Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการพัฒนาระบบการลำเลียงทางอากาศเพื่อรองรับปฏิบัติการ,ที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลางของกองทัพอากาศ,Guidelines for Development of Air Transport System ,to Serve Network Centric Operations (NCO) of the Royal Thai Air Force

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
ไม่ระบุ/not specified
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, น.อ. ตากเพชร พินพันธุ์
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
ปีที่พิมพ์:
2556
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
เปิดเผยเฉพาะบางส่วน (ไม่เปิดเผยเนื้อหา)

บทคัดย่อ:

บทคัดย่อ ชื่อเรื่อง : แนวทางการพัฒนาระบบการลำเลียงทางอากาศเพื่อรองรับปฏิบัติการที่ใช้เครือข่าย เป็นศูนย์กลางของกองทัพอากาศ โดย : นาวาอากาศเอก ตากเพชร พินพันธุ์ สาขาวิชา : การทหาร อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจัย : พันเอก (ณัฐพัชร์ หลักทรัพย์) มิถุนายน ๒๕๕๘ กองลำเลียงทางอากาศ กรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ มีหน าที่เตรียมการประสานงาน กํากับการ ควบคุม เกี่ยวกับการลําเลียงทางอากาศ ซึ่งการลําเลียงทางอากาศ (Airlift) เป นภารกิจ ทางด้านสนับสนุนการรบ และมิใช่การรบ การขนส งกําลังพล และยุทธภัณฑ ทางอากาศ เพื่อให เกิดผลสําเร็จตั้งแต ระดับยุทธวิธีจนถึงระดับยุทธศาสตร์ปฏิบัติการด วยความรวดเร็วและเคลื่อนย า ย ด วยความอ อนตัว เพื่อตอบสนองและปฏิบัติตามสภาวะแวดล อมและภายในเวลาที่กำหนด ร ว ม ถึ ง ก า ร ช วยเหลือทางด านมนุษยชนและภัยพิบัติทางธรรมชาติการส งกลับทางสายแพทย ทางอากาศ การสนับสนุนการปฏิบัติการพิเศษ ตลอดจน พระบรมวงศานุวงศ ทุกพระองค์แต่อากาศยานลำเลียง ของ ทอ. มีจำนวนจํากัดต้องบริหารภารกิจของ บ.ลําเลียงให เกิดประโยชน สูงสุด รวมถึงเจตนา ร ม ณ ข อ ง ผู บัญชาการทหารอากาศ ที่ได กําหนดไว ในนโยบายผู บัญชาการทหารอากาศ พ.ศ.๒๕๕๘ เป็น ก้าวสำคัญตามทิศทางยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ พ.ศ.๒๕๕๑-๒๕๖๒ ซึ่งมีวิสัยทัศน์มุ่งสู่ “กองทัพอากาศ ชั้นนำในภูมิภาค (ONE OF THE BEST AIR FORCE IN ASEAN)” ทั้งนี้ในปี๒๕๕๘ ซึ่งเป็นปีสุดท้ายใน ก้าวที่สองของการเป็นกองทัพอากาศที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (Network Centric Air Force : NCAF) โดยสานต่อนโยบายเดิม เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ และกำหนดจุดเน้นเชิงนโยบายที่มีความสำคัญเร่งด่วน เพื่อให้บรรลุจุดเป้าหมายในระยะที่ ๒ อีกทั้งยังเป็นการเตรียมการเพื่อเปลี่ยนผ่านมุ่งสู่ “กองทัพอากาศ ชั้นนำในภูมิภาค” การพัฒนากองทัพอากาศที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลางนั้น จะต องพัฒนาทั้ง ๖ องค ประกอบ อย างสมดุลได แก การบัญชาการและควบคุม (Command and Control) ระบบ ต ร ว จ จั บ (Sensor) ผู้ปฏิบัติ/หน วยปฏิบัติ (Shooter) เครือข าย (Network) ระบบสนับสนุนและบริการ (Support and Services) และทรัพยากรบุคคลและองค์การ (Human and Organization) เพื่อพัฒนาศักยภาพ และขีดความสามารถของกองทัพอากาศให้สามารถปฏิบัติการรบและปฏิบัติการที่มิใช่การรบและ ปฏิบัติการที่มิใช่การรบตอบสนองต่อภัยคุกคามในทุกรูปแบบรวมถึงภัยธรรมชาติที่มีแนวโน้มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม การพัฒนาคงอยู่ภายใต้ข้อจำกัดด้านทรัพยากร และงบประมาณนั้น กองทัพอากาศจะเร่ง เสริมสร้างคุณภาพกำลังพลทุกระดับให้มีความรู้ความสามารถทันกับความเปลี่ยนแปลง และสามารถ ปฏิบัติงานได้อย่างมืออาชีพตามมาตรฐานสากล อนึ่งเพื่อให้การขับเคลื่อนแผนงานตามนโยบายผู้ บั ญ ช า ก า ร ทหารอากาศ พ.ศ.๒๕๕๘ บรรลุผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม จึงกำหนดให้มีหน่วยรับผิดชอบนโยบาย แต่ละด้านอย่างชัดเจน และให้รายงานความก้าวหน้าพร้อมข้อเสนอแนะในทุกไตรมาส งานวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ ๑. เพื่อศึกษาความพร้อม และวิธีการบริหารจัดการในภารกิจการลำเลียงทางอากาศ ของ กองทัพอากาศในปัจจุบัน ๒. เพื่อศึกษาแนวคิดการปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (NCO) ของกองทัพอากาศ ๓. เพื่อหาแนวทางการพัฒนาระบบการลำเลียงทางอากาศ เพื่อรองรับการปฏิบัติการที่ใช้ เครือข่ายเป็นศูนย์กลางของกองทัพอากาศ (NCO) ในปี พ.ศ.๒๕๕๘ วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) กล่าวคือเป็นทั้งแบบเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และเชิงคุณภาพ (In-depth interview) สรุปผลการวิจัย แท้จริงแล้วการปฏิบัติงานบางประการที่ยังไม่สามารถดำเนินการให้เป็นระบบ ที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลางได้ กล่าวคือ ระบบการ รับ-ส่ง ข้อมูลข่าวสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภารกิจ ที่เกี่ยวกับการลำเลียงทางอากาศที่มีหน่วยเกี่ยวข้องหลายหน่วยที่สำคัญ กล่าวคือ ภารกิจเดโชชัย (พระบรมวงศานุวงศ์), สำนักนายกรัฐมนตรี, กระทรวงกลาโหม, กองทัพอากาศ และอื่น ๆ โดยเฉลี่ยแล้ว มีการรับส่งข้อมูลเดือนละ ประมาณ ๔๐๒ ฉบับ และมีส่วนเกี่ยวข้องที่เป็นปัจจัยสำคัญที่อาจทำให้ข้อมูล ล่าช้า, คลาดเคลื่อนและผิดพลาดได้ คือ ปัจจัยมนุษย์, อุปกรณ์เครื่องมือ-เครื่องใช้ และสภาวะทั่วไป ข้อเสนอแนะ ในการวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาระบบการลำเลียงทางอากาศเพื่อรองรับการ ปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลางของกองทัพอากาศ (NCO) ซึ่งผู้วิจัยได้ทำมาอย่างต่อเนื่องตลอด เป็นระยะเวลา ๘ เดือน จึงพบว่าผลจากการวิจัยนั้นน่าจะมีประโยชน์ต่อกองทัพอากาศ อย่างไรก็ดี ผู้วิจัยขอเสนอแนะใน ๓ ประเด็น ดังต่อไปนี้ ๑. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายข้อค้นพบจากการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ในการกำหนดยุทธศาสตร์หรือระบบการลำเลียง ทางอากาศ ที่สอดคล้องกับการปฏิบัติที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (NCO) ซึ่งนโยบายของผู้บัญชาการ ทหารอากาศ ได้กำหนดไว้อย่างชัดเจน หากแต่งานวิจัยฉบับนี้ได้เน้นย้ำถึงความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ จริง ดังนั้นหากแนวทางการพัฒนาระบบการลำเลียงทางอากาศเพื่อรองรับปฏิบัติการที่ใช้เครือข่าย เป็นศูนย์กลางของกองทัพอากาศ ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นนี้มีโอกาสนำไปใช้กำหนดเชิงนโยบายแล้ว จะทำ ให้ระบบการลำเลียงทางอากาศมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถสนับสนุนนโยบายของ ผู้บัญชาการทหารอากาศ พ.ศ.๒๕๕๘ อันมีผลทำให้กองทัพอากาศสามารถมุ่งสู่ยุทธศาสตร์การเป็น กองทัพอากาศชั้นนำในภูมิภาคได้ในที่สุด ๒. ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้จริง จากข้อค้นพบในการวิจัยระบบการลำเลียงทางอากาศเพื่อรองรับปฏิบัติการที่ใช้เครือข่าย เป็นศูนย์กลางของกองทัพอากาศนั้น หากต้องการนำไปใช้จริงควรจะศึกษารายละเอียดในแต่ละ ประเด็น เช่น หน่วยที่เกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจต่อระบบใหม่แค่ไหน อีกทั้งกำลังพลมีความพร้อมใน ระดับใด ซึ่งหมายความว่า อาจต้องมีการฝึกอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานต่อไป สิ่งที่ สำคัญคือ จะต้องมีผู้ดูแลระบบดังกล่าว ๓. ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยในอนาคต ๓.๑ ควรศึกษาระบบการลำเลียงทางอากาศ รองรับปฏิบัติการใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง ของกองทัพอากาศ ในภาวะวิกฤต หรือในภาวะที่กรอบเวลาไม่แน่นอน เช่น เมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติต่าง ๆ ๓.๒ ควรทำวิจัยในประเด็นความมั่นคงปลอดภัย เช่น ความลับ ความมั่นคง ความปลอดภัย ฯลฯ ในระบบการลำเลียงทางอากาศเพื่อรองรับปฏิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง ของกองทัพอากาศ เนื่องจากงานวิจัยนี้ยังไม่ได้ลงในรายละเอียดของประเด็นมากนัก ๓.๓ ควรวิจัยในเชิงเศรษฐศาสตร์ อาทิ ประเด็นในด้านความคุ้มค่าต่อการดำเนินงาน การซ่อมบำรุง รวมทั้ง ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในกองทัพอากาศในอนาคต ๓.๔ ควรวิจัยในประเด็น ความเชื่อมั่น และการยอมรับแนวทางการพัฒนาการลำเลียง ทางอากาศแนวใหม่นี้ว่า กำลังพลในกองทัพอากาศจะยอมรับระบบนี้มากน้อยแค่ไหน ทั้งนี้เพื่อความ ยั่งยืนของการพัฒนาและความคงอยู่ของระบบใหม่ ๓.๕ ควรวิจัยในประเด็นความเสี่ยงในระบบการลำเลียงทางอากาศเพื่อรองรับปฏิบัติการ ที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลางของกองทัพอากาศ เนื่องจากระบบนี้ทำงานภายใต้การปฏิบัติโดยใช้ เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง ดังนั้นระบบเครือข่ายฯ ต้องมีความเสถียร คงทน และมีความเชื่อถือได้สูง อีกทั้ง การวิเคราะห์ประเมินความเสี่ยง ระดับความเสี่ยงที่กองทัพอากาศจะยอมรับได้ จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ ควรได้รับการวิจัยต่อยอดเพื่อหาคำตอบABSTRACT Title : Guidelines for Development of Air Transportation System to Serve Network Centric Operations (NCO) of the Royal Thai Air Force By : Group Captain Takpetch Pinpan Major Field : Military Science Research Advisor : Colonel (Nattapat Hlaksap) June 2015 Mission of Air Transportation Division of the Directorate of Air Operation Controlare to prepare, conduct, and control of airlift operation. This mission can be both combat support and non-combat support including troop and weapon transportation by air. In order to achieve desired end state at both strategy and tactical level, Air Transportation Division has to rapidly and flexibly execute air transport to response to complexity of environment and time constraint.Its missions are also included humanitarian assistance operations, disaster relief operations, air medevac, and special operation support. Furthermore, Air Transportation Division has been tasked to honorable mission to support royal family. However, the Royal Thai Air Force owns limited number of aircrafts to support all those mission, managing to utilize those aircraft is required. Beside required missions, the Commander in Chief of the Royal Thai Air Force has declared an important pace policy in 2015 to achieve RTAF’s Vision for 2008-2019 which states that RTAF will be “One of the best air forces in ASEAN” in 2019. Nowadays, the second phase of this vision is to drive the RTAF to be Network Centric Air Force: NCAF. In order to be NCAF, the RTAF needs to continue execution of previous policy and enhance current policy to accomplish goal of this phase and transition to be “One of the best air forces in ASEAN”. In order to be NCAF, the RTAF need to develop and balance six important componentswhich are Command and Control, Sensor, Shooter, Network, Support and Services, and Human and Organization.Therefore development and enhancement of combat and non-combat readiness are essential to response to any threat including increasing natural disaster. Although, the development will remain under limited resources and budget, the RTAF still needed to enhance the quality of personnel at all levels to be able to keep up with the changes and to perform professionally in accordance with international standards. In order to execute the policy-driven plans, clearly set up a unit responsible for each policy’s components is required, as well as a progress report with recommendations on a quarterly basis. The objectives of this research are as follows: 1. To determine the availability and management practices in the existing mission conveyed by the RTAF Air Force.2. To studythe concept of network-centric operations (NCO) of the RTAF. 3. To define course of action for the development of the air transportation system to support network-centric operations of the RTAF (NCO) in 2019. Research Methodology This research is designed to be mixed methods research which adopt from both quantitativeand qualitative method research as well as In-depth interview. Research Result The result of this research shows that some operations cannot be practically integrated into a network-centric system such as information interchange; especially the mission which is involved many important units to provide transport for royal family, Prime Minister's Office, Ministry of Defense, and the RTAF.An average information exchange per month is approximately 402 copies. Important factors that could cause delay, distort, and error are human, equipment, and general conditions. Recommendations From the results of this study which is benefit to the RTAF, there are three recommendations for the RTAF. 1. Policy recommendation Findings from this research can be applied in determiningstrategy and air transportation system to synchronize with Network Centric Operation(NCO), which is clearly stated in the policy of the Chief of the RTAF. However, this research has emphasized the possibilities of practical NCO. If the guideline that the researcher has developed is included into an RTAF policy, it will make air transportation system more effectiveness, as well as support policy of the Chief of the RTAFto eventually reach the state of “One of the Best Air Forces in ASEAN”. 2. Recommended practice Findings from this research can be applied to current operations but it should be studied in detail for each issue, such as understanding of involved unit on how the new system works, level of personnel readiness which may be needed more training to prepare for the future operation, and lastly administrator of this system. 3. Recommendations for future research. 3.1 The next research can study Air Transportation System serving Network Centric Operations (NCO) under crisis, uncertainty conditions, and time limitation such as time during natural disasters.3.2 Due to less detail of this research, the next research possiblyinvestigates moreon confidentiality, security, stability, and safety of the air transportation system to support network-centric operations of the RTAF. 3.3 Economics perspective of the air transportation system can be a good research topic, including cost-benefit analysis and effect on future operation of the RTAF. 3.4 The next research can study in probing confidence and acceptance of RTAF personnel on the new system to ensure the sustainability of the development and persistence of the new system. 3.5 Risk of the new system can be researched due to network-centric operations has to be run under stable, durable and high reliability network. The acceptable level of risk is essential to operate the new system.

abstract:

ไม่มี