เรื่อง: การศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้ระบบอากาศยานไร้คนขับของกองทัพอากาศกับการบรรเทาสาธารณภัย ,Study on the Application of the Royal Thai Air Force's Unmanned Aircraft Systems for Disaster Relief.
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
ไม่ระบุ/not specified
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, น.อ. ฐานันดร์ ทิพเวส
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2556
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
เปิดเผยเฉพาะบางส่วน (ไม่เปิดเผยเนื้อหา)
|
|
บทคัดย่อ:
บทคัดย่อ
เรื่อง : การศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้ระบบอากาศยานไร้คนขับของกองทัพอากาศกับ
การบรรเทาสาธารณภัย
โดย : นาวาอากาศเอก ฐานันดร์ ทิพเวส
สาขาวิชา : การทหาร
อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจัย : นาวาเอก
(ปิยะ อาจมุงคุณ)
กรกฎาคม ๒๕๕๘
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาแนวทางในการประยุกต์ใช้ระบบอากาศยานไร้
คนขับของกองทัพอากาศกับการบรรเทาสาธารณภัย โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบบวิจัยเอกสาร
ประกอบการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิ ๓ ท่าน คือ เจ้ากรมยุทธการทหารอากาศ เจ้ากรมกิจการ
พลเรือนทหารอากาศ (เลขานุการศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพอากาศ) และผู้แทนกรมป้องกันและ
บรรเทาสาธารณภัย รวมทั้งใช้ข้อมูลทุติยภูมิคือ ข้อมูลที่ได้จากเอกสารวิชาการ แนวคิด ทฤษฏี และ
จากผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลโดยการค้นคว้าจากแหล่งต่างๆ มาวิเคราะห์แนว
ทางการใช้งานระบบอากาศยานไร้คนขับกับงานด้านบรรเทาสาธารณภัย
ผลจากการศึกษาวิจัยพบว่า การประยุกต์ใช้ระบบอากาศยานไร้คนขับของกองทัพอากาศ
กับการบรรเทาสาธารณภัยมีแนวโน้มและโอกาสความเป็นไปได้สูงมาก เนื่องจากกรมป้องกันและ
บรรเทาสาธารณภัยมีแนวความคิดที่จะนำอากาศยานไร้คนขับมาช่วยในปฏิบัติงานด้านบรรเทาสา
ธารณภัยและได้บรรจุอยู่ในแผนเรียบร้อยแล้ว หากแต่ยังมีข้อจำกัดด้านงบประมาณ ดังนั้นข้อมูลการ
วิเคราะห์การประยุกต์ใช้ระบบอากาศยานไร้คนขับของกองทัพอากาศ ด้านสมรรถนะและขีด
ความสามารถครอบคลุมพื้นที่การปฏิบัติการรวมถึงความอ่อนตัว กับการใช้งานด้านบรรเทาสาธารณภัย ๑๔ ประเภท (ตามตารางที่ ๔.๓) จะเป็นประโยชน์ต่อการนำมาใช้งานในอนาคตอย่างยิ่ง ซึ่ง
สามารถแบ่งการใช้ระบบอากาศยานไร้คนขับกับงานด้านการบรรเทาสาธารณภัย โดยจัดเป็นกลุ่มๆ
ตามลักษณะของสาธารณภัยได้ ๔ กลุ่ม คือ
ภัยกลุ่มที่ ๑ สาธารณภัยกลุ่มนี้เหมาะสมในการใช้ระบบอากาศยานไร้คนขับที่มีสมรรถนะ
และขีดความสามารถ สูง – ปานกลาง จำนวน ๖ ประเภท คือ อุทกภัยและดินโคลนถล่ม ภัยจากพายุ
หมุนเขตร้อน ภัยแล้ง ภัยจากไฟป่าและหมอกควัน ภัยจากแผ่นดินไหวและอาคารถล่ม ภัยจาก
คลื่นสึนามิ
ภัยกลุ่มที่ ๒ สาธารณภัยกลุ่มนี้เหมาะสมในการใช้ระบบอากาศยานไร้คนขับที่มีสมรรถนะ
และขีดความสามารถ ปานกลาง – จำกัด จำนวน ๓ ประเภท คือ ภัยจากอัคคีภัย ภัยจากสารเคมีและ
วัตถุอันตราย ภัยจากการคมนาคมและขนส่ง
ภัยกลุ่มที่ ๓ ไม่มีความคุ้นเคย จำนวน ๓ ประเภท คือ ภัยจากโรคระบาดในมนุษย์ ภัย
จากโรค แมลง สัตว์ ศัตรูพืชระบาด ภัยจากโรคระบาดสัตว์และสัตว์น้ำ
ภัยกลุ่มที่ ๔ ไม่มีความเหมาะสม จำนวน ๒ ประเภท คือ ภัยจากอากาศหนาว และภัย
จากเทคโนโลยีสารสนเทศ
ข้อเสนอแนะที่ได้รับจากการวิจัย เนื่องจากมีขีดจำกัดการจัดสรรงบประมาณในปัจจุบัน
ขณะที่การใช้ระบบอากาศยานไร้คนขับในงานด้านบรรเทาสาธารณภัยต้องมีความพร้อมและใช้
ทรัพยากรจำนวนมาก ดังนั้นจึงควรเป็นโครงการความร่วมมือแบบบูรณาการจาก ๓ หน่วยงานหลัก
คือ กระทรวงมหาดไทย กองทัพอากาศ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยควรมีจัดตั้งในรูป
คณะกรรมการเพื่อศึกษารวบรวมข้อมูล แบ่งมอบอำนาจ หน้าที่ รวมทั้งนำเสนอขออนุมัติงบประมาณ
จากรัฐบาลและควรมีการวางแผนในการฝึกซ้อมร่วมกันก่อนการปฏิบัติภารกิจแบบ Single Manager
เนื่องจากมีหลายหน่วยงานนำระบบอากาศยานไร้คนขับมาใช้งาน นอกจากนั้นการพิจารณาใช้ระบบ
อากาศยานไร้คนขับควรคำนึงถึงความปลอดภัยของทั้งอากาศยาน ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
และทรัพย์สินของทางราชการ กรณีเกิดอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ผิดปกติด้วยABSTRACT
Title : Study on the Application of the Royal Thai Air Force’s
Unmanned Aircraft Systems for Disaster relief
By : Group Captain Thanan Thipawes
Major Field : Military
Research Advisor: Captain
(Piya Atmungkun)
July 2015
The objective of the study was to explore the application of the Royal
Thai Air Force Unmanned Aircraft Systems for Disaster relief. The research is
qualitative and documentary. It consists of the in – depth interviews with 3 experts,
namely, Director of Operations, Director of Civil Affairs (Secretary of the RTAF Disaster
Relief Center), and Representative of the Disaster Prevention and Mitigation
Department. It also uses secondary data acquired from academic documents, ideas,
theories, and other related researches. This secondary data are collected through the
searches from various sources, and subsequently analyzed to obtain the usage
guidelines for further application with the Royal Thai Air Force Unmanned Aircraft
Systems for Disaster relief.
The findings indicated that the application of the unmanned aircraft systems for disaster relief inclines to be highly possible because of the idea from the
Disaster Prevention and Mitigation Department to employ such unmanned aircraft
systems in support of the disaster mitigation and to be ready for the actions. Such
possibility is facing the challenge in the budget constraint. Therefore, the data
analysis applications of the performance and capability of the unmanned aircraft
systems cover many areas of operations, including the ability to use with the
mitigations which are categorized into 14 types. This will render high benefits for the
future implementation. The application of the unmanned aircraft systems for
disaster relief can be used with 4 major groups of public dangers:
1. The first group of public dangers consists of 6 particular categories:
floods and mudslides, danger from tropical hurricanes, drought, danger from wildfire
and smoke, danger from the earthquake, and danger from tsunami. This group is
suitable for applying unmanned aircraft systems that are high-medium performance
and capacity.
2. The second group consists of 3 particular categories: danger from fire,
danger from the chemical and hazardous materials, and danger from the
transportation and shipment. This group is suitable for applying unmanned aircraft
systems that are medium-limited performance and capacity.
3. The third group also consists of 3 particular categories: danger from the
epidemic in humans; danger from disease, insect, animals, and pest outbreaks; and
danger from the epidemics in animal and marine life. There is no familiarity with this
group.
4. The fourth group consists of 2 categories: danger from the cold and
danger from the information technology. This group is not suitable for applying
unmanned aircraft systems.
Suggestions from the study is that while using this unmanned aircraft
systems, one must be prepared and ready to use a lot of resources because there is
a limit to the current budget allocation. Hence, this project should be integrated
cooperation from the 3 main government sectors: The Ministry of Interior, The Royal
Thai Air Force, and the Disaster Prevention and Mitigation Department. There should
be a group of Committee who gather information and assign authority. The committee should also propose budget allocation approved by the Government,
and should plan to work together before work as a Single Task Manager because
there are a number of government sectors using this unmanned aircraft systems as
well. In addition, one should take into consideration of the security of the entire
aircraft, the lives of people, the private property, and the state property in case of an
accident or abnormal event.
ภาคผนวก
abstract:
ไม่มี