Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การพัฒนาขวัญและกำลังใจของข้าราชการกรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 2,Morale Engancement and Encouragement for Personel of 2nd Anti Aircraft Artillery Regiment.

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
ไม่ระบุ/not specified
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, พ.อ. ไพบูลย์ พุ่มพิเชฏฐ์
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
ปีที่พิมพ์:
2555
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
เปิดเผยเฉพาะบางส่วน (ไม่เปิดเผยเนื้อหา)

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ ชื่อเรื่อง : การพัฒนาขวัญและกำลังใจของข้าราชการกรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ ๒ โดย : พันเอก ไพบูลย์ พุ่มพิเชฏฐ์ สาขาวิชา : สังคมจิตวิทยา อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจัย : นาวาอากาศเอก (กำพล ลิปิกรณ์) กรกฎาคม ๒๕๕๗ กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ ๒ เป็นหน่วยงานหนึ่งของกองทัพบกมีภารกิจหลักใน ด้านการป้องกันภัยทางอากาศ และภารกิจอื่นๆ ตามที่หน่วยเหนือมอบหมาย ครอบคลุมภารกิจทั้ง ๕ ประการของกองทัพบก จากการปฏิบัติงานที่ผ่านมาใน กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ ๒ ซึ่ง เป็นสถานที่ทำงาน ของผู้วิจัยประสบปัญหาในการทำงานต่างๆ หลายครั้ง อาทิเช่น กำลังพลเริ่ม เหนื่อยล้ากับการทำงานที่ไม่มีเวลาพักผ่อนเนื่องจากได้รับมอบภารกิจที่เพิ่มมากขึ้น อัตราการลาหรือ ขาดราชการ เพิ่มสูงขึ้น เริ่มมีความไม่เข้าใจกันกับผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน ผลงานที่ปฏิบัติมัก เกิดความล่าช้า และผลงานบางอย่างไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร จนทำให้ผู้บังคับบัญชาตำหนิ ผู้ใต้บังคับบัญชาบ่อยครั้ง ปัญหาต่างๆ เหล่านี้อาจกล่าวได้ว่าเกิดจากการขาดขวัญ และกำลังใจในการ ปฏิบัติหน้าที่ของกำลังพลทั้งสิ้น ดังนั้นหากผู้บังคับบัญชาทุกระดับ ได้มีการพัฒนา บำรุงขวัญและ กำลังใจ ผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเหมาะสม และต่อเนื่องแล้วจะส่งผลให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีขวัญและ กำลังใจที่ดีขึ้น มีความตั้งใจและเต็มใจที่จะปฏิบัติงานอย่างเต็มขีดความสามารถของแต่ละคน ทำให้ ผลงานที่ปฏิบัติมีประสิทธิภาพก่อให้เกิดประโยชน์ ต่อทางราชการ ต่อประเทศชาติและต่อประชาชน จนสามารถช่วยแก้ปัญหาวิกฤตต่างๆ ของประเทศชาติในภาพรวมได้ จากที่มาและความสำคัญของ ปัญหาดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาวิจัยถึงปัจจัย ในการพัฒนาขวัญและกำลังใจ ของข้าราชการ ในกรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ ๒ ให้สูงขึ้นเพื่อที่ผู้บังคับบัญชาจะได้นำข ผลการวิจัยไปพัฒนา ขวัญและกำลังใจ ของผู้ใต้บังคับบัญชาให้มี และคงอยู่ในตัวตนของข้าราชการ กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ ๒ อย่างต่อเนื่องตลอดไป ในการศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนาขวัญและกำลังใจของข้าราชการ กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้ อากาศยานที่ ๒ มีวัตถุประสงค์๑) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวกับขวัญและกำลังใจ ๒) เพื่อศึกษา แนวคิด การพัฒนาขวัญและกำลังใจ ของข้าราชการ กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ ๒ ๓) เพื่อ ศึกษาแนวทาง ในการพัฒนาขวัญและกำลังใจ ของข้าราชการ กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ ๒ วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Research) โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลแบบการ วิจัยเชิงปริมาณ(Quantitative Research) ซึ่งใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ข้าราชการที่สังกัด กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ ๒ จำนวน ๔ หน่วยงาน รวมทั้งสิ้น ๖๐๓ นาย ตั้งแต่ชั้นยศ สิบตรี จนถึง พันเอก ซึ่งมีตัวแปรอิสระคือลักษณะ ส่วนบุคคล ผลตอบแทน สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน และความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร่วมงาน โดย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการใช้วิธีการสุ่มแบบโควตา (Quota Sampling) แล้วทำการอธิบาย พรรณนาเสริม แบบการวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) คือ ข้อมูลที่เก็บได้จากกลุ่มตัวอย่าง โดยการใช้แบบสอบถาม ข้อมูลทุติยภมิ (Secondary Data) คือ ข้อมูลที่ได้จากเอกสาร แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัย ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูล โดยค้นคว้า จากแหล่งต่างๆเพื่อสามารถวิเคราะห์ และให้เหตุผลที่เหมาะสม ต่อสิ่งที่ค้นพบจากการวิจัย ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีระดับขวัญและกำลังใจ อยู่ในระดับสูง สำหรับในเรื่องของ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อขวัญและกำลังใจนั้น พบว่าลักษณะส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน มีผลทำให้ขวัญและ กำลังใจในการทำงานแตกต่างกัน และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับขวัญและกำลังใจ ในการปฏิบัติงาน เรียงตามลำดับคือ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร่วมงาน ด้านผลตอบแทน และด้านสภาพแวดล้อมใน การปฏิบัติงาน ซึ่งหากผู้บังคับบัญชา ให้ความสำคัญ กับการมอบหมายงานให้สอดคล้อง กับลักษณะ ส่วนบุคคล คุณลักษณะพฤติกรรม รวมถึงมีการกระตุ้นและจูงใจ ให้กำลังพลทุกคนในหน่วยงาน เกิด ความกระตือรือร้นที่จะศึกษาหาความรู้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการทำ งานซึ่งกันและ กันในทุกระดับทุกตำแหน่ง และให้ความใส่ใจกับการพิจารณาเลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่ง รวมถึง สวัสดิการต่างๆ ด้วยความยุติธรรม มีการเสริมสร้างให้เกิดความรัก ความสามัคคีในหมู่ผู้ ร่วมงาน อีกทั้งสถานที่ทำงานก็มีความสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย มีอุปกรณ์เครื่องมือที่เพียงพอต่อการค ปฏิบัติงานและมีระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย หรือเหมาะสมกับการปฏิบัติงานก็จะส่งผลและผลักดันให้ เกิดขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน

abstract:

ค ABSTRACT Title : Morale Enhancement and Encouragement for Personel of 2 nd Anti Aircraft Artillery Regiment By : Colonel Paiboon Pumpichet Major Field : Socio-Psychology Research Advisor : Group Captain (Kumpol Lipikorn) July, 2014 The 2nd Antiaircraft Artillery Regiment is one of the Royal Thai Army units responsible for the air defend and any other tasks assigned by the higher unit, covering all 5 responsibilities of the Royal Thai Army. In the past, the 2nd Antiaircraft Artillery Regiment, the Researcher’s workplace had faced several problems such as the personel was tired and had not got enough time to sleep due to more duties assigned, the increase of absence rate, disagreement with the supervisors and colleagues, delays in work and some works were not as efficient as expected. The supervisors had made a complaint regarding these problems however, this might seem as a result of the lack of the personel’s morale. Therefore, if the supervisors at all levels had improved the morale of their subordinates appropriately and continuously, the subordinates would probably have a higher level of morale and could contribute the full capacity into work. Additionally, this efficient work would benefit to the Government Sector, Nation and People and this could also help in solving the critical crisis of the Country. With all these reasons, the Researcher was interested in studying the factors to improve the morale of the 2nd Antiaircraft ง Artillery Regiment Army Officer so that the supervisors would be able to apply the research results to improve the morale of their subordinates in the future. The objectives of this research, were: (i) To study the idea and theory of the morale, (ii) To study the idea of Morale Enhancement and Encouragement for Personel of 2nd Anti Aircraft Artillery Regiment and (iii) To study the way to Morale Enhancement and Encouragement for Personel of 2nd Anti Aircraft Artillery Regiment. The study was a Mixed Research by collecting data based on the Quantitative Research through the questionnaires distributed to 4 units of the 2nd Antiaircraft Artillery Regiment Army Officer; totaling 603 officers starting from the Lance Corporal to Colonel Ranks, independent variables were including Personalities, Benefits, Work Environments and Relationship among colleagues. The sample was selected by using Quota Sampling Method, then explained and described based on the Qualitative Research. The Primary Data was gathered from the sample through the questionnaires while the Secondary Data was obtained to support the research findings from several sources of published documents, ideas, theories and relevant researches. The findings showed that the sample group of Army had a high level of morale and it could be seen that different personalities led to different levels of morale. The factors affected the morale ranked from the highest to lowest impacts were Relationship among colleagues, Benefits and Work Environments, respectively. Therefore, if the supervisors placed great importance on assigning an appropriate task to the subordinates based on individuals and their personalities as well as providing motivation and incentive to subordinates of all units, it would create an enthusiasm among officers to learn and share their own knowledge and experiences at all levels. In addition, the supervisors should put emphasis on providing opportunities for career path advancement as well as ensuring that all subordinates were treated จ equally and fairly, encouraging love and harmony among officers, providing clean and tidy workplace, ensuring that tools and equipments required for operations with advanced technologies were provided sufficiently, all these factors had an impact on the morale of the officers.