เรื่อง: แนวทางการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยในด้านโรคติดต่ออุบัติใหม่และโรคระบาดตามกรอบกฎอนามัยระหว่างประเทศ ค.ศ.2005
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย โอภาส การย์กวินพงศ์
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2560
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยในด้านโรคติดต่ออุบัติใหม่และ
โรคระบาดตามกรอบกฎอนามัยระหว่างประเทศ ค.ศ. 2005”
ลักษณะวิชา สังคมวิทยา
ผู้วิจัย นายโอภาส การย์กวินพงศ์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 60
โรคติดต่ออุบัติใหม่และโรคระบาด มีผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน สังคมเศรษฐกิจ
และความมั่นคง ของประเทศและของโลก องค์การอนามัยโลกได้จัดท ากฎอนามัยระหว่างประเทศ
ค.ศ. 2005 ขึ้น เพื่อให้ทุกประเทศเตรียมการรับมือกับภัยคุกคามดังกล่าว โดยการพัฒนากลไกการ
เฝ้าระวัง ห้องปฏิบัติการ บุคลากร การด าเนินงานที่ช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศ ตลอดจนกลไก
การประสานงานระหว่างประเทศสมาชิกกับองค์การอนามัยโลก การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษา 1. การด าเนินงานตามกฎอนามัยระหว่างประเทศค.ศ. 2005 โดยอาศัยกรอบการประเมิน
องค์การอนามัยโลกและนานาชาติรวมถึงประสิทธิผลต่อการรับมือกับโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่เกิดขึ้นจริง
2. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องปัญหาและอุปสรรค ต่อการด าเนินการตามกฎอนามัยระหว่างประเทศในการ
ป้องกันควบคุมโรคติดต่ออุบัติใหม่ 3. เพื่อเสนอแนะแนวทางการด าเนินงานเตรียมความพร้อมของ
ประเทศไทย ในด้านโรคติดต่ออุบัติใหม่และโรคระบาดตามกรอบ กฎอนามัยระหว่างประเทศค.ศ. 2005
โดยเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ทบทวนผลการด าเนินงานที่ผ่านมาตามเอกสารที่จัดท าอยู่แล้วและการ
ประเมินผลการท างานดังกล่าวของประเทศไทย ที่เรียกว่า Joint External Evaluation (JEE) ตลอดจน
ข้อคิดเห็นของผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติและผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง การศึกษาครั้งนี้พบว่า การตอบสนองต่อ
โรคระบาดและโรคติดต่ออุบัติใหม่ของประเทศไทยด าเนินการได้ดี สามารถควบคุมโรคติดต่อส าคัญ
ได้มีประสิทธิผล เช่นกรณีไข้หวัดนก โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง ตลอดจนผลการประเมินผล
Joint External Evaluation (JEE) เมื่อปีพ.ศ.2560 พบว่าจากตัวชี้วัด 48 ตัวชี้วัด ประเทศไทย
มีสมรรถนะที่ยั่งยืน (ดีมาก) 4 ตัวชี้วัดสมรรถนะที่สอดคล้อง ให้เห็นจริง มี 30 ตัวชี้วัดและสมรรถนะ
ที่ต้องพัฒนา (ปานกลาง) 12 ตัวชี้วัด โดยมีข้อเสนอแนะ เพื่อพัฒนาดังนี้ 1. ด าเนินการให้มีแผน
ระดับชาติ ที่มีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนร่วมกันให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ2. ด้านโครงสร้างให้มี
คณะกรรมการและหน่วยงานหลัก หน่วยงานสนับสนุนขับเคลื่อนการท างานดังกล่าว โดยประสาน
ความร่วมมือ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ ตลอดจนองค์การอนามัยโลก 3. การพัฒนาด้านพื้นฐาน
ทั้งด้านบุคลากร การลงทุนพัฒนาห้องปฏิบัติการ การพัฒนาการจัดการที่ช่องทางเข้าออกระหว่าง
ประเทศรวมถึงสิ่งสนับสนุนที่จ าเป็น (เช่น ห้องกักกันโรค เป็นต้น) ต้องได้รับการสนับสนุน งบประมาณ
ที่เพียงพอ 4. ให้น าผลการการประเมิน JEE มาพัฒนาปรับปรุงโดยเร็ว ให้มีกรอบเวลาที่ชัดเจนการ
ด าเนินงานดังกล่าวอย่างต่อเนื่องโดยได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและทุกภาคส่วนจะท าให้ประเทศไทย
มีความพร้อมในการรับมือปัญหาดังกล่าว สอดคล้องกับเป้าหมายและยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
abstract:
Abstract
Title : Thailand's preparedness for emerging infectious diseases and epidemic
in the framework of the International Health Regulations (2005)
Field : Science and Technology
Name: Dr. Opart Karnkawinpong Course NDC Class 60
Emerging infectious diseases (EIDs) and epidemic have impact on public
health, society, economy and security of the countries and of the world. With this
concern, the World Health Organization (WHO) has collaborated with 198 member
countries worldwide including Thailand, to adopt the International Health Regulations
(IHR) 2005. The IHR requires all countries to have preparedness for such threats by
strengthening and maintaining their capacities including surveillance, laboratory, human
resources, management at point of entry, as well as coordinating mechanism between
member countries of the WHO. This study had following aims : 1. to assess the IHR 2005
implementation with the WHO and international evaluation, and effectiveness of
response to EIDs that had occurred; 2. to explore relevant obstacles on the IHR 2005
implementation for the EID’s prevention and control; and 3. to provide guidance for
Thailand’s preparation on EIDs and epidemic follow the IHR 2005’sframeworks. The study
design was a qualitative study. The WHO and international’s evaluation called Joint
External Evaluation(JEE) was used to review the performance of Thailand’s operations in
accordance with the documents already prepared. The related policy makers, operators,
and experts were interviewed to obtained their opinions and comments. The results
showed that Thailand had high capabilities on public health response and effective
control to outbreaks or EIDs such as avian influenza and Middle East Respiratory
Syndrome (MERS). The JEE mission in 2017 revealed that, of 48 indicators; Thailand
had sustainable capacity on 4 indicators, demonstrated capacity on 30 indicators, and
developed capacity on 12 indicators. The mission had recommendation for Thailand’s
further development as: 1. implementing a national plan that participate all sectors in
accordance with the national strategies; 2. affording committee, main organization, and
supporting unit to drive such works in collaboration with domestic and international
organization as well as the WHO; 3.dministering sufficient budget to promote human
resource development, laboratory investment, point of entry development, and
necessary supports (such as quarantine rooms); 4. taking the JEE’s result to improve
capacities at soon and clear time frame. Continuous implementation for EID preparedness
with support from the government and all sectors will enable Thailand to be ready
to tackle such threats, and align with the 20 years National Goals and Strategies.