เรื่อง: การอยู่รอดของอุตสาหกรรมป้องกันประเทศภายใต้กระทรวงกลาโหม,The survival of defence industry beneath the Ministy Of Defence.
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
ไม่ระบุ/not specified
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, พ.อ. กฤษณ์ กิจวิวัฒนกุล
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2555
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
เปิดเผยเฉพาะบางส่วน (ไม่เปิดเผยเนื้อหา)
|
|
บทคัดย่อ:
บทคัดย่อ
เรื่อง : การอยู่รอดของอุตสาหกรรมป้องกันประเทศภายใต้กระทรวงกลาโหม
โดย : พันเอก กฤษณ์ กิจวิวัฒนกุล
สาขาวิชา: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจัย : พันเอก
( ศุภธัช นรินทรภักดี)
สิงหาคม ๒๕๕๗
สถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกในยุคโลกาภิวัฒน์ทำให้การรักษาความมั่นคง
ของรัฐเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากปัญหาวิกฤติการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้น
สามารถแพร่กระจายความรุนแรงได้อย่างรวดเร็ว จนอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐและความ
สงบสุขของประชาชนโดยรวม
กระทรวงกลาโหม ในฐานะที่เป็นหน่วยงานด้านความมั่นคง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง
ที่จะต้องพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศให้มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ก็เพื่อความพร้อมในการป้องกัน
ประเทศ และรักษาผลประโยชน์ของชาติไว้ การดำรงรักษาสถานภาพของกิจการอุตสาหกรรมป้องกัน
ประเทศ ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงกลาโหม จึงมีความสำคัญ ดังนั้น การเสริมบทบาทในการ
พัฒนาประสิทธิภาพเพื่อการอยู่รอดของอุตสาหกรรมป้องกันประเทศภายใต้กระทรวงกลาโหม ให้มีความ
ยั่งยืน เพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงทางทหาร ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ทั้งในภาวะปกติและภาวะ
สงคราม ควรมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ
การวิจัยเรื่อง การอยู่รอดของอุตสาหกรรมป้องกันประเทศภายใต้กระทรวงกลาโหม
มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และบทบาทของการดำเนินงานของอุตสาหกรรมป้องกัน
ประเทศ ภายใต้กระทรวงกลาโหม ๒) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยและปัญหาอุปสรรค รวมทั้ง ขีดความสามารถ
กของอุตสาหกรรมป้องกันประเทศภายใต้กระทรวงกลาโหม ๓) เพื่อเสนอแนะแนวทางการเสริมบทบาท
ในการพัฒนาประสิทธิภาพเพื่อความอยู่รอดของอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ภายใต้กระทรวงกลาโหม
การศึกษาวิจัยมีข้อค้นพบ ดังนี้ จากความจำเป็นด้านความมั่นคงแบบพึ่งพาตนเองนั้น
ในแต่ละประเทศก็มีลักษณะการกำหนดนโยบายที่แตกต่างกัน การที่จะบรรลุเป้าหมายความมั่นคง
แบบพึ่งพาตนเองให้ไม่สูญเสียสมดุลกับมิติด้านเศรษฐกิจและสังคมนั้น กระทรวงกลาโหมควรคำนึงถึง
การทำให้ประเทศของตนสามารถพึ่งพาตนเองให้ได้ โดยการหาจุดพอดีในสองส่วนระหว่างระดับการ
พึ่งพาภาคเอกชนภายในประเทศและต่างชาติกับการผลิตเองจากส่วนราชการภายใต้
กระทรวงกลาโหม ทั้งนี้แนวทางหนึ่งที่ควรพิจารณาคือ การร่วมมือกันระหว่างโรงงานของภาคส่วน
ราชการภายใต้กระทรวงกลาโหมทำหน้าที่เป็นผู้ผลิต กับภาคเอกชนในประเทศซึ่งทำหน้าที่ของผู้แทน
การจัดจำหน่าย ผลผลิตของอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ มีความจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนการ
ขับเคลื่อนจากนโยบายที่ชัดเจนและต่อเนื่องจากรัฐบาลในประเด็นนี้ นอกจากนี้ภาคเอกชนและ
ภาคอุตสาหกรรมป้องกันประเทศควรพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของตน โดยให้ความสำคัญ
สูงสุดต่อการวิจัยและพัฒนาให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้มาตรฐานเพื่อให้ตนเองเป็นเจ้าของเทคโนโลยี
และได้รับความไว้วางใจและการยอมรับจากผู้ใช้นอกจากนั้นยังต้องปรับปรุงกระบวนการผลิตให้ได้
มาตรฐาน และให้ความสำคัญต่อการสนับสนุนการซ่อมบำรุงหลังจากทำการขายยุทโธปกรณ์ไปแล้ว
ซึ่งนั่นจะทำให้อุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทยสามารถพัฒนาได้ในอีกด้านหนึ่งควรกำหนด
นโยบายที่ชัดเจนว่าประเทศไทยจะมุ่งสร้างอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ที่เป็นของคนไทยอย่าง
แท้จริงในด้านใดบ้าง และจัดสรรงบประมาณสนับสนุนในเบื้องต้น โดยให้ความสำคัญกับความ
ต้องการของกองทัพ และแนวโน้มของเทคโนโลยีของกองทัพ การวิจัยพัฒนา การสร้างต้นแบบ
การทดสอบทดลอง การผลิต ไปจนถึงการนำไปใช้ และการนำไปสู่ตลาดต่างประเทศโดยพยายามเน้น
กลุ่มประเทศในภูมิภาคอาเซียนเป็นหลัก จึงจะนำไปสู่การอยู่รอดของอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ
ได้อย่างมั่นคง และยั่นยืน
abstract:
ABSTRACT
Title : The survival of defence industry beneath the Ministry of Defence
By : Colonel Krit Kitwiwatkul
Field : Science
Research Advisor : Colonel
(Supathat Narindarabhakdi)
August 2014
The rapid changes of the world in the era of globalization make the security of a
state become a very vital issue. Due to the conflicts causing from globalization could spread
rapidly and violently and could affect a state’s security and the happiness of its people
altogether.
The Ministry of Defence as a governmental organization dealing with security issues
needs to develop its defence industry to be more effective in order to protect sovereignty
and national interests. Therefore supporting the survival of defence industry is important to
be effectively self-sustainable both in the peace time and during the conflicts.
This research aims to ๑) study theories, concepts and roles of the defecne industry
under the control of the Ministry of Defence ๒) analyze factors, capabilities and problems
the defence industry and ๓) provide proposals for the survival of the defence industry.
The results of this research are to be self-sustainable firstly the Defence Ministry
should set the balance between depending on internally and externally civil industries with
the defence industry. One solution is to reach agreements that the defence industry will act
as a manufacture while the civil industry will perform as a marketing company. Secondly, to
be survival, the government needs to have clear and continue policies toward the
development of the defence industry. These policies should emphasis on strong supports
for research and development for both civil and defence industries to set international
standards for the satisfactions and truths of customers. Moreover, these policies should focus on developing of competitive capabilities of industries which are belonging to Thai
owners. Lastly, the government should provide clear directions about what kinds of the
defence industries should be preserved for Thai citizens and the ways to promote Thai
defence products in international and regional markets. From these recommendations Thai
defence industry can be survive and sustain during the era of globalization.