เรื่อง: แนวทางการพัฒนาพื้นที่ด่านชายแดนเชียงของ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เพื่อรอบรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน,The Approach to development chiang Dhong Border Asea in Amphoe chiang Dhong of Chiang Rai Province, To support the ASEAN Economic Community-AEC.
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
ไม่ระบุ/not specified
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, นาย พงษ์นรา เย็นยิ่ง
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2555
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
เปิดเผยเฉพาะบางส่วน (ไม่เปิดเผยเนื้อหา)
|
|
บทคัดย่อ:
บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง : แนวทางการพัฒนาพื้นที ่ด ่านชาย แดนเชียงของ อ าเภอเชียงของ
จังหวัดเชียงราย เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
โดย : นายพงษ์นรา เย็นยิ่ง
สาขาวิชา/หลักสูตร : เสนาธิการทหาร รุ่นที่ ๕๕ ปีการศึกษา ๒๕๕๗
อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจัย : นาวาอากาศเอก
(สิทธิพิชัย บุนนาค)
มิถุนายน ๒๕๕๗
ประเทศไทยและประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง ๑๐ ประเทศ ก าลังก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคม
เศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) หรือ AEC อย่างสมบูรณ์แบบภายในปี ๒๕๕๘
ส่งผลให้หน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะหน่วยงานภาครัฐ จ าเป็นจะต้องมีการวางแผนและเตรียม
ความพร้อมส าหรับการพัฒนาในด้านต่างๆ เพื่อรองรับการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ การค้า
การลงทุน การคมนาคมขนส่ง และการท่องเที่ยว ตามแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
(ASEAN Economic Community Blueprint) ซึ่งบริเวณพื้นที่เศรษฐกิจชายแดนที่ส าคัญของ
ประเทศไทย จะเป็นบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาทั้งในเชิงบวกและลบมากที่สุด เนื่องจาก
เป็นจุดผ่านแดนเข้า-ออกระหว่างประเทศ เป็นที่ตั้งของแหล่งการค้าชายแดน และตั้งอยู่ในแนว
เส้นทางการคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ที่เชื่อมโยงระดับการเดินทางในระดับภูมิภาคอาเซียน
ดังนั้น จึงควรมีการวางแผนและก าหนดแนวทางการพัฒนาพื้นที่ด่านชายแดนที่เหมาะสม เพื่อรองรับ
การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การศึกษาวิจัยเรื่อง “แนวทางการพัฒนาพื้นที่ด่านชายแดนเชียงของ อ าเภอเชียงของ
จังหวัดเชียงราย เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” ครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ
(Qualitative Research) โดยผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎี ด้านการพัฒนาพื้นที่
ด่านชายแดนและแนวคิดการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และเพื่อศึกษาหาแนวทางการพัฒนา
พื้นที่ด่านชายแดนเชียงของ อ าเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจ
อาเซียนในอนาคตได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ด าเนินการตามขั้นตอนระเบียบวิธีวิจัย โดยมีกระบวนการศึกษา
และเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ (Documentary Study) การสัมภาษณ์เชิงลึก
(In-depth Interview) ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาพื้นที่ด่านชายแดน และการศึกษาผลงานวิจัย
ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพื้นที่ด่านชายแดนเชียงของ จากนั้นจึงท าการตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูล
โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ตามประเด็น (Topic) ที่ก าหนดไว้ และใช้
การเปรียบเทียบเนื้อหากับแนวคิดทฤษฎี เพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจส าหรับใช้สังเคราะห์
และก าหนดแนวทางการพัฒนาพื้นที่ด่านชายแดนเชียงของแบบบูรณาการที่เหมาะสมและสอดคล้อง
กับลักษณะทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และความต้องการของประชาชนในพื้นที่
จากการศึกษา พบว่า พื้นที่ด่านชายแดนเชียงของเป็นพื้นที่ที่มีความส าคัญจากศักยภาพ
เชิงพื้นที่ ซึ่งเป็นประตูการค้าที่เชื่อมต่อไปยัง สปป.ลาว และประเทศจีน โดยตั้งอยู่บริเวณกึ่งกลาง
ของเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจสายเหนือ - ใต้ และจัดเป็นพื้นที่เป้าหมายของกรอบความร่วมมือ GMS
จึงมีโอกาสที่จะได้รับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจการค้า การคมนาคมขนส่ง และโลจิสติกส์แบบครบวงจร
แต่ในขณะเดียวกันพื้นที่ด่านชายแดนเชียงของ ก็ประสบปัญหาจากการพัฒนาที่ขาดการบูรณาการ
แผนการพัฒนาร่วมกันระหว่างหน่วยงาน และเน้นการพัฒนาเชิงกายภาพเพียงด้านเดียว
สรุปผลการวิจัยที่ได้จากการศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูล แนวคิดและทฤษฎีด้านการพัฒนา
พื้นที่ด่านชายแดน และการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ท าให้เกิดความรู้
ความเข้าใจในหลักการและวิธีการในการพัฒนาพื้นที่ด่านชายแดนที่เหมาะสม โดยน ามาประยุกต์ใช้
เป็นแนวทางและตัวแบบ (Model) ในการพัฒนาพื้นที่ด่านชายแดนเชียงของได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งประกอบด้วย ๔ แนวทางการพัฒนาที่ส าคัญ ได้แก่ หลักการส าคัญของการพัฒนาด่านชายแดน
โดยทั่วไป ๗ ข้อ การแบ่งบริเวณ (Zoning) การพัฒนาด่านชายแดนเชียงของ ออกเป็น ๓ บริเวณ
การจ าแนกองค์ประกอบของการพัฒนาพื้นที่ ออกได้ ๖ ส่วน และการบูรณาการการด าเนินงานพัฒนา
พื้นที่ด่านชายแดนเชียงของร่วมกันระหว่างหน่วยงาน ๓ ด้าน หรือเรียกสรุปรวมกันได้ว่า “แผนพัฒนา
เจ็ด-สาม-หก-สาม” ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางการพัฒนาพื้นที่ด่านชายแดนแบบบูรณาการให้กับ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเป็นตัวอย่างการศึกษาให้กับการวิจัยอื่นๆ ได้
นอกจากนี้ ผู้วิจัยได้มีข้อเสนอแนะ เพื่อเป็นประโยชน์ส าหรับการศึกษาวิจัยในอนาคต ได้แก่
การพิจารณาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการพัฒนาที่ครบถ้วนในทุกมิติ การวางแผนพัฒนาร่วมกับพื้นที่
ชายแดนในฝั่งประเทศเพื่อนบ้าน การขับเคลื่อนและขยายผลการศึกษาไปสู่การพัฒนาที่เป็นรูปธรรม
ในระดับพื้นที่ และเสนอให้จัดตั้งหน่วยงานเจ้าภาพขึ้นมาดูแลงานพัฒนาพื้นที่ด่านชายแดนทั่วประเทศ
อย่างเป็นระบบ ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนและขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ชายแดนตามแผนยุทธศาสตร์
การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ปี ๒๕๕๘ ของประเทศไทย ให้เกิดผลส าเร็จโดยสมบูรณ์ ต่อไปABSTRACT
Title : The Approach to development Chiang Khong Border Area in
Amphoe Chiang Khong of Chiang Rai Province, To support the
ASEAN Economic Community-AEC
By : Mr. Pongnara Yenying
Major Field : Joint Staff Program, Cohort 55, Academic Year 2014
Research Advisor : Group Captain
(Sittipichai Boonnak)
June 2014
Thailand and the ten ASEAN countries are approaching the ASEAN Economic
Community or AEC in 2015. This community has an effect on various organizations,
especially governmental organizations. It is essential to organize and prepare for each
developmental program to support the expansion of the economy, commerce,
investment, transportation and tourism, according to the ASEAN Economic Community
blueprint. The developments will positively and negatively affect important commercial
areas along the country’s borders the most because they are located on transportation
routes that connect Thailand to the remaining ASEAN countries. As a result, areas along
the border should be developed to effectively support the ASEAN Economic
Community.
“Approach to Development of Chiang Khong’s Border Area to support the ASEAN
Economic Community” is a qualitative research, which aims to study the ideas and
theories of border areas development and investigate development methods for the
border areas of Chiang Kong District in Chiang Mai, in order to effectively support the
future integration of the AEC.This research follows the rules of researching by collecting information from
documentary studies, in-depth interviews, experts of development of border areas, and
research papers concerning Chiang Khong’s border area development. Subsequently,
examination and data analysis are to be completed by techniques of content analysis,
based on the given topic and comparing content with theory. This will provide insight and
define the developing method of border areas that is effective and relevant to the
physical aspect, economic, social, environmental and the needs of the people in the area.
This research has demonstrated that border areas are essential, in terms of their
potential, for they are the gateway that connects Thailand with Laos and China. In
addition, they are located in the focal point of the North-South Economic Corridor
(NSEC) and are the target areas of the Greater Mekong Sub region. Therefore, this
frontier has the opportunity to be developed in regards to its economics, transportation
and logistics. On the other hand, the border areas of Chiang Khong is facing issues with
the lack of collaboration among organizations in developmental efforts and thus far
developments are merely physical.
The conclusion of this research provides insightful knowledge on appropriate
principles of border area development and is modified to create a model that could be
utilized for effective development of Chiang Kong’s border areas. The model consists of
four developmental aspects, which includes seven criteria for general development,
zoning Chiang Kong border into three developmental areas, classifying the six
developmental elements and cooperation between the three organizations in developing
border areas. The approach can be named the “7-3-6-3” approach to development and
can be utilized to develop border areas and as a case study for future references.
Additionally, I have proposed some suggestions for the benefit of other future
researches, such as examining and analyzing data thoroughly for every dimensions of
development, plans for development of border areas in neighboring countries, promoting
and expanding research for concrete development, and put forth the establishment of
a head department that is responsible for the development of border area systemically
so as to support and further the development of border area according to the strategy for
Thailand’s entrance to ASEAN in 2015, for the greatest benefit in the future.
abstract:
ไม่มี