เรื่อง: แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานตามกลไกความร่วมมือด้านความมั่นคงชายแดนไทย,กับสาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ของกรมกิจการชายแดนทหาร,Guideline for Development The Mechanism of Border Security Cooperation between Thailand and Lao People's Democratic Republic,Department of Border Affairs.
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
ไม่ระบุ/not specified
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, พ.อ. ธีรพันธุ์ ไตรพิพัฒน์
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2555
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
เปิดเผยเฉพาะบางส่วน (ไม่เปิดเผยเนื้อหา)
|
|
บทคัดย่อ:
บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง : แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานตามกลไกความร่วมมือด้านความมั่นคง
ชายแดนไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ของ กรมกิจการ
ชายแดนทหาร
โดย : พันเอก ธีรพันธุ์ ไตรพิพัฒน์
สาขาวิชา : การทหาร
อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจัย : นาวาเอก
(ปิยะ อาจมุงคุณ)
กรกฎาคม ๒๕๕๗
การวิจัยเรื่อง “แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานตามกลไกความร่วมมือด้านความมั่นคง
ชายแดนไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ของ กรมกิจการชายแดน ทหาร” มี
วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานของกลไกความร่วมมือด้านความมั่นคงชายแดนไทยกับ
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ของกรมกิจการชายแดนทหาร ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของ
การดำเนินงานของกลไกความร่วมมือด้านความมั่นคงชายแดนไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตย
ประชาชนลาว และเสนอแนะแนวทางในการดำเนินงานของกลไกความร่วมมือด้านความมั่นคง
ชายแดนไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้ข้อมูลปฐม
ภูมิจากการการสัมภาษณ์เชิงลึกบุคคล ที่เกี่ยวข้องจำนวน ๔ ท่าน ได้แก่ ผู้ช่วยทูตทหารไทย ณ
เวียงจันทน์ ผู้อำนวยการกองกิจการชายแดนไทย – ลาว กรมกิจการชายแดนทหาร ผู้อำนวยการกอง
การต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย และผู้อำนวยการกองการต่างประเทศ สำนักงาน
ตำรวจแห่งชาติรวมทั้งใช้ข้อมูลทุติยภูมิจาก เอกสารต่าง ๆ และผลการประชุมคณะกรรมการตาม
กลไกความร่วมมือด้านความมั่นคงชายแดนไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่
เกี่ยวข้องกับการวิจัยครั้งนี้ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินงานของกลไกความร่วมมือด้านความมั่นคงชายแดนไทยกับ
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในระดับนโยบาย ประกอบด้วย ผู้บังคับบัญชาและหัวหน้า
ส่วนราชการระดับสูง จากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง จะเกิดผลดีต่อความร่วมมือด้านความมั่นคง
ชายแดนในระดับปฏิบัติ เนื่องจากสามารถที่จะตกลงใจในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องได้ทันทีมีความ
รอบคอบ และนำผลการประชุมไปสู่การปฏิบัติได้โดยไม่ต้องรอการสั่งการจากรัฐบาล รวมทั้งหัวหน้า
ส่วนราชการระดับสูงทั้งสองฝ่าย ได้มีโอกาสพบปะกัน เพื่อสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือในการ
แก้ไขปัญหาต่าง ๆ บนพื้นฐานของความเข้าใจและบนผลประโยชน์ร่วมกัน
อย่างไรก็ตามการดำเนินงานของกลไกความร่วมมือด้านความมั่นคงชายแดนไทยกับ
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พบว่ามีปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินงานในเรื่อง การ
กำหนดยุทธศาสตร์ ในการแก้ไขปัญหา การขาดหน่วยงานเจ้าภาพในการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อนำ
ยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ การจัดผู้แทนเข้าร่วมประชุมที่
ขาดประสบการณ์ในการเจรจา ไม่มีอำนาจในการตัดสินใจในการแก้ไขปัญหา และมีความรู้
ความสามารถไม่ตรงกับปัญหาที่เสนอเข้าพิจารณาในการประชุม การมีกรอบเวลาการประชุมค่อนข้าง
จำกัดสำหรับการเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหาชายแดนในพื้นที่ต่างๆ การขาดความต่อเนื่องของบุคลากรที่
ปฏิบัติงานในการประชุม การจัดการประชุมไม่ต่อเนื่อง และการบังคับใช้กฎหมายของแต่ละหน่วยงาน
ในแต่ละพื้นที่ไม่เท่าเทียมกัน
แนวทางในการดำเนินงานของกลไกความร่วมมือด้านความมั่นคงชายแดนไทยกับ
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ควรต้องมีหน่วยงานในระดับนโยบาย ที่สามารถกำหนด
ยุทธศาสตร์ มาตรการและแผนงาน รวมถึงการกำกับดูแล ให้คำแนะนำ ในการแก้ไขปัญหาของส่วน
ราชการภาครัฐ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีการจัดผู้แทนคณะกรรมการและผู้เข้าร่วมประชุม มีความรู้
และมีอำนาจในการตัดสินใจในขอบเขตของงานตามภารกิจของหน่วย ส่วนราชการ ที่อำนวยการใน
การจัดประชุม ต้องมีข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้อง และทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง มีการ
แลกเปลี่ยนและแก้ไขกฎเกณฑ์ ระเบียบ หรือแนวทางปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาความมั่นคงชายแดน
ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน นอกจากนี้ที่สำคัญจะต้องมีหลักสูตรการบริหารจัดการชายแดน เพื่อให้
ความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง ให้กับบุคลากรภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาความมั่นคง
ชายแดน หรือปฏิบัติงานในพื้นที่ชายแดน .......................................................
abstract:
Abstract
Title : Guideline for Development the Mechanism of Border Security
Cooperation between Thailand and Lao People's Democratic
Republic, Department of Border Affairs
Researcher : Colonel teerapan tripipat
The research’s objectives are to study the Guideline for Development the
Mechanism of Border Security Cooperation between Thailand and Lao People's
Democratic Republic, Department of Border Affairs, problems and obstacles, and
propose the recommendations for cooperation mechanism for border security
process between Thailand and Laos.
The research applies the qualitative approach by using database from
interviewing 4 persons concerned, who are Military attaches, Chief of Department of
Border Affairs, Chief of Foreign Affairs Department, Ministry of Interior, and Chief of
Foreign Affairs Department, Royal Thai Police. This study also includes many related
documents and outcomes of the existing mechanism commissions’ conferences.
The research findings are that the mechanism of border security cooperation
between Thailand and Laos process at the policy level having Commanders and high
level authorities concerned will gain benefits in operation level. Arising from the
decision making, solving problems are concerned promptly, having cautions and
taking into application without having to wait for the government’s order including
Chief of the Administration at high level have an opportunity to meet with neighboring countries’ Chief of the Administration at high level in order to increase
good relationship and cooperation solving several problems based on shared
common understanding and benefits proceed.
Nevertheless, the research has found that there are problems in the process
of military settling strategy in solving problems, authorities for managing operation
plan, not having experienced representative in discussion, time frame management,
and inequality of jurisdiction involvement.
In conclusion, the study proposes the approaches to solve borderline
problems peacefully. In addition, it should improve by having strong policy level
authorities that enable to settle military strategy, criterion and projects including
supervision and suggestions for government service problems solving in the same
direction. Moreover, the process should have border management curriculum for
giving knowledge and correct understanding to the government personnel concerned
in resolving border security problems or perform duty in the border areas.
------------------------------------