Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม,The Development Leadership Applying the seven Sappurisadhammas.

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
ไม่ระบุ/not specified
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, พ.ต.อ. สุนทร ประดิษฐ์แท่น
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
ปีที่พิมพ์:
2555
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
เปิดเผยเฉพาะบางส่วน (ไม่เปิดเผยเนื้อหา)

บทคัดย่อ:

บทคัดย่อ ชื่อเรื่อง : แนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม โดย : พันตำรวจเอก สุนทร ประดิษฐ์แท่น สาขาวิชา : สังคมจิตวิทยา อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจัย : พันเอก (อุนฤทธิ์ นวลอนงค์) กรกฎาคม ๒๕๕๗ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์๑) เพื่อศึกษาแนวคิดและสังเคราะห์แนวคิดทฤษฎีภาวะผู้นำ ๒) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรมในพระพุทธศาสนา และ ๓) เพื่อนำเสนอแนวทางการ พัฒนาภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มเป้าหมาย ผู้ให้สัมภาษณ์ คือ ผู้บริหาร นักวิชาการ และผู้ปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาจำนวน ๗ รูป/คน ศึกษาเฉพาะกรณีในระดับจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง เพื่อนำมาเป็นข้อมูลการพัฒนาและ แก้ไขปัญหาภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม ในการวิจัยครั้งนี้ ความสำคัญของปัญหาคือสภาพของ วิกฤติผู้นำ และภาวะผู้นำ วิกฤติคุณธรรม/จริยธรรม วิกฤติศรัทธา และวิกฤติผลลัพธ์สุดท้ายของ องค์กรและหน่วยงานโดยมีกระบวนการในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบตามหลักสัปปุริสธรรม ผลการวิจัย ปรากฏดังนี้ ๑. สรุปแนวคิดทฤษฎีการพัฒนาภาวะผู้นำมีทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ๔ ทฤษฎี ประกอบด้วย ๑) ทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงปฏิรูป ๒) ทฤษฎีพฤติกรรมภาวะผู้นำ ๓) ทฤษฎีคุณลักษณะภาวะผู้นำ และ ๔) ทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงสถานการณ์ โดยนำมาประยุกต์ใช้การพัฒนาบุคลากร องค์กรและหน่วยงานให้ บรรลุความสำเร็จที่ดี ๒. สรุปภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรมตามพุทธศาสนา เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการ มี ๗ ประการ คือ ความเป็นผู้รู้จักเหตุ ความเป็นผู้รู้จักผล ความเป็นผู้รู้จักตน ความผู้รู้จักประมาณ ความเป็นผู้รู้จักกาล ความเป็นผู้รู้จักชุมชน และความเป็นผู้รู้จักบุคคล นอกจากคุณสมบัติดังกล่าว มาแล้ว ผู้นำต้องมีหลักพรหมวิหาร ๔ ประการ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา การสร้างผู้นำ รุ่นหลังด้วยการปลูกฝังค่านิยมที่ดีงามให้กับเด็กรุ่นหลังที่กำลังจะเติบโตขึ้น ด้วยการมองการเสียสละ ประโยชน์ส่วนตนทุกด้าน เห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นหัวใจสำคัญ ก็จะทำให้สังคมไทยเปลี่ยนไปใน ทิศทางที่ดีขึ้นเพราะมีผู้นำรุ่นหลังที่มีคุณภาพเป็นผู้นำ "ในฝัน" อย่างแท้จริง๓. สรุปแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักสัปปุริสธรรม การนำหลักสัปปุริสธรรมไปพัฒนาผู้นำในองค์กรและหน่วยงานเพื่อประโยชน์สูงสุดให้ สอดคล้องกับภาวะสังคมในปัจจุบัน ดังนี้ ผู้นำต้องรู้หลักการรู้งานอย่างถูกต้อง ต้องรู้จุดมุ่งหมาย รู้จัก ผลที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน รู้จักตนเองอยู่เสมอมีความรับผิดชอบและมีคุณธรรมต้องดำเนินตามทางสาย กลางด้วยหลักธรรมแห่งมัชฌิมาปฏิปทา ต้องรู้จักเวลาอันเหมาะสมในการทำกิจการทุกอย่างอย่าง ถูกต้อง ต้องรู้จักชุมชนสังคมอย่างถูกต้องในทุกๆ ด้าน และต้องเป็นผู้รู้เลือกบุคคล เลือกแต่งตั้ง จัด วางบุคคลว่าเหมาะสมกับงาน การนำหลักสัปปุริสธรรมไปพัฒนาภาวะผู้นำในองค์กร เป็นการพัฒนา ความคิดของผู้นำองค์กรเพื่อได้รับประโยชน์อันสูงสุดขององค์กร และสามารถสอดคล้องกับภาวะ สังคมในปัจจุบันได้ แต่ต้องใช้ปัญญาของผู้นำ ใช้กาลเวลาเพื่อเรียนรู้หลักสัปปุริสธรรมอย่างถูกต้อง ภาวะผู้นำในสังคมการเมือง ขององค์กรต่างๆ ในปัจจุบันไม่ได้นำสัปปุริสธรรมไปใช้เท่าที่ควรหรือเพียง ฉาบฉวยความจริงตามแนวคิดการนำหลักสัปปุริสธรรมมาเป็นมาตรฐานเป็นตัวชี้วัดพฤติกรรมของผู้นำ ในองค์กร คือ ถ้าผู้นำองค์กรใดนำหลักสัปปุริสธรรมไปใช้ในองค์กรนั้นจะมีการพัฒนา ไปในทางที่ ถูกต้องและยั่งยืนมีความเจริญก้าวหน้าสามารถบรรลุผลความสำเร็จขององค์กรและหน่วยงานได้อย่าง มีประสิทธิภาพ ๔. ข้อเสนอแนะ ๔.๑ เชิงนโยบาย ควรให้ผู้นำรัฐบาลกำหนดเป็นนโยบายและแนวปฏิบัติไปในการพัฒนาบุคลากร องค์กรทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนโดยเน้นให้นำหลักธรรมทางพุทธศาสนามาประยุกต์ กำหนด เป็นหลักคำสอน การฝึกอบรม และมีโครงการ/กิจกรรมในปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาความเป็นผู้นำ ภาวะผู้นำที่ดีให้ได้อย่างมีคุณภาพ คุณธรรม อย่างยั่งยืน ๔.๒ เชิงปฏิบัติการ ควรจะนำหลักสัปปุริสธรรมมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตและกระบวนการ บริหารงานในปัจจุบันโดยเน้นให้ใช้หลักคุณธรรม จริยธรรมนำการการพัฒนาบริหารเปลี่ยนแปลงการ สร้างผู้นำ และภาวะผู้นำที่ดีในองค์กรและหน่วยงานเพื่อให้ส่งผลลัพธ์ที่ดีขององค์กรและหน่วยงาน อย่างสูงสุด ๔.๓ เชิงวิจัย ผลต่อการวิจัยในครั้งนี้ ทำให้ผู้วิจัยได้แนวทางหลากหลายในการนำเอา หลักสัปปุริสธรรมมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาภาวะผู้นำในการนำมาใช้ในองค์กร หน่วยงานต่างๆ และควรจะมีการค้นคว้าวิจัยในโอกาสต่อไปอย่างต่อเนื่องเพื่อนำหลักธรรมในพระพุทธศาสนามา พัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างเป็นระบบและเป็นกระบวนการทั้งในปัจจุบันและอนาคตในการสร้างผู้นำ และภาวะผู้นำที่ดีให้มีคุณภาพและคุณธรรม หากสามารถนำหลักธรรมพุทธวจน ปฏิจจสมุปบาท และ อริยมรรค (มรรค๘) มาประยุกต์ใช้เพิ่มเติมในการดำเนินชีวิต องค์กร หน่วยงาน สังคม และประเทศชาติในส่วนรวมจะส่งผลให้เกิดความมั่นคงและความสงบสุขอย่างยั่งยืนอย่างสูงสุดต่อไป

abstract:

ABSTRACT Title : Leadership Development According to the Seven Fold Sappurisadhammas By : Police Colonel Suntorn Pradittan Field : Socio-Psychology Research Advisor : Colonel (Anurit Nual-anong) July 2014 This research aimed to 1) to study the concept and synthesize the concept of leadership theories 2) to study leadership according to the Seven Sappurisadhammas in Buddhism and 3) to propose the guidelines for leadership development according to the seven Sappurisadhammas. This research was a qualitative research by using in-depth interviews. The targeted groups for the interview were the management, academics, and Buddhist practitioners total amount of 7 people. It was a case study specially in provincial level in the northeastern lower, taken as data for developing and correcting the leadership solutions according to the seven Sappurisadhammas. In this research, the importance of the problem was a leadership crisis and leadership, moral / ethical crisis, crisis of faith and crisis end result of organizations and agencies with a systematic process to solve problems according to the seven Sappurisadhammas. The results were as follows: 1. It was summarized that the leadership development theory had 4 related theories as follow 1) transformational leadership theory 2) Behavioral Theories of Leadership 3 ) trait theories and 4) situational theories of leadership which were applied for developing the personnel, organizations and agencies to achieve great success. 2. It was summarized that leadership according to the seven Sappurisadhammas in Buddhism, related to the management of the seven aspects as follows ; knowing the cause, knowing the consequence, knowing oneself, moderation, knowing the proper time, knowing the society, and knowing the society. Apart from, the mentioned features, the leader had to have the four sublime states of mind which was loving-kindness, compassion, sympathetic joy, and equanimity. Creating leaders in the next generation by instilling good values to the young generations who had been growing up with self-sacrifice their personal benefit in all aspects, realized common interests as the heart of the matter, it could change Thai society in better direction because of having the quality leaders in the next generation as "dream" leaders literally. 3. It was summarized on leadership development in accordance with the seven Sappurisadhammas. Taking the principle of the seven Sappurisadhammas to develop the leaders in organization and agencies for maximum benefit, consistent with current social conditions. Thus the leaders had to know the principles correctly, know the aims, know the consequences clearly, always know themselves, be liability and morality, know to proceed along the center line with principles of the Middle Way, know the appropriate time to undertake everything correctly. know community correctly in every aspect and needed to be a well-informed person in selecting someone, placing the ones who fit the jobs. Taking the principle of the seven Sappurisadhammas to develop the leaders in organizations was the leaders’ developing ideas for the maximum benefit of the organization a consistent with current social conditions but leadership wisdom was required, times to learn about the seven Sappurisadhammas accurately were needed. Leadership in social politics of organizations currently did not apply the seven Sappurisadhammas as it should or just sloppiness. Truly, the concept of taking the seven Sappurisadhammas as standard as a measurement of the leadership behavior in the organization was that any corporate leaders applying the seven Sappurisadhammas in the organizations, it would be developed in the correct way and sustainable, progressed to achieve the success of organizations and agencies effectively. 4. Suggestion 4.1 Policy Government leaders should define as policy and practice in human resource development both private and public sectors and the people with emphasis on applying Buddhist principles, defined as doctrine and training, and providing projects / activities in the operation for leadership development, a good leadership quality, integrity and sustainability. 4.2 Workshop The seven Sappurisadhammas should be fairly applied in the way of life and administration process in the present with emphasis on the moral and ethical principles, leading to the development of managing to changes the creation to generate the leaders and good leadership in the organizations and agencies in order to deliver better results of the organizations and the agencies. 4.3 Research The results of this research allowed the researcher to have various ways of applying the seven Sappurisadhammas in leadership development in the organization and agencies. And should conduct the research successively in the future, in order to apply the principles of Buddhism to develop human resources systematically and process in the present and future to generate the leaders and good leadership with quality and moral. If able to apply the Buddhist principles, the Law of Dependent Origination (Paticca-samuppada), Noble Eightfold Path (Path 8) in everyday life, organizations, agencies, society and the country conjointly which should contribute to stability and sustainable peace supremely.