Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: ผลกระทบของการประกาศใช้กฎอัยการศึกในประเทศไทย

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
ไม่ระบุ/not specified
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, พ.อ. ประชาพัฒน์ วัจนะรัตน์
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
ปีที่พิมพ์:
2548
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
เปิดเผยเฉพาะบางส่วน (ไม่เปิดเผยเนื้อหา)

บทคัดย่อ:

บทคัดย่อ ชื่อเรื่อง : ผลกระทบของการประกาศใช้กฎอัยการศึกในประเทศไทย โดย : พันเอก ประชาพัฒน์ วัจนะรัตน์ สาขาวิชา : สังคมจิตวิทยา อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจัย : นาวาอากาศเอก (สุรสีห์ โฉมที) มิถุนายน ๒๕๕๐ การประกาศใช้กฎอัยการศึกในประเทศไทยที่ผ่านมา พบว่า ผู้มีอ านาจประกาศใช้ กฎอยัการศึก มิได้พิจารณาถึงผลกระทบจากการประกาศใช้กฎอยัการศึกในคร้ังน้ันโดยละเอียด ท้งัน้ีเนื่องจากปัญหาความจ าเป็ นเฉพาะหน้าและปัจจัยด้านเวลา การประกาศใช้กฎอัยการศึกใน ประเทศไทยท้งัหมด จา นวน ๑๑ คร้ัง รวมคร้ังสุดทา้ยเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ซึ่งประกาศ โดยคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข น้นั ผลกระทบหลักส าคัญที่นักวิชาการ ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมาย ฝ่ ายทหารและพลเรือน หยิบ ยกข้ึนเป็นขอ้วิเคราะห์ได้แก่ แนวความคิดทางเศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง สังคมจิตวิทยา การ ป้องกันประเทศของฝ่ ายทหาร และการบังคับใช้กฎหมาย ดังน้ัน การศึกษาวิจัย เรื่องผลกระทบ จากการประกาศใช้กฎอยัการศึกในประเทศไทยน้ีก็เพื่อศึกษารวบรวมข้อมูลผลกระทบจากการ ประกาศใช้กฎอัยการศึก ศึกษาข้อเสนอแนะ เพื่อบรรเทาผลกระทบหากจ าเป็ นจะต้องมีการ ประกาศใชก้ ฎอยัการศึกข้ึนอีกในอนาคต จากการคร้ังน้ีดา เนินการวิจัยเอกสาร โดยศึกษาข้อมูลประวัติศาสตร์ ประกอบเชิง พรรณนา พบว่า ผลกระทบจากการประกาศใช้กฎอัยการศึกในประเทศไทย มีประเด็นหลักอยู่ที่ การเมืองการปกครอง และสภาพสังคมจิตวิทยาของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การประกาศใช้ กฎอัยการศึกประกอบการปฏิวัติรัฐประหาร ซึ่งส่งผลกระทบมากกว่าการประกาศใช้กฎอัยการศึก ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขปกติตามกฎหมาย กฎอัยการศึก โดยที่ฝ่ ายทหารได้รับเครื่องมือทางกฎหมายพิเศษ เพื่อสนับสนุนภารกิจในการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมนั่ คง จากภยัคุกคาม ท้งัภายในและภายนอกประเทศ ผลที่ได้จากการวิจัยดังกล่าว น าไปสู่ข้อเสนอแนะหลัก ๓ ประการ กล่าวคือ ๑. ควรก าหนดห้วงระยะเวลาของการประกาศใช้กฎอัยการศึกที่ชัดเจนแน่นอนข้ึน ไว้พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก ด้วยเหตุผลที่ว่า การประกาศใช้กฎอยัการศึกทุกคร้ังย่อมส่งผล กระทบกระเทือนถึงประชาชนในชาติเป็นส่วนรวม ดงัน้นั ขอ้พิจารณาให้คงบงัคบั ใชก้ ฎอัยการศึก ต่อไปอีกในห้วงระยะเวลาที่ยาวนานเกินกว่าที่ก าหนด ควรได้รับการตรวจสอบเหตุผลและความ จ าเป็ น และได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาในฐานะที่เป็ นผู้แทนของปวงชนชาวไทยภายใต้การ ปกครองระบอบประชาธิปไตย ๒. ควรแก้ไขบทบัญญัติแห่งกฎอัยการศึก พ.ศ.๒๔๕๗ ในเรื่องกฎหมายคุ้มครอง ความไม่รับผิดทางแพ่งของเจ้าหน้าที่ฝ่ ายทหาร ซึ่งปฏิบัติการตามกฎหมายกฎอัยการศึก และแก้ไข ระยะเวลาในการกักตัวบุคคล ซึ่งแต่เดิมกฎหมายให้ระยะเวลา ๗ วัน พิจารณาเห็นว่าน้อยเกินไป เพื่อให้ครอบคลุมถึงการใช้อ านาจตามมาตรการพิเศษของกฎอัยการศึก โดยเจ้าหน้าที่ฝ่ ายทหารใน ทุกกรณีพร้อมท้งัการออกขอ้บงัคบั บรรยายความเพิ่มเติมตามกฎอยัการศึกข้ึนใหม่ เพื่อให้ทนั สมยั รัดกุม รวมถึงบทลงโทษของผู้ฝ่ าฝื นให้ชัดเจน พอที่จะให้เจ้าหน้าที่ฝ่ ายทหารน ามาเป็นหลักปฏิบัติ เมื่อมีการประกาศใช้กฎอัยการศึก ๓. ควรแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง คือ พระราชบัญญัติ ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๖๑ ที่บัญญัติให้คู่ความในศาลทหาร ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ ฎีกา ในขณะประกาศใช้ กฎอัยการศึก เพื่อให้คู่ความมีสิทธิอุทธรณ์ ฎีกา ได้ ตามหลักสิทธิเสรีภาพทางการศาลให้เท่า เทียมกนั ท้งัในขณะประกาศกฎอยัการศึกหรืออยู่ในภาวะปกติABSTRACT Title : Impact of Martial Law Promulgated under the Reason of Revolution in Thailand By : Colonal Prachaphat Watchanaratana Major Field: Social-Psychology Research Advisor: Group Captain (Surasee Chomtee ) June 2007 In the past 11 Martial Law promulgated in Thailand, include 19 September 2006, by the reason of revolution, the revolution team never prepared the consequences due to the short of time. The main factors affecting Martial Law promulgated were raised by Law technocrat, Military, and Civilian were related to economic, politic, and socio-psychology, military defense, and law enforcement aspect. The objectives of the study were to study the impact of martial law promulgated in Thailand and to study the suggestions that could be used to reduce consequences and impact in the next future if needed. Documentary research technique was used for the study by using the history data and information of martial law used in Thailand. All data and information were analyzed under political and socio-psychological aspect. The study found the impact of martial law used by the reason of revolution in Thailand was much more than martial law used in the reason of national security by military. Three main suggestions from the study were conducted; 1. Promulgated of time period of martial law should clearly identify due to promulgate of martial law effect the people. Martial law uses period expanded should be checked for the reason and accepted by the constitution before applied. 2. Protection under provision of martial law (2457) should be edited and revised such as the seven days of confine is too short for military reason thus, should add some new updated issues including punishment in martial law. 3. Related law, legislation act and military court law, 61/ 2498, should be revised under equal liberty and rights.

abstract:

ไม่มี