บทคัดย่อ
เรื่อง : แนวทางการพัฒนาเด็กออทิสติก โดยวิธีอาชาบำบัด
โดย : พันเอก อารัมภ์ อังศุเศรณี
สาขาวิชา : สังคมจิตวิทยา
อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจัย : นาวาอากาศเอก
( เอนก สุขวิลัย )
จากข้อมูลของสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีที่ทำการเผยแพร่ในงานวิจัยทางวิชาการ
พบว่าปัจจุบันในประเทศไทย มีเด็กออทิสติกเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นปัญหาสังคมที่สำคัญส่งผล
ให้เกิดภาระกับผู้ปกครอง หรือ บิดา, มารดา ต้องดูแลเด็กออทิสติกนี้ไปจนตลอดชีวิต นับว่าเป็น
การสูญเสียทั้งทางด้าน เศรษฐกิจ ทรัพยากร รวมถึงเป็นการบั่นทอนจิตใจของบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
อีกด้วย
กรมการสัตว์ทหารบกเป็นหน่วยขึ้นตรงของกองทัพบก ซึ่งมีภารกิจหลักในด้านการผลิต และ
ใช้งานสัตว์ทางทหารของกองทัพบก มีม้าปลดประจำการเป็นจำนวนมากที่ไม่สามารถนำไปปฏิบัติ
ภารกิจทางทหารได้ แต่ต้องเลี้ยงดูไปจนสิ้นอายุขัย จึงพิจารณาใช้ประโยชน์ด้วยการนำมาช่วยในการ
บำบัดรักษาเด็กออทิสติก โดยหน่วยทำการศึกษาถึงการพัฒนาทักษะความสามารถทางด้านร่างกาย
ด้านจิตใจ อารมณ์และการสื่อสารของเด็กออทิสติก ที่เข้าร่วมโครงการอาชาบำบัด และได้มีการ
พัฒนารูปแบบของกิจกรรมบำบัดในลักษณะบูรณาการ รวมทั้งมีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดย
แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ผู้ปกครอง มีการทำการประเมินทักษะร่วมกับหน่วยงานทางวิชาการ
ที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนากิจกรรมในโครงการอาชาบำบัดให้มีประสิทธิผลต่อไป
จากการประเมินทักษะ และความสามารถของเด็กออทิสติกที่มาเข้าร่วมโครงการอาชาบำบัด
พบว่าเด็กมีพัฒนาการทางด้านร่างกายที่ดีขึ้น มีการปรับบุคลิกภาพทางการเคลื่อนไหว มีความแข็งแรง
ของกล้ามเนื้อเพิ่มมากขึ้น มีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น มีการปรับเปลี่ยนทางพฤติกรรม และอารมณ์
แสดงให้เห็นว่ามีพัฒนาการทางทักษะด้านกระบวนการ และทักษะด้านการสื่อสารที่ดีขึ้น ซึ่งพัฒนาการ
ดังกล่าวส่งเสริมให้เด็กออทิสติกมีการเจริญเติบโตทางวุฒิภาวะ ทำให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข พร้อมกันนี้ผู้ศึกษาวิจัยได้มีข้อเสนอแนะ สำหรับการพัฒนาการดำเนินโครงการอาชาบำบัดให้
มีประสิทธิผลเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เป็นโครงการที่มีการพัฒนาแบบยั่งยืนแสดงออกถึงความรับผิดชอบ
ต่อสังคมส่วนรวม ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเป็นอีกบทบาทหนึ่งที่แสดงออกภายใต้ศักยภาพที่สามารถ
ดำเนินการได้ของกรมการสัตว์ทหารบก นั่นเอง
Abstract
Title Development for Autistic Child by Hippotherapy
Field Psychological Society
Name Colonel Aram Angsuseranee Course JSC Class 55
It is revealed in Queen Sirikit National Institute of Child Health published paper
that number of Thai people who fall in autistic syndrome class is soaring each year.
Due to their disability the autistic child require assistance for entire of their life. This
is a kind of economics burden and mind depressing of their family and associated
people.
Veterinary and Remount Department is a department of Royal Thai army
whose main mission is the training and utilization of animal such as horse for army
affair. There is a number of retired horses each year. These horses are however
treated by Veterinary and Remount Department for their remaining life. As a result
these horses are then used as a tool in a pilot project of curing the autistic child.
During the “horse curing” course, improvement of patients both physical, mental
and communication ability are investigated then the curing activities are modified
subjected to the integrated results. To verify the idea questionnaires are issued to
associated people and the answers are then used to enhance the efficiency of the
project.Performances of the autistic child who attended the program are examined.
It is shown that in terms of physical ability the student who passed the course have
physical improvements. The child has more self confidence and behavior. Also the
maturity of the student can be observed. From point of view of the researcher horse
curing programme is a promising method to apply with the autistic people.
คำนำ
ปัจจุบันในประเทศไทยพบเด็กออทิสติกเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก จากข้อมูลของสถาบัน
สุขภาพเด็กแห่งชาติ มหาราชินี ที่ทำการเผยแพร่ในงานวิจัยทางวิชาการ ได้ทำการศึกษาแนวโน้มของ
เด็กออทิสติกพบว่ามีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาสังคมที่สำคัญส่งผลให้เกิดภาระกับผู้ปกครอง หรือ บิดา,
มารดา ต้องดูแลเด็กออทิสติกนี้ไปจนตลอดชีวิต นับว่าเป็นการสูญเสียทั้งทางด้าน เศรษฐกิจ
ทรัพยากร รวมถึงเป็นการบั่นทอนจิตใจของบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องอีกด้วย
ครอบครัวไทยที่มีสมาชิก หรือเยาวชนในครอบครัวเป็นเด็กออทิสติก จำเป็นต้องมีการดูแล
ช่วยเหลือเป็นพิเศษ ทั้งในด้านการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ และการเข้าสังคม จะเห็นได้ว่ากิจกรรมใน
โครงการอาชาบำบัดเป็นกิจกรรมหนึ่งที่สามารถช่วยในการพัฒนาเด็กออทิสติก ให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้น
กรมการสัตว์ทหารบก ซึ่งเป็นหน่วยขึ้นตรงของกองทัพบกที่มีศักยภาพ และความพร้อมในการใช้ม้าปลด
ประจำการของหน่วย ในการที่จะนำมาช่วยทำการรักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพให้กับเด็กออทิสติกที่มี
ปัญหาทางด้านกายภาพ และช่วยปรับเปลี่ยนทางพฤติกรรม อารมณ์ และสภาพจิตใจ ลดความก้าวร้าว
ช่วยให้มีสมาธิ มีความรัก และเมตตาต่อสัตว์ อีกทั้งยังสร้างความอบอุ่น ความผูกพันให้กับครอบครัว
ส่งเสริมสถาบันครอบครัวให้มีความเข็มแข็งได้เป็นอย่างดี
การศึกษาวิจัยเรื่อง “แนวทางการพัฒนาเด็กออทิสติก โดยวิธีอาชาบำบัด” นี้จัดทำขึ้น
เพื่อศึกษาถึงแนวทางการพัฒนาทักษะ ความสามารถของเด็กออทิสติก และแนวทางการปฏิบัติในกิจกรรม
อาชาบำบัด ยังรวมถึงแนวทางการพัฒนาโครงการอาชาบำบัด เพื่อให้เป็นโครงการที่มีการพัฒนาแบบ
ยั่งยืน เป็นตัวอย่างให้หน่วยงานภาครัฐ หรือหน่วยงานราชการในภาคส่วนอื่นนำไปเป็นแบบอย่าง โดยให้ส่วนราชการอื่นๆ เลือกทำงานที่หน่วยตนเองถนัด หรือมีศักยภาพที่จะสามารถปฏิบัติได้ในการ
แสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม (Social Responsibility)ซึ่งเป็นการบริหารจัดการ
ภาครัฐแนวใหม่ (NPM : New Public Management) อีกด้วย
ผู้ศึกษาวิจัยขอกราบขอบคุณคณาจารย์ทุกท่านที่ได้กรุณาให้คำปรึกษา แนะนำ จนงานวิจัย
ฉบับนี้สำเร็จลุล่วงตรงตามความประสงค์ทุกประการ
พันเอก
( อารัมภ์ อังศุเศรณี )
นักศึกษาวิทยาลัยเสนธิการทหาร รุ่นที่ ๕๕
ผู้วิจัย
กิตติกรรมประกาศ
เอกสารวิจัยส่วนบุคคลฉบับนี้ สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยความอนุเคราะห์และความกรุณา
อย่างสูงจากคณาจารย์ที่ปรึกษา วิทยาลัยเสนาธิการทหาร ในการให้คำแนะนำ คำปรึกษา และแก้ไข
แนวทางการจัดทำเอกสารวิจัยให้ถูกต้องสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาวิจัยในครั้งนี้
เป็นอย่างยิ่ง ผู้ศึกษาวิจัยจึงขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้
ขอขอบพระคุณ
- พลตรี บุญสันติ แสนสวัสดิ์ รองเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก (อดีตเจ้ากรมการสัตว์
ทหารบก/ ผู้ร่วมก่อตั้งโครงการอาชาบำบัด) ที่ได้กรุณาให้คำแนะนำ แนวทาง และวิธีในการ
ดำเนินการอันเป็นประโยชน์ต่อเอกสารวิจัยส่วนบุคคลฉบับนี้เป็นอย่างยิ่ง
- พลตรี ชาติชาย อ่อนน่วม เจ้ากรมการสัตว์ทหารบก (ในปัจจุบัน) ที่ได้กรุณาให้
ข้อคิดเห็นอันเป็นประโยชน์ต่อเอกสารวิจัยส่วนบุคคลฉบับนี้รวมถึงอนุมัติให้ผู้ศึกษาวิจัยเข้า
ดำเนินการเก็บข้อมูลสำหรับใช้ในการวิจัยภายในกรมการสัตว์ทหารบกด้วยดี- พันเอก มนัส โหย่งไทย หัวหน้ากองกำลังพล กรมการสัตว์ทหารบก (นายทหาร
ควบคุมโครงการอาชาบำบัด) ที่ได้ให้ความร่วมมือ และข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดทำเอกสารวิจัย
เป็นอย่างดี
- พันเอก ธราธร แจ้งพลอย นายทหารกำกับดูแลในการฝึกสอน และการดำเนิน
โครงการอาชาบำบัด ที่ได้ให้ข้อมูล และรายละเอียดต่างๆ สำหรับการจัดทำเอกสารวิจัยฉบับนี้
ขอขอบคุณกำลังพลของกรมการสัตว์ทหารบกทุกท่านที่ได้กรุณาให้ข้อมูล ที่เป็นประโยชน์
สำหรับการทำเอกสารวิจัยฉบับนี้ จนสำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ทุกประการ
พันเอก
( อารัมภ์ อังศุเศรณี )
นักศึกษาวิทยาลัยเสนธิการทหาร รุ่นที่ ๕๕
ผู้วิจัย