เรื่อง: การพัฒนาระบบสำนักงานอัตโนมัติ (SMART-Office) สำหรับกองทัพในยุคดิจิตอล,Development of SMART office System for Digital RTARF Headquarter
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
ไม่ระบุ/not specified
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, พ.อ. อัทธาธร บูรณากาญจน์
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2555
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
เปิดเผยเฉพาะบางส่วน (ไม่เปิดเผยเนื้อหา)
|
|
บทคัดย่อ:
บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง : การพัฒนาระบบสำนักงานอัจฉริยะ (SMART-Office) สำหรับ
กองทัพ ในยุคดิจิตอล
โดย : พันเอก อัทธาธร บูรณากาญจน์
สาขาวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจัย : นาวาอากาศเอก
(กำพล ลิมปิกรณ์)
กรกฎาคม ๒๕๕๗
เอกสารวิจัยฉบับนี้ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับ “การพัฒนาระบบสำนักงานอัจฉริยะ
(SMART-Office) สำหรับกองทัพในยุคดิจิตอล” ซึ่งเป็นการนำเสนอวิวัฒนาการ และแนวทางการ
พัฒนาระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของกองทัพ ปัญหาข้อขัดข้องในการนำเอาระบบ
สารสนเทศเข้ามาใช้งาน นำเสนอแนวทางในการแก้ปัญหา เพื่อให้เห็นถึงการพัฒนาระบบงานต่างๆ
เพื่อตอบสนองกับการทำงานในรูปแบบใหม่ๆ ที่ต้องการความรวดเร็ว ความแม่นยำ ความถูกต้องของ
ข้อมูล และความต่อเนื่องของระบบ เพื่อประกันการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด
ก็สามารถทำงานได้ตลอดเวลา ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานั้น จะทำให้เราสามารถพัฒนาต่อยอดให้มี
มาตรฐานที่ทุกภาคส่วนให้การยอมรับ มีตัวชี้วัดที่เป็นรูปธรรม ในตอนท้ายจะเป็นรูปแบบของ
สำนักงานอัจฉริยะตามที่ผู้วิจัยคิดว่าควรจะประกอบด้วยระบบอะไรบ้าง โดยยึดถืองานตามภารกิจ
ของผู้วิจัยเป็นหลัก ซึ่งการนำไปใช้ในหน่วยงานต่างๆ ก็คงต้องปรับรูปแบบให้เหมาะสมตาม
สภาพแวดล้อมของหน่วยที่เป็นอยู่ เพื่อให้ผู้ที่อยู่ในสำนักงานนี้มีความรู้สึกมีส่วนร่วมในการออกแบบ
และมีส่วนในการสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เอื้อประโยชน์ต่อการทำงานมากที่สุด
ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาระบบสำนักงานอัจฉริยะนั้น ถ้าจะให้สมบูรณ์และมี
ประสิทธิภาพ ผู้บังคับบัญชาจะต้องมีวิสัยทัศน์ บุคคลากรภายในสำนักงานจะต้องมีความรู้
ความสามารถในการใช้เครื่องมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศต้องมีการปรับตัวและกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง
ตัวเองอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้เข้ากับวัฒนธรรม และสภาพแวดล้อมในการทำงานในรูปแบบใหม่ๆสำหรับข้อเสนอแนะ สรุปได้ดังนี้
๑. การพัฒนาระบบสารสนเทศและการสื่อสารของกองทัพ ยังต้องมีการพัฒนาอย่าง
ต่อเนื่องเพื่อให้สามารถใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งจำเป็นต้องมีบุคลากรที่มี
ความรู้ความสามารถ ในด้านนี้เพิ่มมากขึ้น เพราะปัจจุบันมีความสำคัญมากกับทุกๆ ระบบงานของ
แต่ละหน่วยงาน หน่วยสามารถออกแบบโปรแกรมให้เหมาะสมกับงานตามภารกิจและสภาพแวดล้อม
ในการทำงาน โดยเฉพาะมีการนำอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาใช้แต่คงต้องพิจารณาถึง
ความจำเป็นและความคุ้มค่าให้มาก เนื่องจากอุปกรณ์บางชิ้นมาราคาค่อนข้างสูง ควรสร้างหรือพัฒนา
จากจุดเล็กๆ ในการทำงานให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและเห็นคุณค่าในการทำงานของบุคลากรใน
หน่วยงานเป็นสำคัญ สร้างความสุขในการทำงานเพื่อประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีขึ้น
๒. ระบบสำนักงานอัจฉริยะนี้ จะมีองค์ประกอบสำหรับการทำงานในอนาคตที่สมบูรณ์
แบบ มีความรวดเร็ว ถูกต้อง น่าเชื่อถือ และ ทันเวลา ซึ่งจะประกอบไปด้วย เครื่องมือ เทคโนโลยี
ระบบงาน และ บุคลากร ส่วนสนับสนุนก็จะเป็นเรื่องงบประมาณ ความพอเพียง ความต่อเนื่อง และ
การประกันความสำเร็จของระบบ การจัดทำระบบสำนักงานอัจฉริยะนี้ เป็นงานแบบใหม่ที่มีความท้า
ทาย มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการทำงาน มีการใช้งบประมาณในการลงทุนด้านโครงสร้าง
พื้นฐานก่อน แล้วจึงมาพัฒนากระบวนการในการบริหารจัดการ พัฒนากระบวนการคิด โดยใช้
เครื่องมือหรือเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่เข้ามาเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
abstract:
ABSTRACT
Title : Development of SMART Office System for Digital RTARF
Headquarter
By : Colonel Arttartorn Buranakarn
Major Field : Science and Technology
Research Advisor : Group Captain
(Kumpol Lipikorn)
July 2014
This research article describes “SMART Office” for the digital army which
proposes advanced theoretical concept regarding the management of the new
organization where information and communication technologies have been applied
to army systems. This is to help deal effectively with the rapidly growing new types
of threats for the country. In addition, this will also facilitate the army acts to protect
the benefits of the country for the wealth of the people in the country. This
proposal conforms with the country master policy on information technology and
communication from the ministry of information technology and communication. It
demonstrates the development and the conceptual idea on how this information
technology and communication of the army was employed to identify and solve the
problems. With this technology, the problems could be dealt with more effectively,
accurately, and rapidly. The technique could be used remotely and continuously
which enhances the broadly recognized standard with workable indicators. At the
end, the author proposes the generic structure of the SMART Office which could be
further applied with associate adjustment to various organizations to ensure the
participation of their officers which will lead to the most ergonomic environment in
those organizations.
Recommendations can be summarized as follows.1. A complete “SMART Office” needs a leader with visions where officers
need to have basic knowledge on the use of information technology. Certain
adjustments to the continual changes in this field will be necessary to cope with the
changes in culture and environment.
2. Structure of effective “SMART Office” includes tools, technology,
workplace, work system, and people. Supporting requirements are budget,
sufficiency, continuity, and the assurance of success. The system of “SMART Office”
needs the people to be ready for changes in their working behavior and system, to
be able to work in a team, to develop the idea, and to incorporate the up-to-date
information technology to solve the problems.