เรื่อง: ความเครียดของทหารนาวิกโยธินที่ปฏิบัติหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
ไม่ระบุ/not specified
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, น.อ. ปรีชา รัตนสำเนียง ร.น.
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2548
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
เปิดเผยเฉพาะบางส่วน (ไม่เปิดเผยเนื้อหา)
|
|
บทคัดย่อ:
บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง : ความเครียดของทหารนาวิกโยธินที่ปฏิบัติหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยใน
พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
โดย : นาวาเอกปรีชา รัตนส าเนียง
สาขา : สังคมจิตวิทยา
อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจัย : นาวาเอก
( ศุภเศรษฐ์ ศิริสังข์ไชย)
มิถุนายน ๒๕๕๐
การวิจัยเรื่องความเครียดของทหารนาวิกโยธินที่ปฏิบัติหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย
ในพ้ืนที่จงัหวดั ชายแดนภาคใต้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียด ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อ
ความเครียด และปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน ที่มีผลต่อระดับความเครียดในการปฏิบัติงานของ
ทหารนาวิกโยธินที่ปฏิบัติหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยในพ้ืนที่จังหวดั ชายแดนภาคใต้เพื่อหา
แนวทางในการป้องกัน การเกิดความเครียดในการปฏิบัติงานของทหารนาวิกโยธินที่ปฏิบัติหน้าที่
รักษาความสงบเรียบร้อยในพ้ืนที่จังหวดั ชายแดนภาคใตมิให้ ้ สูงเกินไป จนส่งผลต่อประสิทธิภาพ
ในการปฏิบัติงาน เป็ นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) โดยใช้วิธีวิจัยในรูปแบบการ
ส ารวจเอกสาร ( Document survey ) และวิจัยเชิงส ารวจ (Survey research)ใช้ข้อมูลปฐมภูมิ
(Primary data) เป็ นข้อมูลสนามที่ได้จากการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม (Questionnaire) โดยใช้
แบบประเมินความเครียดของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขเป็ นแนวทาง ส่งแบบสอบถาม
เก็บข้อมูล จ านวน ๓๕๐ ชุด ได้กลับคืน ๓๔๙ ชุด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่า
เบี่ยงเบนมาตรฐาน และ One Way Anova
ผลการวิจัยสรุปได้ว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเครียดอยู่ในระดับปกติ และมีกลุ่ม
ที่มีความเครียดสูงกว่าปกติ คิดเป็ นร้อยละ ๒๒.๙๐ ทหารนาวิกโยธินเห็นว่าปัจจัยด้านสภาพงานที่ปฏิบัติมีผลต่อความเครียดมากที่สุด รองลงมาคือด้านสภาพแวดล้อมในงาน และด้านค่าตอบแทน
และสวัสดิการต่าง ๆ เมื่อพิจารณาในรายละเอียดของแต่ละด้านพบว่า ด้านสภาพงานที่ปฏิบัติ ความ
คาดหวังของผู้บังคับบัญชาที่มีต่อการปฏิบัติหน้าที่ราชการมีผลต่อความเครียดมากที่สุด ด้าน
สภาพแวดล้อมในงาน นโยบายของหน่วยเหนือมีผลต่อความเครียดมากที่สุด ด้านค่าตอบแทนและ
สวัสดิการต่างๆ ระบบสวัสดิการในการลาพักผ่อน (ชุดพัก) มีผลต่อความเครียดมากที่สุด ส่วนการ
เปรียบเทียบระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดกับปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน พบว่า ใน
ภาพรวม ระดับช้ันยศอายุสถานภาพ รายได้และระยะเวลาที่ปฏิบตัิหนา้ที่ในพ้ืนที่ที่แตกต่างกันมี
ระดับความเครียดไม่แตกต่างกัน แต่ภูมิล าเนาที่แตกต่างกันมีระดับความเครียดแตกต่างกัน โดย
ปัจจัยด้านสภาพงานที่ปฏิบัติ พบว่า ภูมิล าเนาที่แตกต่างกันมีระดับความเครียดต่างกัน ด้าน
สภาพแวดล้อมในงาน ระดับช้ันยศและภูมิลา เนาที่แตกต่างกันมีระดับความเครียดต่างกัน ด้าน
ค่าตอบแทนและสวัสดิการต่าง ๆ รายได้ที่แตกต่างกันมีระดับความเครียดต่างกัน
ข้อเสนอแนะจากการศึกษาพบว่าควรให้การเอาใจใส่และดูแลทหารนาวิกโยธินที่เป็ น
กลุ่มนายทหารช้ันประทวน กลุ่มที่มีอายุระหว่าง ๒๐-๓๐ ปี กลุ่มที่มีภูมิล าเนาอยู่ภาคกลาง กลุ่มที่
สมรสแล้ว กลุ่มที่มีรายได้ต ่ากว่า ๑๐,๐๐๐ บาท และกลุ่มที่มีระยะเวลาที่เคยปฏิบตัิหน้าที่ในพ้ืนที่
จังหวัดชายแดนภาคใต้น้อยกว่า ๑ ปีเป็ นกรณีพิเศษเนื่องจากผลการศึกษาพบว่าเป็ นกลุ่มที่มีระดับ
ความเครียดสูงกว่าเกณฑ์ปกติมากที่สุด และควรปรับปรุงปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดในระดับสูง
เพื่อลดระดับความเครียดของก าลังพล ได้แก่ความคาดหวังของผู้บังคับบัญชาที่มีต่อการปฏิบัติ
หน้าที่ราชการ นโยบายของหน่วยเหนือ และระบบสวัสดิการในการลาพักผ่อน (ชุดพัก) ในการ
จดักา ลงัพลออกปฏิบตัิราชการในพ้ืนที่จังหวดั ชายแดนภาคใต้ควรคา นึงถึงภูมิลา เนาของกา ลงัพล
ด้วยเนื่องจากผลการศึกษาพบว่าภูมิล าเนาที่แตกต่างกันมีระดับความเครียดแตกต่างกัน โดยพบว่า
กลุ่มที่มาจากภาคเหนือ ภาคอีสาน จะมีความเครียดสูงสุด
abstract:
ABSTRACT
Title : The strain on marines on security duty in the southern
border provinces area
By : Captain Preecha Rattanasamnieng RTN.
Major Field : Social Psychology
Research Adviser : Captain RTN.
(Supaset Sirisungchai )
June 2007
The purposes of this research were to study level of strain, factors which
affect the strain and individual factors which affect the level of strain. The result of the
research could be used as guideline of preventive method in stress control for the
marines working in the southern border provinces area of Thailand. Quantitative
research was applied for the study by using documentary survey and survey research.
Strain evaluation questionnaire from psychiatric department, ministry of health was
used. Three hundred and forty-nine from three hundred and fifty questionnaires were
sent back. The data were collected and analyzed by descriptive and inferential
statistics. Percentage mean standard deviation and one way ANOVA were used for
data analyzed.
The research revealed that only 22.9 percent of the marines were in high
level of strain. The strain came from many factors; task significant, working
environment and compensation respectively. The research also showed detail in each factors. First of all, expectation of commander was the most important part of task
significant factor, while working environment factor was affected by higher level’s
policies. At last, providing for vacation was the most important part of compensation
factor. Comparing between stress factors and individual factors, the research pointed
out that rank, age, martial status income and period of working in the area didn’t have
any significant effect to the strain. However, the different of hometown was the most
important part affected the strain. To prevent the marines from strain, higher command
should concentrate on the marines who are; non commission officer, in 20 -30 years
old, came from the central part of Thailand, income less than 10, 000 baht and working
in the area less than 1 year. To increase performances of the marines, important factors
as shown above should be paid more attention. Finally, should consider the officer’s
domicile because from the study show the marines from north and northeastern area
has the highest strain.