เรื่อง: แนวทางในการดำเนินงานตามกลไกความร่วมมือด้านความมั่นคงชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน,ของกรมกิจการชายแดนทหาร ปี 2552 - 2556 เพื่อแก้ไขปัญหาตามแนวชายแดนอย่างสันติ,The Mechanism of Border Security Cooperation Approach between Thailand and Neighboring Countries Process, Department of Border Affairs 2009 - 2013 in order to Solve Border Problem by Peace.
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
ไม่ระบุ/not specified
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, พ.อ. สุรศักดิ์ พุทธสุวรรณ
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2555
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
เปิดเผยเฉพาะบางส่วน (ไม่เปิดเผยเนื้อหา)
|
|
บทคัดย่อ:
บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง : แนวทางการดำเนินงานของกลไกความร่วมมือด้านความมั่นคงชายแดนไทย
กับประเทศเพื่อนบ้าน ของกรมกิจการชายแดนทหาร พ.ศ. ๒๕๕๒ –
๒๕๕๖ เพื่อแก้ไขปัญหาตามแนวชายแดนอย่างสันติ
โดย : พันเอก สุรศักดิ์ พุทธสุวรรณ
อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจัย : พันเอก
(โสภณ ศิริงาม)
กรกฎาคม ๒๕๕๗
การวิจัยเรื่อง “แนวทางการดำเนินงานของกลไกความร่วมมือด้านความมั่นคงชายแดนไทย
กับประเทศเพื่อนบ้าน ของกรมกิจการชายแดนทหาร พ.ศ. ๒๕๕๒ – ๒๕๕๖ เพื่อแก้ไขปัญหาตาม
แนวชายแดนอย่างสันติ” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานของกลไกความร่วมมือด้านความ
มั่นคงชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ของกรมกิจการชายแดนทหาร ศึกษาปัญหาและอุปสรรค
ของการดำเนินงานของกลไกความร่วมมือด้านความมั่นคงชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน และ
เสนอแนะแนวทางในการดำเนินงานของกลไกความร่วมมือด้านความมั่นคงชายแดนไทยกับประเทศ
เพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้ข้อมูลปฐมภูมิจากการการสัมภาษณ์เชิงลึกบุคคล
ที่เกี่ยวข้องจำนวน ๖ ท่าน ได้แก่ รองผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการเพื่อความมั่นคง ๒ ท่าน และ
ผู้อำนวยการกองกิจการชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ๔ ท่าน รวมทั้งใช้ข้อมูลทุติยภูมิจาก
เอกสารต่าง ๆ และผลการประชุมคณะกรรมการตามกลไกความร่วมมือด้านความมั่นคง ที่เกี่ยวข้อง
กับการวิจัยครั้งนี้
ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินงานของกลไกความร่วมมือด้านความมั่นคงชายแดนไทยกับ
ประเทศเพื่อนบ้านในระดับนโยบาย ประกอบด้วย ผู้บังคับบัญชาและหัวหน้าส่วนราชการระดับสูง
จากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง จะเกิดผลดีต่อความร่วมมือด้านความมั่นคงชายแดนกับประเทศ เพื่อนบ้านในระดับปฏิบัติ เนื่องจากสามารถที่จะตกลงใจในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องได้ทันทีมีความ
รอบคอบ และนำผลการประชุมไปสู่การปฏิบัติได้โดยไม่ต้องรอการสั่งการจากรัฐบาล รวมทั้งหัวหน้า
ส่วนราชการระดับสูง ได้มีโอกาสพบปะกับหัวหน้าส่วนราชการระดับสูงของประเทศเพื่อนบ้าน
เพื่อสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ บนพื้นฐานของความเข้าใจและ
บนผลประโยชน์ร่วมกัน
อย่างไรก็ตามการดำเนินงานของกลไกความร่วมมือด้านความมั่นคงชายแดนไทยกับ
ประเทศเพื่อนบ้าน พบว่ามีปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินงานในเรื่อง การกำหนดยุทธศาสตร์
ในการแก้ไขปัญหา การขาดหน่วยงานเจ้าภาพในการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อนำยุทธศาสตร์ไปสู่การ
ปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ การจัดผู้แทนเข้าร่วมประชุมที่ขาดประสบการณ์ใน
การเจรจา ไม่มีอำนาจในการตัดสินใจในการแก้ไขปัญหา และมีความรู้ ความสามารถไม่ตรงกับปัญหา
ที่เสนอเข้าพิจารณาในการประชุม การมีกรอบเวลาการประชุมค่อนข้างจำกัดสำหรับการเจรจาเพื่อ
แก้ไขปัญหาชายแดนในพื้นที่ต่างๆ การขาดความต่อเนื่องของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในการประชุม
การจัดการประชุมไม่ต่อเนื่อง และการบังคับใช้กฎหมายของแต่ละหน่วยงาน ในแต่ละพื้นที่
ไม่เท่าเทียมกัน
แนวทางในการดำเนินงานของกลไกความร่วมมือด้านความมั่นคงชายแดนไทยกับประเทศ
เพื่อนบ้าน เพื่อแก้ไขปัญหาตามแนวชายแดนอย่างสันติควรต้องมีหน่วยงานในระดับนโยบาย
ที่สามารถกำหนดยุทธศาสตร์ มาตรการและแผนงาน รวมถึงการกำกับดูแล ให้คำแนะนำ ในการแก้ไข
ปัญหาของส่วนราชการภาครัฐ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีการจัดผู้แทนคณะกรรมการและผู้เข้าร่วม
ประชุม มีความรู้และมีอำนาจในการตัดสินใจในขอบเขตของงานตามภารกิจของหน่วย ส่วนราชการ
ที่อำนวยการในการจัดประชุม ต้องมีข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้อง และทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
มีการแลกเปลี่ยนและแก้ไขกฎเกณฑ์ ระเบียบ หรือแนวทางปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาความมั่นคง
ชายแดนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน นอกจากนี้ควรมีหลักสูตรการบริหารจัดการชายแดน เพื่อให้
ความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง ให้กับบุคลากรภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาความมั่นคง
ชายแดน หรือปฏิบัติงานในพื้นที่ชายแดน
.......................................................
abstract:
Abstract
Title : The mechanism of border security cooperation between
Thailand and neighboring countries process of Department of
Border Affairs during the year 2009 – 2013 in order to solve the
borderline problems peacefully.
Researcher : Colonel Surasak Phuttasuwon
The research’s objective is to study problems, obstacle and propose the
recommendations for cooperation mechanism for border security process between
Thailand and neighboring countries of Department of Border Affairs during the year
2009 – 2013.
The research applies the qualitative approach by using database from
interviewing 6 persons concerned such as 2 Deputy Directors, office of Border
Security Operations, DBA and 4 Directors of Thailand – neighboring countries Border
Affairs Divisions including many documents and outcomes of the existing mechanism
commissions conferences.
The research findings are that the mechanism of border security
cooperation between Thailand and neighboring countries process at the policy level
having Commanders and high level authorities concerned will gain benefit in
operation level. Arising from decision making in solving problems concerned
promptly, having circumspect and using the outcomes from joint meetings with
neighboring countries to operation level without waiting for the government’s order
including Chief of the Administration at high level have an opportunity to meet with
neighboring countries’s Chief of the Administration at high level in order to increase
good relationship and cooperation solving several problems based on understanding
and sharing benefit proceeds.However the research finds that there are problems and obstacle of the
process to settle military strategy in solving problems, to be in want of authorities for
managing operation plan, not having experience representative in discussion and so on.
The study proposes the approaches to solve borderline problems
peacefully – should have policy level authorities that enable to settle military
strategy, criterion and project including supervision and suggestion for government
service problems solving in the same direction. Furthermore, the process should
have border management curriculum for giving knowledge and correct understanding
to government personnel concerned in solving border security problems or perform
duty in the border areas.
------------------------------------