselves to live happily and successfully in the new
environments. Public relations campaigns, especially news and information dissemination,
are considered an important tool to broaden knowledge and create deeper understanding
of the ASEAN Community amongthe people.The present situation is that public relations
campaigns for the ASEAN Community have not yet been carried out in a systematic
manner. The content is still not diverse enough, while dissemination remains limited. As a
result, many people do not realize the benefits from being part of the ASEAN Community.The study on “The Development of Public Relations Campaign to Raise Public
Awareness of the ASEAN Community” is in the form of qualitative research. The objectives
are to study the implementation of the Government Public Relations Department (PRD) in
an effort to raise public awareness of the ASEAN Community and to study guidelines
adopted by PRD for developing this task. The research process consists of in-depth interviews
with experts, secondary data from academic researches, as well as concepts and theories
from related research studies. The SWOT analysis is also used to determine the guidelines
for developing public relations campaigns to raise public awareness of the ASEAN Community.
The results of this research show that the PRD guidelines for developing public
relations campaigns to raise public awareness of the ASEAN Community should be divided
into two levels. At the policy level,a public relations strategic plan should be formulated,
with clear objectives, work plans and projects in order to avoid the duplication of work
among various agencies. Moreover, the National Public Relations Working Group on the
ASEAN Community should play a greater role in setting the public relations framework for
integrated operations of all related sectors. At the operational level, the ASEAN Community
Information Center should be established in order to produce, collect, and disseminate
information to the public in all forms, as specified in the strategic plan. The public relations
networks of PRD, which include radio, television, and print media, as well as village and
community public relations volunteers, both in the central and the regional administrations,
should be further developed. By so doing, the existing networks should be maintained,
while new networks should be expanded, so that they become effective mechanisms for
public relations work and cover as many areas as possible. More importantly, PRD personnel,
especially those responsible for ASEAN affairs, should be developed, so that they have in-depth
knowledge about the ASEAN Community and are equipped with language skills. They should
also be motivated to work actively in accordance with the human resource development
process.The study suggests that PRD should develop its role as a PR strategic agency to
provide media and communication consultancy in order to promote public awareness of
the participation in the ASEAN Community. Emphasis should be placed on the benefits
from ASEAN integration and participation in the ASEAN Community. The campaigns should
also be conducted frequently in a repetitive manner, so that PRD will achieve its goal of
promoting ASEAN awareness and a sense of community through deeper understanding
and good attitudes toward the ASEAN Community among the general public.