เรื่อง: การออกแบบหลักเกณฑ์การพิจารณา และวิธีการกำหนดค่าตอบแทน (เงินเพิ่มพิเศษ) ,ของข้าราชการทหาร ,ให้เหมาะสมกับบริบทของการปฏิบัติการทางทหาร ภายใต้สภาวการณ์ในปัจจุบัน,Guidelines for consideration of the military special pays within the context of military operations in the current situation.
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
ไม่ระบุ/not specified
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, พ.อ. วิทวัส สุขยางค์
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2555
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
เปิดเผยเฉพาะบางส่วน (ไม่เปิดเผยเนื้อหา)
|
|
บทคัดย่อ:
บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง : การออกแบบหลักเกณฑ์การพิจารณาและวิธีการกำหนดค่าตอบแทน (เงินเพิ่มพิเศษ)
ของข้าราชการทหาร ให้เหมาะสมกับบริบทของการปฏิบัติการทางทหาร
ภายใต้สภาวการณ์ในปัจจุบัน
โดย : พันเอก วิทวัส สุขยางค์
สาขาวิชา : ความมั่นคงและการทหาร
อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจัย : พันเอก
(อรรคเดช ประทีปอุษานนท์)
กรกฎาคม ๒๕๕๗
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) ศึกษาหลักเกณฑ์การพิจารณา และวิธีการกำหนด
ค่าตอบแทน (เงินเพิ่มพิเศษ) ของข้าราชการพลเรือน และข้าราชการทหารทั้งใน/ต่างประทศ
๒) เพื่อศึกษาความแตกต่างของ ลักษณะการปฏิบัติงาน ในบริบทของการปฏิบัติการทางทหาร
ที่มีความแตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบกับลักษณะการปฏิบัติงานของข้าราชการพลเรือน และ
๓) เพื่อออกแบบหลักเกณฑ์การพิจารณา และวิธีการกำหนดค่าตอบแทน (เงินเพิ่มพิเศษ) ของข้าราชการทหาร
ให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ จากการวิจัยเอกสาร และการ
สัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากผู้เชี่ยวชาญ ที่เกี่ยวกับปัจจัย เงื่อนไข วิธีการ และหลักเกณฑ์การ
กำหนดการจ่ายเงินเพิ่มในลักษณะพิเศษ (Special Pay) หรือ เงินเพิ่มพิเศษ (เงินค่าฝ่าอันตราย)
ของข้าราชการทหาร ในสังกัดกองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ
ตามที่กำหนดไว้ใน ข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยเงินเพิ่มพิเศษรายเดือน พ.ศ.๒๕๑๐ และฉบับที่
แก้ไขเพิ่มเติม เท่านั้น เพื่อพัฒนาและปรับปรุงอัตราและเกณฑ์การจ่ายฯ ให้เกิดความเป็นธรรมและ
เหมาะสม เพื่อรักษาบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านการทหารไว้ในระบบ และเป็นกลไกที่กระตุ้น/จูง
ใจ ให้ข้าราชการทหารที่มีประสิทธิภาพสูงได้รับค่าตอบแทนในอัตราที่ดีกว่า โดยออกแบบหลักเกณฑ์
การพิจารณา และวิธีการกำหนดเงินเพิ่มพิเศษฯ ดังกล่าวให้เหมาะสมกับบริบทของการปฏิบัติการทาง
ทหาร ภายใต้สภาวการณ์ในปัจจุบัน
ผลการวิจัยพบว่า ๑. จากบริบทความแตกต่างของการปฏิบัติการทางทหาร สามารถนำปัจจัยการพิจารณา
กำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินเพิ่มพิเศษฯ ในส่วนของข้าราชการทหารที่เป็นการเฉพาะ
เพิ่มเติม ในเรื่อง สมรรถภาพร่างกาย ระดับทักษะของผู้ปฏิบัติ และ ความซับซ้อนการปฏิบัติ
มาพิจารณาเพื่อกำหนดปัจจัยเพิ่มเติมจากหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังโดยกรมบัญชีกลาง ใช้เป็น
หลักในการพิจารณา โดยยึดถือตาม มติคณะรัฐมนตรี เมื่อ ๓๐ พ.ค.๔๙ เป็นผลทำให้ข้าราชการทหาร
สมควรได้รับอัตราค่าตอบแทน (เงินเพิ่มพิเศษฯ)ที่สูงกว่า ข้าราชการพลเรือน
๒. การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย โดยกำหนดองค์ประกอบและหลักฐานในการขอเงิน
ประเภทต่างๆ ของ กห. ได้แก่ การได้รับสิทธิตามที่ปรากฏตามตัวบทกฎหมาย ภารกิจ ลักษณะงาน การ
กำหนดกลุ่มเป้าหมาย การพิจารณาค่างาน และวงเงินงบประมาณ เพื่อให้เกิดความชัดเจน ไม่ซ้ำซ้อน
และเป็นการให้สิทธิดังกล่าวเกิดแก่ผู้ปฏิบัติหน้าที่โดยตรง (เฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น) มิฉะนั้นจำนวน
งบประมาณด้านบุคลากรที่เพิ่มขึ้นก็จะกลาย เป็นภาระด้านงบประมาณของกระทรวงกลาโหม
ในภาพรวม ต่อไป
๓. การจำแนกรายละเอียด และแนวทางการกำหนดอัตราเงินเพิ่มพิเศษฯ ได้กำหนด
ขั้นตอนการพิจารณา แบ่งออกเป็น ๔ ขั้น ดังนี้
ขั้นตอนที่ ๑ การจำแนกประเภทเงินเพิ่มพิเศษ ฯ เป็นการจำแนกประเภทที่
ปฏิบัติการทางทหารเฉพาะของแต่ละส่วนราชการ (กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ
หรือกองทัพอากาศ) กับ ประเภทเงินพิเศษ ฯ ที่มีการปฏิบัติในหลายส่วนราชการ
ขั้นตอนที่ ๒ จำแนกรายละเอียดองค์ประกอบย่อยในแต่ละประเภทเงินเพิ่มฯ เป็น
การแยกระดับทักษะ ระดับองค์ความรู้ ระดับความชำนาญ ระดับความเชี่ยวชาญ หรือความต้องการ
พิเศษอื่นๆ เพื่อกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งที่กำหนด โดยเทียบเคียงกับ
วิธีการกำหนดของ กองทัพสหรัฐ ที่มีรายละเอียดชัดเจน และเป็นธรรม
ขั้นตอนที่ ๓ การกำหนดอัตราการจ่ายตามผลรวมของคะแนนในแต่ละองค์ประกอบ
เพื่อกำหนดอัตราค่าตอบแทนสูงสุดที่สามารถจ่ายให้ได้ในแต่ละประเภทเงินเพิ่มพิเศษฯ ทั้งนี้ ควร
ตั้งอยู่บนพื้นฐานของประเภทงานที่มีค่างานสูงกว่า ควรได้รับการกำหนดค่าตอบแทนที่สูงกว่าประเภท
งานที่มีค่างานต่ำกว่า และควรพิจารณาประสบการณ์ของผู้ปฏิบัติหน้าที่ให้สอดคล้องกับการ
ปฏิบัติงานจริง
ขั้นตอนที่ ๔ การดำเนินการเพื่อขอให้ได้รับสิทธิเงินเพิ่มพิเศษ ฯ เสนอขอรับเงินเพิ่ม/
เงินในลักษณะอื่นๆ ที่นอกเหนือจากเงินเดือนต่อกระทรวงการคลัง หรือคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณา
กระทรวงกลาโหม ควรกำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินการให้เกิดความชัดเจน โดยจัดลำดับ
ความสำคัญ และกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการเสนอขอให้ชัดเจน เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบแนวทางการพัฒนาและปรับปรุงเงินเพิ่มในภาพรวมของกระทรวงกลาโหม ซึ่งจะสามารถวางแผนในการ
จัดสรรงบประมาณและบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
abstract:
ABSTRACT
Title : Guidelines for Consideration of the Military Special Pays
within the Context of Military Operations in the Current
Situation
By : Colonel
Field : Military
Research Advisor : Group Captain
(Kumpol Lipikorn)
July 2014
The special pay rate of military officers in the Ministry of Defence (Royal
Thai Armed Forces Headquarters, Royal Thai Army, Royal Thai Navy, and Royal Thai
Air Force) is determined in accordance with The Ministry of Defence’s Regulation on
Extra Allowance B.E.2510 (1967) and its revisions. However, special characteristics of
the operation (risk), duty, responsibility, and working conditions (loss/ deficiency) of
the military personnel at present have changed and the assigned tasks have also
been diversified in response to non-traditional threat. Thus, it has become more
eminent for the Ministry of Defence to adjust and improve the hazardous duty pay
rate in order to preserve military experts in the system while providing an incentive
for highly effective military personnel.
The objectives of this research are as follows:
1) Study scope and criteria for consideration of the compensation (special
pays) given to civil servants and military personnel both inside and outside the
country.
2) Study the difference between characteristics of military operation and
the features of civil servants’ work.
3) Determine scope and criteria for military personnel’s compensation
(special pays) suitable for the present situation by using qualitative research based
on official documents (memos/ questionnaires), interviewing relevant officials/ experts regarding factors, conditions, methods, and criteria involving special pays or
hazardous duty pays for military officers in the Ministry of Defence.
Research results:
1. Given the distinct context of military operations, we could take into
consideration physical fitness, skill level, and complexity of operations as factors of
consideration in addition to the cabinet resolution on 30 May 2006 (criteria for
considerations used by the Comptroller General’s Department, Ministry of Finance).
Subsequently, military officers are qualified to receive higher compensation rate
(special pays) than civil servants.
2. The target groups should be identified for clarification in order to avoid
duplication and ensure that the benefits will be provided exclusively to officials who
are directly involved by defining features and evidence for consideration including
employee benefits required by law, missions, job characteristics, identification of the
target group, job rate and budgets.
3. There are four consideration phases based on the categorization of
details and guidelines for determining special pay rate:
Phase 1: Categorize various types of special pays to distinguish special
pay rate of military agencies (Royal Thai Armed Forces Headquarters, Royal Thai
Army, Royal Thai Navy, and Royal Thai Air Force) and special pay rate designated in
many governmental agencies.
Phase 2: Classify details in each type of special pays to distinguish skill
level, knowledge level, expertise level, or other special requirements to determine
qualifications of designated position by comparing with fair and precise methods of
the U.S. Armed Forces.
Phase 3: Determine payment rate based on cumulative scores in each
component in order to define the possible highest compensation rate in each
category of special pays. So that so it should be based on the basic that the
determination of pay for a higher value filed of work should be higher than the lower
value one. The accordance between experiences and performance in a real work
place should also be considered.
Phase 4: Apply for special pays/ other additional pays apart from salary by
submitting the request to the Ministry of Finance or the Cabinet for consideration.
The Ministry of Defence should determine strategy to achieve clarity of the overall
system by prioritizing and determining target groups (military officers who are
qualified for the benefits) in order to make relevant stakeholders aware of the
overall payment adjustment which will enable effective budget allocation and
management.