Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับประเทศกัมพูชา,The way of Promotion Cambodia Relations.

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
ไม่ระบุ/not specified
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, ว่าที่ร้อยเอก สมบัติ สิงห์คาร
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
ปีที่พิมพ์:
2555
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
เปิดเผยเฉพาะบางส่วน (ไม่เปิดเผยเนื้อหา)

บทคัดย่อ:

บทคัดย่อ ชื่อเรื่อง : แนวทางการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับประเทศกัมพูชา โดย : ว่าที่ร้อยตรีสมบัติ สิงห์คาร สาขาวิชา : การทหาร อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจัย : พันเอก ( โสภณ ศิริงาม ) กรกฎาคม ๒๕๕๗ การศึกษาเรื่องแนวทางการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับประเทศกัมพูชานี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑. เพื่อศึกษาความเป็นมาของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา ๒. ศึกษาปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา ๓. ศึกษาหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างประเทศ ไทยกับประเทศกัมพูชา ในการวิจัยครั้งนี้ จะทบทวนวรรณกรรม ซึ่งประกอบด้วยประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ ระหว่างไทยกับกัมพูชา ทฤษฎี แนวคิด กระบวนการต่าง ๆ เกี่ยวกับการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับ ประเทศเพื่อนบ้าน ในการสนับสนุนการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับประเทศกัมพูชา เอกสารและ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มีดังนี้ ๑. ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ๒. ทฤษฎีเกม (Games Theory) ๓. แนวความคิดเรื่องผลประโยชน์แห่งชาติ ๔. แนวความคิดว่าด้วยการสร้างความร่วมมือ การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยต้องการศึกษาถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาของความสัมพันธ์ ระหว่างไทยและกัมพูชา ตลอดจนปัญหาความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชา รวมทั้งศึกษาทฤษฎี และแนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับประเทศกัมพูชา ตลอดจนทบทวน วรรณกรรมต่าง ๆ เพื่อนำมาปรับประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับประเทศ กัมพูชา และเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนร่วมกันด้วยสัมพันธภาพอันดี การศึกษาวิจัยในเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) แบบวิจัย เอกสาร (Documentary Research) และ การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) โดยใช้ ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data) คือข้อมูลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า และสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นบุคลากรของกระทรวงการต่างประเทศ คือ อธิบดีกรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้อำนวยการกองเขตแดน กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย และนักการทูตชำนาญการ (ที่ปรึกษา) กอง เขตแดน กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย รวมทั้งใช้ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) คือ ข้อมูลที่ได้ จากเอกสารทางวิชาการ แนวคิดทฤษฎี จากผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลโดย ศึกษาค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ได้แก่ กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ ห้องสมุดวิทยาลัยเสนาธิการทหาร ห้องสมุดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ รวมทั้งในเว็ปไซต์ต่าง ๆ เช่น สภาความมั่นคงแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย กรมแผนที่ทหาร กองกิจการชายแดนไทย￾กัมพูชา กรมกิจการชายแดนทหาร เป็นต้นผู้วิจัยมีความคาดหวังว่าการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ จะทำให้ได้ทราบถึงความเป็นมาของ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา ปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศไทยกับ ประเทศกัมพูชา และได้รับทราบถึงปัญหาการเมืองภายใน ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความสัมพันธ์กับ ประเทศกัมพูชา ตลอดจนได้ทราบถึงแนวทางในการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับประเทศกัมพูชา อัน จะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องได้มากที่สุด ใบรับรอง หมวดวิชาที่ ๒ วสท. ๒๐๐๐ เอกสารวิจัย สภาการศึกษาวิทยาลัยเสนาธิการทหาร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ชื่อเอกสาร หมวดวิชาที่ ๒ วสท. ๒๐๐๐ เอกสารวิจัย คณะผู้จัดท า ๑. น.อ. รชต แหล่งสิน ร.น. ผอ.กวว.วสท.สปท. ๒. น.อ.หญิง อังคณา อรรถวิจิตรจรรยารักษ์ ประจ า สปท. สภาการศึกษารับรองแล้วพล.ต. วรวิทย์ ดรุณชู ( วรวิทย์ ดรุณชู ) รอง ผบ.วสท.สปท./ ประธานสภาการศึกษา ๒๓ / เม.ย. / ๕๒ พล.ร.ท. นพดล โชคระดา ร.น. ( นพดล โชคระดา ) ผบ.วสท.สปท. ๒๓ / เม.ย. / ๕๒

abstract:

ABSTRACT Title : Guide to Promotion Cambodia Relations By : Acting Sub-Lieutenant Sombat Singkhan. Branch : Military Research advisors documents : Colonel. (Sophon Siringarm) July 2557 The Way of Promotion Cambodia Relations there are 3 reasons: 1. To learn the history of relations between Thailand and Cambodia. 2. Study disputes between Thailand and Cambodia. 3. Studies find solutions to problems. To strengthen the good relations between the countries. Thailand and Cambodia in this research a literature review Which contains historical relationship between Thailand and Cambodia theories, concepts and processes relating to strengthening relations with neighboring countries. In support of strengthening relations with Cambodia. Documents and related research are as follows. 1) Theory of international relations. 2) Theory of games (Games Theory). 3) Concept of national interests. 4) The idea that by creating partnerships.This study Researchers want to study the history of the relationship between Thailand and Cambodia. The conflict between Thailand and Cambodia. Including Theory And concepts related to the strengthening of relations with Cambodia. The literature review be adapted to various applications as a guide to strengthen ties with Cambodia. And prepare to enter the ASEAN community together good relationship. Research studies on this subject Qualitative research and research papers , and in-depth interviews by using primary data is the data from the study. And in-depth interviews, the personnel of the Ministry of Foreign Affairs, the Director General, South Asian, Middle East and African Affairs Department. Director boundary Treaties and Legal Affairs Department Diplomats and specialists (consultants) the boundaries of Treaties and Legal Affairs. Including the use of secondary data is data from academic papers based on research related theories. Which the researchers collected data from various data sources including research department of treaties and legal Affairs. Ministry of Foreign Affairs Library Staff College National Defence Institute Library As well as on websites such as the National Security Council. Ministry of Interior Department of Defence Affairs Thailand - Cambodia Department borders, military affairs, etc. Benefits expected to be derived from the study of this research is. One. Keeping in mind the history of relations between Thailand and Cambodia. Two. Were aware of the conflict between Thailand and Cambodia. Three. Then be applied to politics. Related to building a relationship with Cambodia. Four. Were aware of guidelines to strengthen the relationship with Cambodia.