Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การพัฒนารูปแบบการจัดทำหลักสูตรการศึกษาทางทหารของกองทัพบกให้มีความเหมาะสม,Military Education Curriculum Form Development of Royal Thai Army for Utmost Optimum.

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
ไม่ระบุ/not specified
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, พ.อ. รุ่งโรจน์ จันทร์ประสิทธิ์
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
ปีที่พิมพ์:
2555
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
เปิดเผยเฉพาะบางส่วน (ไม่เปิดเผยเนื้อหา)

บทคัดย่อ:

บทคัดย่อ ชื่อเรื่อง : การพัฒนารูปแบบการจัดทำหลักสูตรการศึกษาทางทหารของกองทัพบก ให้มีความเหมาะสม โดย : พันเอก รุ่งโรจน์ จันทร์ประสิทธิ์ สาขาวิชา : การบริหารการศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจัย : นาวาอากาศเอก ( ชนินทร เฉลิมทรัพย์) สิงหาคม ๒๕๕๗ การศึกษาวิจัยเรื่อง “การพัฒนารูปแบบการจัดทำหลักสูตรการศึกษาทางทหารของกองทัพบก ให้มีความเหมาะสม” มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาข้อมูล แนวคิด และทฤษฎี ที่มีความสัมพันธ์ต่อการ จัดทำหลักสูตรการศึกษาทางทหารของโรงเรียนเหล่า/สายวิทยาการ ศึกษารูปแบบ การจัดทำหลักสูตร การศึกษาทางทหาร ในประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างความมุ่งหมายของหลักสูตร กิจกรรมเนื้อหา และ กรอบงบประมาณในหลักสูตร วิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างความมุ่งหมายของหลักสูตร กิจกรรมการ จัดการเรียนการสอนเนื้อหาหลักสูตร เพื่อนำไปพัฒนารูปแบบการจัดทำหลักสูตรการศึกษาทางทหาร ให้ มีความเหมาะสม สมบูรณ์ ชัดเจน และมีประสิทธิภาพ โดยงานวิจัยเรื่องนี้ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ และ การศึกษารวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการสัมภาษณ์บุคลากรที่มีหน้าที่ ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับหัวข้อการวิจัย ผลที่ได้จากการวิจัยสรุปได้ว่า การจัดทำหลักสูตรการศึกษาทางทหารของกองทัพบกนั้น คงมี รูปแบบที่มีเนื้อหาครอบคลุมตามหลักการหรือทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหาร และจัดทำหลักสูตรการศึกษา โดยทั่วไป แต่ประเด็นที่พบในภาพรวมคือ การที่หน่วยจัดการศึกษาไม่ได้กำหนดคุณลักษณะที่ต้องการ ของผู้เข้ารับการศึกษา ภายหลังจากสำเร็จหลักสูตร สำหรับการดำเนินงานของ กรมยุทธศึกษาทหารบก ไม่มีรูปแบบข้อมูล ที่จะสามารถใช้เป็นแนวทางตรวจสอบที่มา ของการเริ่มต้นการจัดทำหลักสูตร การศึกษาทางทหาร ส่วนหน่วยจัดการศึกษาเอง ด้านระบบการประเมินผล ควรต้องกำหนดมาตรฐานให้ชัดเจน และบังคับใช้อย่างเคร่งครัด จากผลดังกล่าว ผู้ทำวิจัยได้เสนอให้มีกรอบแนวทาง เพื่อให้ หน่วยจัดการศึกษาของกองทัพบก ใช้เป็นแนวทางการจัดทำหลักสูตรการศึกษา ซึ่งคล้ายกับการทำโครง เอกสารงานวิจัย ที่เป็นการวางกรอบโครงร่างขั้นต้นให้ผู้จัดทำใช้เป็นแนวทางดำเนินการให้บรรลุ เป้าหมาย ABSTRACT Title : Military Education Curriculum Form Development of Royal Thai Army for Utmost Optimum By : COL. RoongrojChanprasit Major Field : Education Management Research Advisor : Group Captain (Chaninthon Chalermsap) August 2014 The objective of the research is to study theories, data, and thought processeswhich relate to the development of the military schools’ curriculums. This research studies frameworks, military curriculums in relation to courses, activities, and budget.The study requires analyzing and comparing courses’ objectives and activities in order to develop anappropriate, efficient, and comprehensive military education. The research includes collecting primary data, studying related theories, as well as interviewing personals that work in the related field. The result of the research is that making processes of military educational curriculums follows the Army’s principles and management theories. However, in a collective sense, the education system does not specify end states for students who successfully complete the course. For the working process of the Army Training Command of the Royal Thai Army, there is no educational framework that can be used to inspect and assess an inception of military curriculums. For military schools, the evaluation needs to be standardized, clear, and enforceable. As a result, the researcher suggests that Royal Thai Army should have frameworks and objectivesso that the education provider can use to create better curriculums. By having a process that is similar to a research framework, an organizer is able to meetthe specific goal and, at the same time,follow commander’s guidance.

abstract:

ไม่มี