Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการคุ้มครองพยานในคดีอาญาของกระทรวงกลาโหม

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
ไม่ระบุ/not specified
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร, พ.อ. ภาณุ พรหมดิเรก
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
ปีที่พิมพ์:
2547
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
เปิดเผยเฉพาะบางส่วน (ไม่เปิดเผยเนื้อหา)

บทคัดย่อ:

บทคัดย่อ ชื่อเรื่อง : แนวทางการคุ้มครองพยานในคดีอาญาของกระทรวงกลาโหม โดย : พันเอก ภาณุ พรหมดิเรก สาขาวิชา : การทหาร อาจารย์ที่ปรึกษาเอกสารวิจัย : พันเอก (นรชัย วงษ์ดนตรี) พฤษภาคม ๒๕๔๙ ประเทศไทยได้ตราพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ.๒๕๔๖ ออกมาใช้ บังคับโดยมี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็ นหนึ่งในผู้รักษาการ กระทรวงกลาโหมจึงได้ออก ระเบียบกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ.๒๕๔๘ มีคณะกรรมการ คุ้มครองพยานกระทรวงกลาโหม คณะกรรมการคุ้มครองพยานมณฑลทหาร และคณะกรรมการ คุ้มครองพยานจังหวัดทหาร มีอ านาจหน้าที่ในการพิจารณาให้การคุ้มครองพยาน และมีบันทึก ขอ้ ตกลงระหว่างกระทรวงยุติธรรมกับกระทรวงกลาโหม เพื่อประสานการปฏิบตัิระหว่างท้งัสอง กระทรวง แต่การปฏิบัติตามกฎหมายระเบียบ และบันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็ นเรื่องใหม่ เแต่ละ เหล่าทัพยังไม่มีระเบียบปฏิบัติรองรับ และยังไม่มีแนวทางการปฏิบัติของคณะกรรมการและ พนักงานเจ้าหน้าที่ จนถึงปัจจุบันจึงยังไม่มีการปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบดังกล่าว หากมีการ ปฏิบตัิตามกฎหมายฉบบั น้ีจริงเมื่อใดอาจเกิดปัญหาข้อขัดข้องหรือข้อผิดพลาดจนท าให้เกิดความ เสียหายต่อท้งักระทรวงกลาโหม คณะกรรมการและพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวขอ้ง รวมตลอดถึง พยานบุคคล และผลแห่งคดี การศึกษาวิจยัคร้ังน้ีมีวตัถุประสงคเ์พื่อศึกษาประวตัิความเป็นมาแนวความคิดในการ มีมาตรการให้ความคุ้มครองพยานในคดีอาญา ศึกษาเปรียบเทียบมาตรการให้ความคุ้มครองพยาน ในคดีอาญาของไทยกับต่างประเทศ ศึกษาแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการและพนักงานเจ้าหน้าที่ตามระเบียบกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการคุ้มครองพยาน พ.ศ.๒๕๔๘ ศึกษา ประโยชน์ที่กระทรวงกลาโหมจะได้รับจากการด าเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานใน คดีอาญา พ.ศ.๒๕๔๖โดยมีสมมติฐานว่า พยานในคดีอาญาที่กระทรวงกลาโหมให้ความคุ้มครองจะ ได้รับความปลอดภัย กล้าให้ถ้อยค าด้วยความจริงไม่เกรงกลัวต่อการถูกคุกคาม ประชาชนจะเห็นว่า กระทรวงกลาโหมสามารถปฏิบัติการทางทหารที่ไม่ใช่สงครามโดยช่วยเหลือกระบวนการยุติธรรม ในการคุ้มครองพยาน ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการวิจัยเชิงพรรณนา โดยการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์ ผลการวิจัย พบปัญหาข้อขัดข้องน าไปสู่ข้อเสนอแนะหลายประการ เช่น ปัญหาเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติของ คณะกรรมการคุ้มครองพยานได้เสนอแนะให้ส านักงานคุ้มครองพยานวางระเบียบปฏิบัติของ คณะกรรมการคุ้มครองพยาน เช่นการรับค าร้อง การรักษาความลับ ระยะเวลาในการด าเนินการ และในระหว่างที่ส่วนราชการข้ึนตรงต่อกระทรวงกลาโหม และเหล่าทัพ ด าเนินการวางระเบียบ ภายในเกี่ยวกับการคุ้มครองพยาน ผู้วิจัยได้เสนอแนะให้ คณ ะกรรมการคุ้มครองพยาน กระทรวงกลาโหม ซ่ึงมีเขตอา นาจไม่จา กัดพ้ืนที่ ด าเนินการคุ้มครอง พยานแทนคณะกรรมการ คุ้มครองพยานมณฑลทหารคณะกรรมการคุ้มครองพยานจังหวัดทหาร ไปพลางก่อน นอกจากน้ัน เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณค่าที่พกัในระยะเริ่มแรกเห็นควรให้ทา การซ่อมปรับปรุงกองร้อย/ กองพัน ที่ไม่มีการใช้งานให้เป็ นสถานที่คุ้มครองพยาน รวมท้งัเสนอแนะให้มีการประชาสัมพนัธ์ และเผยแพร่ความรู้ให้ประชาชนและข้าราชการกระทรวงกลาโหมทราบ ส่วนปัญหาก าลังพลในการ ปฏิบัติหน้าที่ได้เสนอแนะให้ส านักงานคุ้มครองพยานกระทรวงกลาโหมส านักงานคุ้มครองพยาน มณฑลทหาร และส านักงานคุ้มครองพยานจังหวัดทหาร เป็นหน่วยในอัตราของ กรมพระธรรมนูญ มณฑลทหาร และจังหวัดทหาร ตามล าดับ โดยก าหนดอัตราและบรรจุก าลังพลในอัตราใน ส านักงานดังกล่าว เพื่อรองรับการปฏิบัติหน้าที่ประจ าส านักงานน้นัโดยตรง นอกจากน้ันผู้วิจัยได้เสนอแนะในการศึกษาวิจัยต่อไปโดยติดตามผลการคุ้มครอง พยานในคดีอาญาของกระทรวงกลาโหมว่ายังมีจุดบกพร่องส่วนใด พยานหรือบุคคลที่ได้รับการ คุ้มครองมีทัศนะคติอย่างไร สถิติคดีที่มีการคุ้มครองพยานมีผลให้ศาลทหารลงโทษผู้กระท าผิดได้ มากข้ึนหรือไม่เพียงใด การคุม้ครองพยานมีผลให้พยานหรือบุคคลที่ได้รับการคุ้มครองมีความ มนั่ ใจในระบบการคุม้ครองพยานของกระทรวงกลาโหมหรือไม่เพียงใด จ าเป็ นต้องมีการแก้ไข ปรับปรุงระเบียบกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ.๒๕๔๘ ในประเด็น ใดหรือไม่ อย่างไร

abstract:

ไม่มี