เรื่อง: การบูรณาการงานด้านความมั่นคงภายในรองรับภัยคุกคามรูปแบบใหม่เมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ศึกษาเฉพาะกรณีแรงงานต่างด้าว,Integration of Internal Security Operations Against Non-traditional Threats for Entering ASEAN Community In The Case Of Foreign Workers
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
ไม่ระบุ/not specified
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, พ.อ. จัตุรงค์ จันทรนนท์
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2556
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
เปิดเผยเฉพาะบางส่วน (ไม่เปิดเผยเนื้อหา)
|
|
บทคัดย่อ:
บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง : การบูรณาการงานด้านความมั่นคงภายในรองรับภัยคุกคามรูปแบบใหม่
เมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ศึกษาเฉพาะกรณีแรงงานต่างด้าว
Integration of Internal Security Operations Against
Non-traditional Threats for Entering ASEAN Community in
The Case of Foreign Workers
โดย : พันเอก จัตุรงค์ จันทรนนท์
สาขาวิชา : การทหาร (การรักษาความมั่นคงภายใน)
อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจัย : นาวาอากาศเอก
( กำพล ลิปิกรณ์ )
กรกฎาคม ๒๕๕๘
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ ถึงผลกระทบที่ประเทศไทยจะได้รับ
เมื่อต้องเผชิญกับภัยคุกคามรูปแบบใหม่ โดยได้มีการทบทวนถึงอำนาจหน้าที่ของกองอำนวยการรักษา
ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร รวมถึงบทบาทอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ องค์กรต่าง ๆ ที่
เกี่ยวข้องต่อการเตรียมการรองรับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภัยคุกคามดังกล่าว โดยให้ความสำคัญเฉพาะ
กรณีของปัญหาที่เกิดจากแรงงานต่างด้าว เมื่อประเทศไทยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขเมื่อเข้าสู่การเป็น
ประชาคมอาเซียนในปลายปี ๒๕๕๘ ซึ่งปัญหาดังกล่าวนั้นจากการศึกษาพบว่ามีแนวโน้มที่จะทวีความ
รุนแรงมากขึ้นในอนาคต เนื่องจากการแข่งขันด้านเศรษฐกิจอย่างรุนแรงภายใต้กระแสโลกาวิวัฒน์ ส่งผล
ให้การย้ายถิ่นของประชากรโลกและภูมิภาคมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประกอบกับแนวโน้มสถานการณ์ใน
ประเทศเพื่อนบ้านซึ่งยังคงมีปัญหาทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมการเมือง ความขัดแย้งทางศาสนา และ
กลุ่มชาติพันธุ์ ส่งผลให้มีผู้อพยพหนีภัยความรุนแรงและแสวงหาชีวิตที่ดีกว่าอย่างต่อเนื่อง จึงอาจ
คาดการณ์ได้ว่า ในระยะต่อไปจะมีการเคลื่อนย้ายประชากรจากประเทศเพื่อนบ้านและประเทศอื่น ๆ เข้าสู่ประเทศไทยมากขึ้น ทั้งโดยถูกกฎหมายและการลักลอบเข้าเมือง ในขณะที่ประเทศไทยยังไม่
สามารถแก้ปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองกลุ่มตกค้างได้สำเร็จ ทำให้ปัญหาดังกล่าวมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น
ดังนั้น จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องเร่งแก้ไขปัญหา เนื่องจากส่งผลกระทบอย่างสูงต่อความมั่นคง
ของประเทศ ปัญหาดังกล่าวนับเป็นปัญหาที่มีความซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์แก้ปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองทั้งระบบ โดยให้กองอำนวยการ
รักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เป็นหน่วยงานหลักในการประสานการปฏิบัติ ติดตาม และ
ประเมินผลงานตามยุทธศาสตร์ฯ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม
การแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบและอาศัยการบูรณาการในการ
แก้ไขปัญหาที่สำคัญจะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อบรรลุผลลัพธ์
คือประโยชน์ของชาติภายใต้ความสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคง และสิทธิมนุษยชน ซึ่งผู้วิจัยเองได้
ปฏิบัติงานและเห็นถึงปัญหา อุปสรรค จึงได้พยายามรวบรวมข้อมูล ข้อคิดเห็นของทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง
เพื่อนนำไปสู่การบูรณาการในการรองรับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นต่อไป
ทั้งนี้ การจัดทำเอกสารวิจัยฉบับนี้นั้น ผู้วิจัยได้อ้างอิงถึงแนวคิดทฤษฎีโดยเน้นต่อเรื่องการ
บริหารงานเพื่อนำไปสู่การบูรณาการในการบริหารจัดการในการแก้ไขปัญหาของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
โดยเฉพาะกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ได้มีการศึกษาจากงานเอกสารวิจัยของ
นักศึกษาหรือนักวิชาการที่ศึกษาในเรื่องที่ใกล้เคียงกัน และได้มีการสัมภาษณ์ ขอรับข้อมูลเพิ่มเติม
รวมถึงข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์จากผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งสามารถนำไปสู่การสรุปผลการวิจัยที่อาจเป็นอีก
แนวทางหนึ่งเพื่อใช้เป็นแนวทางในการบูรณาการงานด้านความมั่นคงภายในที่อาจได้รับผลกระทบจาก
ปัญหาแรงงานต่างด้าวที่เคลื่อนย้ายเข้ามาสู่ประเทศไทยในอนาคต ภายหลังจากที่ประเทศไทยเข้าสู่
ประชาคมอาเซียนแล้วต่อไป
abstract:
ABSTRACT
Title : Integration of Internal Security Operations Against
Non-traditional Threats for Entering ASEAN Community in
The Case of Foreign Workers
By : Colonel Chatturong Chantaranont
Major Field : Military (Internal Security)
Research Advisor : Group Captain
( Kumpol Lipikorn )
July 2015
This research is aimed to critically study the effect of the latest non-traditional
threats to Thailand. The authority and function of the Internal Security Operations
Command is reviewed in the research, as well as examining the role of the government
sector and other related organizations in preparing to support the effect arisen from the
threats. The research is focused on the case of foreign workers as Thailand must follow
the terms and agreement when joining the Asian Economic Community at the end of
2015. The study has shown that this issue will be more severe in the future due to the
intense economic competition, under the current globalization, tends to increase the global
and regional population movement. In addition to this, the existing situations in the
neighboring countries (i.e. economics, socio-politics, religious conflicts, and ethnic groups)
have caused more people to continue to migrate from violence and search for a better
life. It could be predicted that, in the next phase, there will be a massive movement of
population from the neighboring countries and other countries both legally and by
smuggling to Thailand. Since Thailand is still unable to solve the issue about the existing
smugglers, this could deepen the issue. Thus, an urgent need to solve the issue is proposed otherwise there will be a huge impact on the internal security of the nation. It is
considered as a complicated issue and involved various authorities.
The cabinet agreed to use the strategy in solving the smuggling problem to the
entire system. By letting the Internal Security Operations Command as a main unit in
cooperating, following-up, and evaluating the outcome according to the strategy, it would
result in a more efficient way to solve the smuggling problem. Though, to solve the
problem efficiency, it needs to be followed systematically and integrated with the
cooperation from all sectors, including both government and business sector, in order to
reach the goal of the national benefit under the balance in economics, security, and
human rights. Furthermore, the researcher also operated in the field work and perceived
some problems and obstructions, and tried to collect data and opinions from all the
involved sectors, which leading to the integration to support the problems that might occur
in the future.
Thus, this research refers to theories coping with the integrated administration in
problem-solving of the involved government specifically to the Internal Security Operations
Command. The research also includes research study of other related issues, interviews,
additional information and useful suggestions from senior experts. These lead to the
conclusion that this research could be a guide to integrate the administration of the
Internal Security Operations Command that might be affected from the future problems
about the movement of foreign workers to Thailand after joining the AEC.