Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การวิเคราะห์แนวทางการป้องกันประเทศของกองทัพไทยเพื่อรองรับการเป็นประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน,The Analysis of the Royal Thai Armed Forces'Concept of National Defence for Supportion ASEAN Political - Security Community (APSC)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
ไม่ระบุ/not specified
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, พ.อ. ระวี ตั้งพิทักษ์กุล
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
ปีที่พิมพ์:
2555
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
เปิดเผยเฉพาะบางส่วน (ไม่เปิดเผยเนื้อหา)

บทคัดย่อ:

บทคัดย่อ เรื่อง : การวิเคราะห์แนวทางการป้องกันประเทศของกองทัพไทยเพื่อรองรับการเป็น ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน โดย : พันเอก ระวี ตั้งพิทักษ์กุล สาขาวิชา : การทหาร อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจัย : นาวาเอก (ปิยะ อาจมุงคุณ) สิงหาคม ๒๕๕๗ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน (Association of Southeast Asian Nations หรือ ASEAN) เป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาค ซึ่งได้มีฉันทามติ ร่วมกันที่จะก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ในปีพ.ศ.๒๕๕๘ โดยแบ่งการ ดำเนินการออกเป็น ๓ เสาหลัก ได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political -Security Community หรือ APSC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community หรือ AEC)และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio- Cultural Community หรือ ASCC) โดย กองทัพไทยซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในเสาหลักด้านประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (APSC) จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยเฉพาะการปรับปรุงแนว ทางการป้องกันประเทศเพื่อรองรับการเป็นประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) แบบวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ประกอบการสัมภาษณ์เชิงลึก (In- depth interview)ผู้ทรงคุณวุฒิ ๓ ท่าน คือ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักนโยบายและแผนกลาโหม รอง ผู้อำนวยการสำนักวิเทศสัมพันธ์ กรมข่าวทหาร และผู้อำนวยการกองนโยบายและแผน กรมยุทธการ ทหารบก และใช้หลักการวิเคราะห์สว็อต (SWOT Analysis) ในการวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อย โอกาส และอุปสรรคของการดำเนินการของกองทัพไทยรวมทั้งได้นำผลการสัมภาษณ์มาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ และเสนอแนวทางการป้องกันประเทศให้เหมาะสมสอดคล้องกับการเป็นประชาคมการเมืองและความมั่นคง อาเซียนผลจากการศึกษาวิจัยพบว่า ในประเด็นการวิเคราะห์แนวทางการป้องกันประเทศให้ สอดคล้องกับกรอบความร่วมมือภายใต้สนธิสัญญามิตรภาพและกรอบความร่วมมือด้านการป้องกัน ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กองทัพไทยควรเร่งรัดดำเนินการตามกรอบความร่วมมือการ ประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน (ASEAN Defence Ministers’ Meeting : ADMM)และการประชุมรัฐมนตรี กลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา (ASEAN Defence Ministers’ Meeting - Plus : ADMM -Plus) ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม และควรระมัดระวังการขยายความร่วมมือด้านการป้องกัน ประเทศในภาพรวมของอาเซียน รวมทั้งควรปรับโครงสร้าง หลักนิยม และเตรียมความพร้อมของกำลังพลใน ประเด็นการวิเคราะห์แนวทางการป้องกันประเทศเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์และเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ กับกองทัพประเทศเพื่อนบ้าน กองทัพไทยควรเพิ่มกิจกรรมทางทหารในพื้นที่ชายแดนเพื่อเสริมสร้างความไว้ เนื้อเชื่อใจกับกองทัพประเทศเพื่อนบ้าน และควรจัดตั้งคณะกรรมการร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่าง กองทัพไทยกับกองทัพประเทศเพื่อนบ้านให้ครบถ้วนในทุกระดับ ในระยะยาวควรผลักดันให้มีการเจรจา กับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อลดปัญหาข้อพิพาทเกี่ยวกับเส้นเขตแดนและนำไปสู่ไปใช้ประโยชน์พื้นที่ร่วมกันใน อนาคต ในประเด็นการวิเคราะห์แนวทางการป้องกันประเทศให้พร้อมปกป้องบูรณภาพแห่งดินแดน อธิปไตยและผลประโยชน์แห่งชาติ กองทัพไทยจะต้องจัดลำดับความเร่งด่วน ของภารกิจให้เหมาะสมกับ งบประมาณที่ได้รับ โดยให้ความเร่งด่วนสูงสุดกับภารกิจการป้องกันประเทศ รวมทั้งควรจัดทำแนว ทางการเสริมสร้างกำลังกองทัพในระยะยาว และผลักดันให้มีการส่งเสริมความร่วมมือด้าน การ อุตสาหกรรมป้องกันประเทศของอาเซียน เพื่อนำไปสู่การพึ่งพาตนเองด้านการป้องกันประเทศให้มาก ขึ้น ในประเด็นการบูรณาการการบริหารจัดการชายแดนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กองทัพไทยควร ผลักดันให้รัฐบาลกำหนดยุทธศาสตร์ในการรับมือกับผลข้างเคียงจากการเชื่อมโยงกันมากขึ้นในอาเซียน โดยแบ่งมอบความรับผิดชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจนและมีการจัดทำฐานข้อมูลร่วมเพื่อการ บริหารจัดการชายแดน โดยในส่วนของกองกำลังป้องกันชายแดนควรเป็นหน่วยรับผิดชอบหลักในการ บริหารจัดการพื้นที่ที่มีภูมิประเทศยากลำบาก และควรมีบทบาทสนับสนุนหน่วยงานอื่นๆ ที่เป็นหน่วย รับผิดชอบหลักในพื้นที่ชุมชนและช่องทางผ่านแดนต่างๆ

abstract:

ABSTRACT Title : The Analysis of the Royal Thai Armed Forces’ Concept of National DefenceforSupporting ASEAN Political -Security Community (APSC) By : Colonel Rawee Tangpithakkul Major Field : Military Research Advisor : (Captain Piya Atmungkun, RTN) August 2014 Association of Southeast Asian Nations or ASEAN is a major international organization in the world that agreed to establish an ASEAN Community with three pillars, namely ASEAN Political - Security Community (APSC), ASEAN Economic Community (AEC) and ASEAN Socio - Cultural Community (ASCC) by the year 2015. As a result, The Royal Thai Armed Forces, as the major organization that responsible for APSC, need to prepare for this significant change, especially the development of the concept of national defence for supporting APSC. This qualitative research is a documentary research. Also including in- depth interview from three key informants, that are Director of the Office of Policy and Strategy, Office of Policy and Planning, Ministry of Defence, Deputy Director of the Office of the External Relations, Directorate of Joint Intelligence and Director of Policy and Planning Division, Directorate of Operations RTA. The analysis is conducted by using SWOT analysis in order to identify guidance to develop concept of national defence for supporting APSC. The results of research were as follows. For concept of national defence in the framework of treaty of amity and ASEAN’s national defence cooperation, the Royal Thai Armed Forces should concentrate on proceeding security cooperation in the framework of ASEAN Defence Ministers’ Meeting (ADMM) and ASEAN Defence Ministers’ Meeting - Plus (ADMM - Plus). However, security cooperation concerning ASEAN’s National Defence should be considered as a sensitive issue. In addition, the Royal Thai Armed forces should improve their organization doctrine and personnel’s skill in order to facilitate the implement of security cooperation. For concept of national defence to strengthen good relationship and enhance trust with neighboring countries, the Royal Thai Armed Forces should increase military activities in the border area that will enhance trust with neighboring countries’ armed forces. The military border committee should be established in all level. In the long run, the Royal Thai Armed Forces should push for negotiations with neighboring countries in order to reduce disputes concerning borders and leads to joint development area in the future. For the national defence for protecting territorial integrity, sovereignty and national interests, the Royal Thai Armed Forces should prioritize the mission to fit the budget. The national defence should be considered as the top priority mission. The concept of armed forces’ structure and capability development should be made for long term guidance. In addition, the Royal Thai Armed Forces should push for ASEAN Defence industry collaboration in order to enhance self - reliance. For the integration of border management with other agencies, the Royal Thai Armed Forces should push for the strategy to deal with the side effects of more connection in ASEAN. The responsible of each agency should be clearly identified and joint database for border management should be established. The border protection troops should be the major units that responsible for border management in the remote areas and also play supporting role in the urban areas and the official border crossing areas.