Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การศึกษาคุณภาพชีวิตของข้าราชการศูนย์ต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
ไม่ระบุ/not specified
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, น.อ. นันทวุฒิ น้อยมี ร.น.
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
ปีที่พิมพ์:
2550
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
เปิดเผยเฉพาะบางส่วน (ไม่เปิดเผยเนื้อหา)

บทคัดย่อ:

บทคัดย่อ ชื่อเรื่อง :การศึกษาคุณภาพชีวิตของขา้ราชการศูนยต์ ่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง โดย : นาวาเอกนันทวุฒิ น้อยมี สาขา : สังคมจิตวิทยา อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจัย : นาวาเอก (ศิริพงศ์ ภมรบุตร) มิถุนายน ๒๕๕๒ การวิจัยเรื่อง การศึกษาคุณภาพชีวิตของข้าราชการศูนย์ต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคลกับระดับ คุณภาพชีวิต และข้อเสนอแนะในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของข้าราชการศูนย์ต่อสู้อากาศยานและ รักษาฝั่งโดยศึกษาคุณภาพชีวิตใน ๗ ด้านประกอบด้วย ดานสุขภาพ ด้านการศึกษา ด้านที่อยู่อาศัย ้ ด้านครอบครัว ด้านรายได้ ด้านการมีส่วนร่ วมและด้านสวัสดิการ เป็ นการวิจัยเชิงปริ มาณ (Quantitative research) โดยใช้วิธีวิจัยในรูปแบบการส ารวจเอกสาร (Document survey)และวิจัย เชิงส ารวจ (Survey research)โดยท าการสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเป็นช้ันภูมิ(Stratified Random Sampling) มีการจัดแบ่งประชากรเป็นกลุ่มหรือช้ันย่อยๆก่อน แล้วเลือกสุ่มตวัอย่างตามสัดส่วน (Proportional)ในแต่ละช้นั จากน้นัจึงใชก้ารสุ่มอย่างง่าย หาขนาดกลุ่มตวัอย่างจากน้นั เทียบสัดส่วน ตามขนาด ซึ่งได้จ านวนกลุ่มตัวอย่างแต่ละระดับช้ันยศต้งัแต่จ่าตรีจนถึงนาวาโทจา นวน ๒๐๐ คน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพอยู่ใน ระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ย ๓.๖๔ ระดับคุณภาพชีวิตด้านการศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ย ๓.๓๔ ระดับคุณภาพชีวิตด้านที่อยู่อาศัยอยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ย ๓.๕๘ ระดับคุณภาพชีวิตด้าน ครอบครัวอยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ย ๓.๙๒ ระดับคุณภาพชีวิตด้านรายได้อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ย ๓.๒๒ ระดับคุณภาพชีวิตด้านการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ย ๓.๓๙ และระดับคุณภาพชีวิตด้านสวัสดิการอยู่ในระดับปานกลางโดยมีค่าเฉลี่ย ๓.๐๙ ส่วนการเปรียบเทียบระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันกบัระดบัคุณภาพชีวิต พบว่าระดบั ช้นัยศแตกต่าง กันมีผลกับระดับคุณภาพชีวิตแตกต่างกัน อายุราชการแตกต่างกันมีผลกับระดับคุณภาพชีวิต แตกต่างกัน การศึกษาแตกต่างกันมีผลกับระดับคุณภาพชีวิตแตกต่างกัน สถานภาพการสมรส แตกต่างกันไม่มีผลกับระดับคุณภาพชีวิตแตกต่างกัน รายได้ของครอบครัวแตกต่างกันมีผลกับ ระดับคุณภาพชีวิตแตกต่างกัน และจ านวนบุคคลในครอบครัวแตกต่างกันมีผลกับระดับคุณภาพ ชีวิตแตกต่างกัน ข้อเสนอแนะจากการศึกษาพบว่าควรจัดให้มีกิจกรรมออกก าลังกายร่วมกันทุกวัน พุธอย่างจริงจงั เช่น การวิ่งร่วมกนั หรือกายบริหารร่วมกนั ด้านการศึกษาควรพิจารณาเปิ ดหลักสูตร ให้ครอบคลุมลักษณะการปฏิบัติงาน ด้านที่พักอาศัยควรส่งเสริมให้ข้าราชการมีที่พักอาศัยเป็นของ ตนเอง เช่น จัดหาแหล่งเงินกู้ หรือร่วมโครงการกับผู้ประกอบกิจการบ้านจัดสรรจัดสร้างโครงการ บ้านพักอาศัยราคาที่ไม่แพงมากนัก และสามารถเบิกค่าเช่าช้ือตามสิทธ์ิจากทางราชการได้ ครอบครัวควรมีการรณรงค์ในด้านสายใยรักครอบครัว เช่น การรับประทานอาหารร่วมกัน การท า กิจกรรมสันทนาการร่วมกัน หรือการออกก าลังกายร่วมกันภายในครอบครัว ด้านรายได้การปลูก จิตส านึกในการใช้จ่าย ด้วยการน าหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้อย่างเข้าใจ ไม่ฟุ้งเฟ้ออยากมี อยากไดต้ามผูอ้ื่น การลดภาระหน้ีสิน หรือการลดภาระค่าใชจ้่ายในครัวเรือน

abstract:

ไม่มี