เรื่อง: การส่งเสริมคุณภาพชีวิตของกองพันทหารราบที่ 7 กรมทหารราบที่ 3 กองพลนาวิกโยธิน,Promoting Quality of Life of 7 th infantry Battalion,3 rd Regiment, Marine Division
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
ไม่ระบุ/not specified
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, น.อ. กัมปนาท สิงห์อุดม ร.น.
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2556
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
เปิดเผยเฉพาะบางส่วน (ไม่เปิดเผยเนื้อหา)
|
|
บทคัดย่อ:
บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง : การศึกษาคุณภาพชีวิตในการทำงานของกำลังพล กองพันทหารราบที่ ๗
กรมทหารราบที่ ๓ กองพลนาวิกโยธิน
โดย : นาวาเอก กัมปนาท สิงห์อุดม
สาขาวิชา : สังคมจิตวิทยา
อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจัย : นาวาอากาศเอก
(อำนวย สมวงศ์)
มิถุนายน ๒๕๕๘
การมุ่งเน้นพัฒนาคนไทยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีเป็นเป้าหมายที่สำคัญของประเทศใน
ปัจจุบัน การมีคุณภาพชีวิตที่ดี จะส่งผลที่ดีต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานด้วย ดังนั้น องค์การหรือ
หน่วยงานต่างๆ จึงต้องเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานจะเกี่ยวกับการทำงานของ
บุคคล ทั้งสภาพแวดล้อมทางกายภาพของการทำงาน สภาพแวดล้อมทางสังคมในองค์การ ระบบ
บริหารและความสัมพันธ์ระหว่างชีวิตทั้งใน เวลาทำงานและนอกเวลาทำงาน ให้ได้รับการ
ตอบสนองความต้องการ หรือความคาดหวังจากการทำงาน และเกิดความพึงพอใจในงาน มี
ความสุขใน การท ำงาน โดยการน ำหลัก ปรัชญาของเศรษ ฐกิจพ อเพีย ง เป็น ปรัชญ าที่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตให้แก่พสกนิกร
ชาวไทย มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน ซึ่งกองพันทหารราบที่ ๗ ที่เป็นหน่วยกำลัง
รบหลักของหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน จำเป็นที่จะต้องศึกษาหาแนวทางในการพัฒนาคุณภาพ
ชีวิตในการทำงาน เพื่อเพิ่มขวัญและกำลังใจของกำลังพล กองพันทหารราบที่ ๗ กรมทหารราบที่ ๓
กองพลนาวิกโยธิน มิให้เกิดความเสื่อมถอย หรือย่อหย่อนต่อการปฏิบัติหน้าที่จนส่งผลกระทบต่อ
ความสำเร็จต่อภารกิจของกองทัพเรือโดยรวม อันจะก่อให้เกิดผลดีต่อการปฏิบัติงานอย่างมี
ประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผล ส่งผลต่อชื่อเสียงของทหารนาวิกโยธินกองทัพเรือต่อไป
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ร่วมกับการวิจัย
เชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตใน
การทำงานและศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของกำลังพล กองพันทหารราบที่ ๗ กรมทหารราบที่ ๓ กองพลนาวิกโยธิน ประชากรที่ใช้การ
วิจัยเชิงปริมาณ คือ กำลังพล กองพันทหารราบที่ ๗ กรมทหารราบที่ ๓ กองพลนาวิกโยธิน รวม
จำนวน ๑๙๓ คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ คือ ตัวแทนกำลังพล กองพัน
ทหารราบที่ ๗ กรมทหารราบที่ ๓ กองพลนาวิกโยธิน จำนวน ๑๔ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
การวิจัยเชิงปริมาณ คือ ความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตในการทำงาน ของกำลังพล กองพัน
ทหารราบที่ ๗ กรมทหารราบที่ ๓ กองพลนาวิกโยธิน มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า ๕
ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการสัมภาษณ์กลุ่ม (Focus Group Discussion) และ
สัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) โดยเป็นคำถามที่มีโครงสร้าง ในประเด็นความรู้ ความ
เข้าใจ และการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน
ตามพอเพียงเกณฑ์การพิจารณาคุณภาพชีวิตในการทำงาน ๘ ด้าน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
(Content analysis) ความสัมพันธ์ของการพัฒนาคุณภาพชีวิตกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ผนวกกับข้อมูลทุติยภูมิและนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการบรรยาย
ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นเรื่องคุณภาพชีวิตในการทำงานตามเกณฑ์การพิจารณา
๘ ด้านของกำลังพล กองพันทหารราบที่ ๗ กรมทหารราบที่ ๓ กองพลนาวิกโยธิน พบว่า อยู่ใน
ระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการคำนึงถึงความเป็นประโยชน์ต่อสังคม มีค่าเฉลี่ย
สูงสุด รองลงมา คือ ด้านสภาพการทำงานที่มีความปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ ส่วนด้านการได้รับ
ค่าตอบแทนที่พอเพียงและยุติธรรม มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด และกำลังพลมีความรู้ ความเข้าใจในปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาดำเนินชีวิตประจำวัน และใน
การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานนั้น มีความคิดเห็นว่า การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน
ควรยึดแนวทางตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการดำเนินชีวิต ซึ่งจะส่งผลต่อการ
พัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานด้วย เพราะคุณประโยชน์ที่แท้จริงของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
นั้น จะการสร้างเสริมชีวิตที่ดี มีความสุข นำไปสู่สังคมสันติสุขอย่างยั่งยืน โดยตระหนักถึงความ
พอประมาณ ความมีเหตุมีผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดีและนำแนวทางตามปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงมาพิจารณาในการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานตามเกณฑ์การพิจารณา ๘ ด้าน คือ
๑) ด้านการได้รับค่าตอบแทนที่พอเพียงและยุติธรรม ๒) ด้านโอกาสในการพัฒนาสมรรถภาพของตนเอง
๓) ด้านความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นและการทำงานร่วมกัน ๔) ด้านธรรมนูญในองค์การ ๕) ด้านความ
สมดุลระหว่างชีวิตงานกับชีวิตด้านอื่น ๖) ด้านสภาพการทำงานที่มีความปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ
๗) ด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน และ ๘) ด้านการคำนึงถึงความเป็นประโยชน์ต่อสังคม
ซึ่งมีข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิบัติคือ ควรมีการกระตุ้นให้หน่วยทหารซึ่งเป็นชุมชนหนึ่ง ให้
ดำเนินการตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงต่อเนื่องอย่างเป็นประจำสม่ำเสมอจนกลายเป็น
ส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต โดยนำแนวคิดมาประยุกต์ใช้ในด้านต่าง ๆ โดยพื้นฐาน คือ การพึ่งตนเอง เป็นหลัก การทำอะไรอย่างเป็นขั้นตอน รอบคอบ ระมัดระวัง พิจารณาถึงความพอดี พอเหมาะ พอควร ความ
สมเหตุสมผล และการพร้อมรับความเปลี่ยนแปลง การสร้างสามัคคีให้เกิดขึ้นบนพื้นฐานของความสมดุล
ในแต่ละสัดส่วนแต่ละระดับ ครอบคลุมทั้งทางด้านจิตใจ สังคม เทคโนโลยี ทรัพยากรธรรมชาติ และ
สิ่งแวดล้อม รวมถึงทางด้านเศรษฐกิจและข้อเสนอแนะในการทำวิจัย คือ ควรมีการศึกษาปัจจัยที่ส่งผล
ต่อการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานให้ประสบ
ความสำเร็จ และควรมีการพัฒนารูปแบบของการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการ
พัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานในหน่วยทหาร เพื่อเป็นต้นแบบให้กับหน่วยทหารหน่วยอื่นๆ ต่อไป
ภาคผนวก
abstract:
ค
ABSTRACT
Title : Promoting Quality of Life of 7 th infantry Battalion,3rd
Regiment, Marine Division
By : Captain Kampanart Singudom, RTN.
Major Field : Social Science
Research Advisor : Group Captain
(Amnuay Somwong)
July 2015
Promoting quality of life for thai people is the ultimate goal for our nation.
Quality of life also effects quality of work life. Organization or unit have to strengthen and
develop quality of work life which most concern with personal work include physical work
environment, social environment, management system and relationship between life in and
out of office in order to serve the need or work expectation which will bring job satisfaction,
happy with the work by using sufficiency economy Initiative. Sufficiency economy is initiated
by King Rama IX to advise the way for thai peoplein order to have a good quality of work life.
7 th infantry Battalion, main unit for Marine division, have to find the way to develop
quality of work life in order to enhance morale of 7 th infantry Battalion, 3rd Regiment,
Marine Division. This morale enhancement help to increase working efficiency and
effectiveness which will be effect the glorious of Marine division, Royal Thai Navy.
This work is a mixture between quantitative and qualitative research. The
objective is first, to study factors which have influenced on good quality of work life.
Second, find the way to develop quality of work life using sufficiency economy Initiative.
This research used 193 marines from 7 th infantry Battalion, 3rd Regiment, Marine
Division for quantitative study. This research also used 14 marines from the same unit for
qualitative research. The quantitative research tool is opinions about quality of work ง
life from 7 th infantry Battalion, 3rd Regiment, Marine Division, using five-level scale.
Statistics use in this research are percentage, mean and standard deviation. Tools
used in qualitative research are focus group discussion and In-depth Interview, using
questions about knowledge and how to use sufficiency economy Initiative in order to
develop quality of work life according to quality of work life in eighth items, do content
analysis, relationship between quality of life and sufficiency economy Initiative. This research
also utilizes the secondary data and have discussion on data analysis.
From this research, it is found that opinions about quality of work life from
7 th infantry Battalion, 3rd Regiment, Marine Division is in good level. When consider
in each aspect, the social relevance of work life has highest rate, follow by safe and
healthy working conditions and adequate and fair compensation has lowest rate. All
personnel have knowledge about sufficiency economy Initiative and have opinion that
promoting quality of work life should be based on sufficiency economy Initiative because
sufficiency economy Initiative aim people to have better life, happiness which lead to better
and sustainable societies by considered 3 aspects, sufficiency, reasonable and self-immunity
and use sufficiency economy Initiative in order to promote quality of work life according to
eight aspects as follows : 1) adequate and fair compensation 2) safe and healthy
working conditions 3) immediate opportunity to use and develop human capacities
4) opportunity for continued growth and security 5) social integration in the work
organisation 6) Constitutionalisation in the work organisation 7) Work and the total
life span 8) the social relevance of work life
Suggestion for this research is to urge this Battalion to continue practicing
sufficiency economy Initiative to be part of their life. Suggestion for the next research is to find
factors that have influenced when using sufficiency economy Initiative to promote a
successful quality of work life and to develop patterns to use sufficiency economy Initiative
to promote quality of work life in this Battalion to be prototype for other military units.