Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การเผยแพร่พระพุทธศาสนาในอาเซียน,Proficration of Buddism in ASEAN

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
ไม่ระบุ/not specified
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, น.อ. ฐิติวัฒน์ พูลสวัสดิ์
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
ปีที่พิมพ์:
2555
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
เปิดเผยเฉพาะบางส่วน (ไม่เปิดเผยเนื้อหา)

บทคัดย่อ:

บทคัดย่อ ชื่อเรื่อง : การศึกษาวิเคราะห์พระพุทธศาสนาในประชาคมอาเซียน โดย : นาวาอากาศเอก ฐิติวัฒน์ พูลสวัสดิ์ สาขาวิชา : สังคมและจิตวิทยา อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจัย : นาวาเอก ( รัฐฉัตร พุทธวัจน์ศิริ) สิงหาคม ๒๕๕๗ อาเซียนถือเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่มีบทบาทสำคัญองค์กรหนึ่ง ก่อตั้งขึ้นในนาม สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations)หรือ เรียกกันว่า อาเซียน (ASEAN) เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๐ มีสมาชิกจำนวน ๑๐ ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไนดารุสซาลาม เวียดนาม ลาว พม่า กัมพูชา และไทยโดยอาเซียนมีการพัฒนา อย่างต่อเนื่องและที่สำคัญการก้าวเข้าสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนในปีพ.ศ. ๒๕๕๘ ประกอบด้วย สามเสาหลัก ได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community-APSC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC) และ ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community-ASCC) ทั้งนี้ในด้าน สังคมและวัฒนธรรมของอาเซียนประชาชนในรัฐสมาชิกประชาคมอาเซียน มีความหลากหลายในด้านอารย ธรรม วัฒนธรรม เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ภาษาและศาสนาที่แตกต่าง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือหน่วยงาน ทางด้านศาสนาแต่ละประเทศต้องเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนนี้ในแง่มุมที่ แตกต่างกันไป พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่สำคัญและประชานในประชาคมอาเซียนนับถือจำนวนมาก ซึ่งต้องศึกษาเรียนรู้วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีซึ่งกันและกัน ทำให้ทราบถึงความเหมือนและ ความแตกต่างของพระพุทธศาสนาในแต่ละประเทศประชาคมอาเซียนเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูล เผยแผ่ กิจกรรมและการพัฒนาพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อไป การทำวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัย โดยผู้ กรุณาให้ข้อมูลสำคัญ คือ พระอาจารย์คึกฤทธ์โสตฺถิผโล เจ้าอาวาสวัดนาพง จ.ปทุมธานี นายสุจินต์ เพชรเนียน ผู้อำนวยการสำนักการต่างประเทศ สำนักเลขานุการสำนักนายกรัฐมนตรี และนาวาเอก รัฐฉัตร พุทธวัจน์ศิริ ผู้อำนวยการกองวิจัยและวิทยานิพนธ์ วิทยาลัยเสนาธิการทหาร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ อาจารย์ที่ปรึกษาภายใน สำหรับเทคนิคและเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การศึกษาข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการและผลงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องประชาคมสังคม￾วัฒนธรรมอาเซียนในด้านพระพุทธศาสนา รวมทั้งการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยผู้วิจัยได้ทำหน้าที่เป็นผู้ สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญแต่ละท่านด้วยตัวเอง หลังจากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้รับไปตรวจสอบและ วิเคราะห์โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาตามประเด็น ที่กำหนดไว้ ผลการศึกษาโดยเปรียบเทียบพระพุทธศาสนาในแต่ละประเทศประชาคมอาเซียนประกอบด้วย การ บริหารจัดการ การปกครองและการศึกษาของสงฆ์ บทบาทและกิจกรรมของสงฆ์รวมทั้งการประกอบ พีธีกรรมทางพุทธศาสนาพบว่า รัฐสมาชิกอาเซียนที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนานิกาย เถรวาทเดียวกันจะมีแนวทางการนับถือศาสนาเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันประเทศที่มีสงครามหรือเกิด ความไม่สงบภายใน พระสงฆ์จะมีบทบาททางการเมืองมากซึ่งเป็นที่พึ่งและศูนย์รวมจิตใจของ ประชาชนรัฐสมาชิกอาเซียนที่ประชาชนส่วนใหญ่เป็นมุสลิมจะนับถือมหายานนิกายที่ชาวจีนโพ้น ทะเลเป็นผู้นำมาเผยแพร่ นอกจากวัตถุประประสงค์หลักคือการเผยแพร่ อบรมสั่งสอนพระธรรมแล้ว วัดหรือสมาคมของชาวพุธบางแห่ง ไม่ได้มีเงื่อนไขหรือจำกัดด้วยเรื่องศาสนาโดยตรง อาจรวมการ บริการสาธารณะ ด้านสาธารสุข และสวัสดิภาพชุมชนอีกด้วย นาวาอากาศเอก ...... (ฐิติวัฒน์ พูลสวัสดิ์) นักศึกษาวิทยาลัยเสนาธิการทหาร รุ่นที่ ๕๕ สิงหาคม ๒๕๕๗

abstract:

ไม่มี