Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: ความท้าทายการป้องกันภัยคุกคามรูปแบบใหม่ตามแนวชายแดนของกองทัพภาคที่ 2 ในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (APSC),The Challenges of non-traditional threat along borderline of 2nd Army Area for SAEAN Political - Security Connunity - ASC

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
ไม่ระบุ/not specified
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, พ.อ. เกียรติศักดิ์ วิเวก
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
ปีที่พิมพ์:
2555
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
เปิดเผยเฉพาะบางส่วน (ไม่เปิดเผยเนื้อหา)

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง : ความท้าทายการป้องกันภัยคุกคามรูปแบบใหม่ตามแนวชายแดนกองทัพภาคที่ ๒ ในการเข้าสู่ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (APSC) โดย : พันเอก เกียรติศักดิ์ วิเวก สาขาวิชา : การทหาร อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจัย : นาวาอากาศเอก ( สิทธิพิชัย บุนนาค) กรกฎาคม ๒๕๕๗ ในปี พ.ศ.๒๕๕๘ ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งจะทำให้ประเทศสมาชิกเกิด ความร่วมมือทั้งในด้านการเมือง, เศรษฐกิจ, สังคม และวัฒนธรรม เพื่อช่วยส่งเสริมให้ประชาชนใน ภูมิภาคมีสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในเวทีระหว่างประเทศ โดย สนับสนุนการรวมตัว และร่วมมืออย่างรอบด้านในสามเสาหลักของประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย ๑) ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ๒) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ ๓) ประชาคม สังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในสามเสาหลักนั้นนอกจากหมายถึงโอกาสของประเทศสมาชิกแล้ว ยังหมายถึง ภัยคุกคาม โดยเฉพาะในด้านความมั่นคงที่อาจตามมาสู่ประเทศสมาชิก คือ ภัยคุกคามใน รูปแบบดั้งเดิม อันมาจากความขัดแย้งโดยตรงระหว่างรัฐต่อรัฐ และภัยคุกคามรูปแบบใหม่ที่เกิดจาก ฝีมือของมนุษย์นั้น มีผลหรือมีอิทธิพลต่อความมั่นคงและความมีเสถียรภาพของรัฐ กองทัพภาคที่ ๒ ซึ่ง เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในเสาหลักด้านประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน จะต้อง ตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น และพัฒนาความพร้อมที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลง ดังกล่าวข การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิ ๕ ท่าน คือ รองแม่ทัพภาคที่ ๒, เสนาธิการกองทัพภาคที่ ๒, ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ ๓, เสนาธิการศูนย์ต่อสู้เอาชนะยาเสพติดตามแนวชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และผู้อำนวยการ กองข่าวกองทัพภาคที่ ๒ รวมทั้งใช้ข้อมูลทุติยภูมิ คือ ข้อมูลที่ได้จากเอกสารทางวิชาการ แนวคิด ทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลโดยค้นคว้าจากแหล่งต่างๆ มาวิเคราะห์ กำหนดแนวทางในการป้องกันภัยคุกคามรูปแบบใหม่ตามแนวชายแดนของกองทัพภาคที่ ๒ ในการ เข้าสู่ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ผลจากการศึกษาวิจัยพบว่า สถิติการจับกุมการกระทำผิดในห้วงที่ผ่านมาแนวโน้มการ กระทำผิดสูงขึ้น และจะทวีความรุนแรงมากขึ้น จึงต้องมีการวางแผน และบูรณาการหน่วยงาน ทุกภาคส่วน รวมทั้งประชาชนตามแนวชายแดนในการบริหารจัดการการป้องกันและแก้ไขปัญหา อย่างเป็นองค์รวม ในส่วนของกองทัพภาคต้องมีการพัฒนาเสริมสร้างกำลังกองทัพ และปรับปรุง แนวทางการป้องกันชายแดนให้พร้อมปกป้องบูรณภาพแห่งดินแดนอธิปไตย และผลประโยชน์แห่งชาติ โดยมีการเตรียมกำลังให้มีความพร้อมในทุกด้านจากทรัพยากรที่มีอยู่ และจำเป็นต้องได้รับการ สนับสนุนจากหน่วยเหนือบางส่วน เช่น อาวุธยุทโธปกรณ์ที่ขาดอัตรา, เครื่องมือที่มีความทันสมัย, กรอบแนวทางในการปฏิบัติงานในภารกิจต่างๆ และการผลักดันความร่วมมือจากทุกภาคส่วน รวมทั้ง แนวทางในการปฏิบัติงานที่จำเป็นต้องได้รับอนุมัติจากหน่วยเหนือ ในด้านการเตรียมความพร้อมของ ราษฎรตามแนวชายแดนในการป้องกันภัยคุกคามรูปแบบใหม่เป็นสิ่งสำคัญที่จะกระทำควบคู่กันไป เพื่อให้ประชาชนรู้ว่าเมื่อประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแล้วมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง แล้วให้ ประชาชนมีส่วนร่วมในลักษณะการระเบิดจากภายใน การสร้างความเชื่อมโยงและส่งเสริมการจัดตั้ง ประชาคมการเมือง และความมั่นคงอาเซียน เป็นการป้องกันตั้งแต่ต้นเหตุที่ทุกหน่วยงานจะต้อง ประสานสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านให้มีความไว้เนื้อเชื่อใจ แต่หากเกิดปัญหา หน่วยงานต่างๆ จะต้องร่วมกันปฏิบัติงานแบบบูรณาการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการพื้นที่ตามแนว ชายแดนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้กองกำลังป้องกันชายแดนเป็นหน่วยรับผิดชอบหลักในการ บริหารจัดการพื้นที่ที่มีภูมิประเทศยากลำบาก สำหรับในพื้นที่ชุมชนและช่องทางผ่านแดนต่างๆ ให้ เป็นความรับผิดชอบของหน่วยงานอื่นๆ

abstract:

ค ABSTRACT Title : The Challenges in the prevention of the Non-Traditional Threats along the border of the 2nd Army Area in supporting of ASEAN Political -Security Community (APSC) By : Colonel Kiattisak Wewek Major Field : Military Research Advisor : Group Captain ( Sittipichai Bunnak) July 2014 In 2015, Thailand will become a part of ASEAN Community, which will enable the cooperation among the Member States in political, economic, social and cultural aspects. This will promote the improvement of the living of the people along with stable economy in the international arena. This can be achieved through the collective cooperation among the three pillars of the ASEAN Community, namely, 1) the ASEAN Political-Security Community, 2) the ASEAN Economic Community and 3) the ASEAN Socio Cultural Community. These three pillars do not only mean opportunity, but also threats for the Member States, specifically security threats. These threats include Traditional Security threats, originated from government-to￾government conflicts, as well as Non-Traditional Security threats, deriving from humans and impact the security and stability of the state. The 2nd Army Area, which is one of the important parts of the ASEAN Political-Security Community, must realize the changes of the future and develop its readiness to cope with the changes. This is a qualitative research, utilizing in-depth interviews of 5 experts, Deputy Commander of 2nd Army Area, Chief of Staff of 2nd Army Area, Commanding General of the 3rd Infantry Division, Chief of Staff of Narcotics Operation Center along The North-Eastern Borders and Chief of Intelligence Division of the 2nd Army Area. This research also utilizes the secondary ง data from previous academic researches, concepts and theories from related researches. These data are analyzed and used to determine the approaches for prevention of prevention of the Non-Traditional Threats along the border of the 2nd Army Area in supporting of ASEAN Political -Security Community (APSC) From this research, it is found that, statistically, the tread of the arrests has recently been increased in number as well as the level of violence. This is therefore, required planning and integration among all organizations in various aspects as well as the citizens along the border, in order to manage the prevention and solve the problem systematically. As for the 2 nd Army Area, the development of the troops and the improvement of the border protection are needed in order to collectively protect the sovereignty and the national interest. The troops and personnel are to be prepared with all available resources and ready in anytime. It is also required the support from the higher units for lack of equipment, advanced tools, operational frameworks for various operations as well as supporting cooperation from all sectors. This would also include the necessary operational approaches from the higher units required for approval. The preparation of the people along the borders is also very vital and needed to be carried out simultaneously. This is to ensure that the people are aware of the upcoming changes once the ASEAN Community has arrived and get the people to be involved from within. The establishment of networks and supporting of the APSC is the solution for the root cause, which every organization has to coordinate among the Member States, creating the confidence building among us. However, if issues occur, all various organizations have to be integrated in order to increase the capability in management of the various geographically rough areas along the borders. As for residential areas and immigration check points are the responsibility of other organizations.