Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการปรับบทบาทกองทัพเรือเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน,Introduction and Adjust the role of the Royal Thai Navy to supportthe ASEANcommunity.

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
ไม่ระบุ/not specified
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, น.อ. วริษ วังเย็น ร.น.
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
ปีที่พิมพ์:
2555
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
เปิดเผยเฉพาะบางส่วน (ไม่เปิดเผยเนื้อหา)

บทคัดย่อ:

บทคัดย่อ ชื่อเรื่อง : แนวทางการปรับบทบาทกองทัพเรือเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดย : นาวาเอก วริษ วังเย็น สาขาวิชา : การทหาร อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจัย : พันเอก (ทักษิณ สิริสิงห) กรกฎาคม ๒๕๕๗ การวิจัยเรื่อง แนวทางการปรับบทบาทกองทัพเรือเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนเป็น วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเด็นสำคัญของประชาคม อาเซียน และความเชื่อมโยงระหว่างเสาหลักทั้งสาม การวิเคราะห์ถึงผลกระทบต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นต่อ กองทัพเรือ แนวคิด ทฤษฎีความมั่นคงระหว่างประเทศ ตลอดจนบทบาท หน้าที่ของกองทัพเรือ ที่ได้รับ มอบหมายจากรัฐบาลและกระทรวงกลาโหม มีความเหมาะสมหรือไม่เพียงไร เพื่อนำไปสู่การปรับปรุง วิสัยทัศน์และบทบาทของกองทัพเรือในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ต่อไป จากผลการวิเคราะห์ที่เกิดจากสภาวะแวดล้อมด้านความมั่นคงทางทะเลในภูมิภาค และ ผลกระทบอันเกิดจากการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน สามารถนำมาตรวจสอบ วิเคราะห์กับภารกิจหน้าที่และบทบาทการทำงานของกองทัพเรือ เพื่อวิเคราะห์ความพร้อมและสิ่งที่ กองทัพเรือควรจัดให้มีเพื่อรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนได้ โดย ผู้วิจัยจะขอนำเสนอเฉพาะประเด็นสิ่งที่กองทัพเรือควรจัดให้มีในเรื่องต่าง ๆ อันนำมาสู่การวิเคราะห์เรื่อง การปรับบทบาทของกองทัพเรือ สรุปได้ดังนี้๑. กองทัพเรือควรจัดให้มีหน่วยงานที่รับผิดชอบหน้าที่ในการประสานงาน กำกับดูแลงานด้าน การต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการเป็นประชาคมอาเซียน ๒. กองทัพเรือควรจัดให้มีหน่วยงานที่รับผิดชอบหน้าที่เกี่ยวกับงานด้านความมั่นคงทางทะเลที่ เกี่ยวกับการเป็นประชาคมอาเซียน รวมทั้งงานภายใต้กรอบความร่วมมือ มาตรการและข้อตกลงต่าง ๆ ที่ รัฐบาลและกระทรวงกลาโหมกำหนดและพัฒนาขึ้นภายใต้กรอบความร่วมมือของประชาคมอาเซียนได้แก่ หน่วยงานของกองทัพเรือหรือกรมฝ่ายอำนวยการของกองทัพเรือ เพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบกำกับดูแลงาน ด้านนี้ให้บรรลุผลและเป็นไปตามนโยบายของหน่วยเหนือและเป็นไปตามนโยบายของกองทัพเรือต่อไป ๓. กองทัพเรือควรจัดให้มีแนวทางการพัฒนาและเสริมสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงกับ ประเทศสมาชิกอาเซียนในการแก้ไขปัญหาภัยคุกคามรูปแบบใหม่ โดยจัดตั้งหน่วยงานเพื่อรับผิดชอบ กำกับดูแล รวมทั้งจัดหาเครื่องมือที่จะใช้ในการแก้ไขปัญหากับภัยคุกคามรูปแบบใหม่ โดยเฉพาะปัญหา ภัยคุกคามที่ไม่ใช่การกระทำของรัฐ ได้แก่ โจรสลัดและการปล้นเรือ การก่อการร้ายทางทะเล เป็นต้น ใน ลักษณะของการใช้เครื่องมือร่วมกัน เนื่องจากปัญหาภัยคุกคามดังกล่าวจะเป็นปัญหาภัยคุกคามร่วมใน ภูมิภาค หลังจากการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนบรรลุผลในปี พ.ศ.๒๕๕๘ เรียบร้อยแล้ว ๔. กองทัพเรือควรจัดให้มีการสร้างความร่วมมือด้านข่าวสารร่วม และมาตรการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ภายใต้กรอบความร่วมมือจากการเป็นประชาคมอาเซียน รวมทั้งมาตรการต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้ในการแก้ไข ปัญหาภัยคุกคามรูปแบบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในภูมิภาค และกระทบกับความมั่นคงทางทะเล ด้วยการ ปฏิบัติการทางเรือร่วมกันของชาติสมาชิกอาเซียน โดยจัดตั้งศูนย์ควบคุม สั่งการ และอำนวยการปฏิบัติใน ลักษณะของศูนย์ปฏิบัติการร่วม ชึ่งขณะนี้ประเทศสมาชิกอาเซียนยังไม่ได้พิจารณาและจัดตั้งขึ้นเพื่อ รองรับภารกิจดังกล่าว ดังนั้น กองทัพเรือควรจะแสดงบทบาทนำด้วยการริเริ่มจัดตั้งศูนย์ดังกล่าวในฐานะ ประเทศสมาชิกผู้ช่วยก่อตั้งอาเซียนต่อไปABSTRACT Title : Approach to adjust the role of the Royal Thai Navy to support the ASEAN community By : Captain Waris Wangyen Major Field : Military Research Advisor : Colonel (Taksin Sirisingha) July 2014 Research Approach to the role of the Royal Thai Navy to support the ASEAN community as a method of qualitative research (Qualitative Research) aims to study the importance of the ASEAN Community. And linkages between the three pillars. Analyzing the impact of various The Navy’s upcoming international security theory and the role of the Royal Thai Navy. Assigned by the government and the Ministry of Defence. Is appropriate or not is. To lead to improved vision. And the role of the Royal Thai Navy in the ASEAN community further. The analysis of the environmental aspects of maritime security in the region. And impacts arising from the establishment of the ASEAN Political-Security Community. Can be analyzed to determine its function and role of the Royal Thai Navy. To analyze the availability and what the Royal Thai Navy should be provided to support access to the ASEAN Political-Security Community. This research aims to present only the unavailability of the Royal Thai Navy in matters that led to the analysis about the changing role of the Royal Thai Navy. Summarized as follows : 1. The fleet should provide the agency responsible for coordinating. Supervise the affairs related to the ASEAN Community. 2. The Royal Thai Navy should establish a unit responsible for the duties relating to maritime security on the ASEAN Community. Including under the framework of cooperation. Measures and agreements to which the government and the Ministry of Defense defined and developed under the framework of ASEAN cooperation, including the departments of the Royal Thai Navy or the Department of Administration Department of the Royal Thai Navy. Responsible for overseeing this work to fruition and in accordance with the above policy and adhere to the policies of the Royal Thai Navy anyway. 3. Navy should provide guidance for the development and strengthen security cooperation with ASEAN Member States to fix a new kind of threat. Established by the agency responsible for oversight and provides tools that are used to fix the problems with the new threats. In particular, the threat of non-state actions, including pirates and plundering ships. Maritime terrorism etc., in the manner of use of collaborative tools. Due to such threats would be a threat in the region. After the establishment of the ASEAN Political-Security Community fruition in the year 2558 already. 4. The fleet should provide for cooperation in intelligence gathering. And measures arising under the cooperation of the ASEAN Community. Including measures that will be used to fix various forms of threats that occur in the region. And affect maritime security. With ship operations, sharing of ASEAN. By establishing a command and control center operations in the form of a joint operations center. Exotics now and have not considered the ASEAN member countries, established to support the mission, so the Royal Thai Navy should take a leading role with initiatives such as the establishment of a Assistant founding ASEAN member countries.

abstract:

ไม่มี