เรื่อง: แนวทางการส่งเสริมการผลิตโคเนื้อให้เพียงพอต่อการบริโภคในภาคตะวันออก
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเศรษฐกิจ/Economics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย อําพันธุ เวฬุตันติ
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2560
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางการส่งเสริมการผลิตโคเนื้อให้เพียงพอต่อการบริโภคในภาคตะวันออก
ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ
ผู้วิจัย นายอ าพันธุ์ เวฬุตันติ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 60
การศึกษาวิจัยแนวทางการส่งเสริมการผลิตโคเนื้อให้เพียงพอต่อการบริโภคในภาค
ตะวันออก มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการเลี้ยงและปัญหาการผลิตโคเนื้อของเกษตรกรในภาค
ตะวันออกเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตโคเนื้อของเกษตรกรตั้งแต่ระดับฟาร์ม โรงฆ่าสัตว์ สถานที่
จ าหน่ายเนื้อสัตว์ ตลอดจนเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการผลิตโคเนื้อให้เพียงพอต่อการบริโภค โดย
ท าการศึกษาจากผู้น าเกษตรกร เจ้าของโรงฆ่าสัตว์/เจ้าของสถานที่จ าหน่ายเนื้อสัตว์ และโรงแรม/
ภัตตาคาร/ร้านอาหาร รวม 194 ราย ในพื้นที่ 8 จังหวัด รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม
ส าเร็จรูป ค่าสถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาวิจัย พบว่า ผู้น าเกษตรกร ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 86.42 อายุ 41-55 ปี
สมรสแล้ว การศึกษาระดับประถมศึกษา ไม่มีต าแหน่งทางสังคม มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4 คน
อาชีพหลักเลี้ยงสัตว์ มีพื้นที่ถือครองเฉลี่ย 25.43 ไร่ แต่มีพื้นที่ปลูกหญ้าเพียงร้อยละ 61.73 โดยปลูก
หญ้าเฉลี่ย 4.28 ไร่/คน พื้นที่ไม่ได้เช่า ส่วนใหญ่ไม่มีพ่อพันธุ์ มีแม่พันธุ์เลี้ยงเฉลี่ย 8.44 ตัว มีลูกโค
และโครุ่นเพศผู้ 4.26 ตัว ลูกโค-โคสาว เพศเมีย 5.01 ตัว โดยมีโคเฉลี่ย 17.28 ตัว/ครัวเรือน แรงงาน
ในครัวเรือนเฉลี่ย 1.84 คน ใช้เงินทุนของตนเองเฉลี่ย 223,862 บาท/ครัวเรือน เกษตรกรผู้น าเป็น
สมาชิกกลุ่มขึ้นทะเบียนกับกรมปศุสัตว์ มีความรู้ในการเลี้ยงโคเนื้อ มีการส ารองฟางแห้งไว้ใช้ในยาม
ขาดแคลน แต่ยังขาดระบบการป้องกันโรคเข้าฟาร์ม (ร้อยละ 60.49) และมีปัญหาโรคพยาธิภายนอก/
ภายใน ส าหรับการตลาด เกษตรกรขายโคเนื้อได้ 1-5 ตัว/ปี ในราคา 30,000-150,000 บาท ให้พ่อค้า
ท้องถิ่น แบบเหมาทั้งฝูง โดยตีราคาเป็นรายตัว ซึ่งเจ้าของโคเป็นผู้ก าหนดราคา การให้บริการด้าน
สุขภาพจากเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ นอกจากนี้เห็นว่า การเลี้ยงโคเนื้อท าให้สภาพชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น
ตลอดจนท าให้สภาพแวดล้อมดีขึ้น ส่วนด้านการส่งเสริมนั้นให้ความส าคัญการรวมกลุ่มและเน้นด้าน
การตลาด
ด้านผู้ประกอบการโรงฆ่า ด าเนินธุรกิจมามากกว่า 15 ปี จะรับซื้อโคจากเกษตรกรทั่วไป
เข้าโรงฆ่า วันละ 1-2 ตัว โดยการชั่งน้ าหนักเป็นรายตัว ราคากิโลกรัมละ 80 บาท และ 85 บาท
ปัญหาที่พบ คือ โคมีชีวิตราคาแพง และเห็นว่าธุรกิจนี้มีแรงจูงใจท าให้มีรายได้ที่มั่นคง เลี้ยงชีพได้
ด้านสถานที่จ าหน่ายเนื้อสัตว์ ด าเนินธุรกิจมาแล้วเป็นระยะเวลา 1-5 ปี ราคาขายเนื้อโค
ในตลาดปัจจุบัน มากกว่า 200 บาทขึ้นไป เครื่องในราคา 100-150 บาท ปัญหาที่พบคือ คุณภาพเนื้อ
โค และเห็นว่าธุรกิจนี้มีแรงจูงใจท าให้มีรายได้ที่มั่นคง เลี้ยงชีพได้
ด้านเจ้าของโรงแรม/ภัตตาคาร/ร้านอาหาร ผู้ประกอบการท าธุรกิจมากกว่า 6 ปี มีการ
ซื้อเนื้อโคจากร้านค้าส่งขนาดใหญ่ ต้องการเนื้อโคสดมากกว่าแช่เข็ง/แช่เย็น เป็นเนื้อโคขุนสายพันธุ์
ยุโรป และเนื้อโคพื้นเมือง ต้องการเนื้อโควันละ 1-10 กก. ไม่จ าเป็นต้องมีเครื่องหมายฮาลาล ปัญหา
ที่พบเนื้อโคราคาแพง คุณภาพของเนื้อโค แบรนด์ของเนื้อโคไม่มีผลต่อการตัดสินใจ ลูกค้าส่วนใหญ่ข
เป็นชาวไทย รองลงมาชาวยุโรป ชาวจีน และเห็นว่าภาครัฐควรส่งเสริมให้บริโภคเนื้อโคเพิ่มขึ้น เป็น
เนื้อที่มีคุณภาพและมีมาตรฐาน
ข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการผลิตโคเนื้อ โดยการรวมกลุ่มในรูปแบบสหกรณ์
สร้างความเชื่อมโยงเครือข่ายต้นน้ า กลางน้ า และปลายน้ า เน้นการเลี้ยงโคเนื้อแบบ Intensive ฟาร์ม
และการท าเสบียงอาหารสัตว์ไว้ใช้ยามขาดแคลน มีระบบป้องกันโรค GFM ด าเนินการให้โรงฆ่าได้
รับรองมาตรฐาน GMP การซื้อขายโคเนื้อแบบชั่งน้ าหนักให้ผ่านกลุ่ม/สหกรณ์ ด าเนินการผลิตโคเนื้อ
ทุกสายพันธุ์ตามศักยภาพของเกษตรกรให้เพียงพอต่อความต้องการบริโภค ให้ด าเนินการขยายผล
โครงการโคบาลบูรพาให้ครอบคลุมทุกจังหวัดในพื้นที่ จะท าให้ปริมาณสัตว์เพียงพอต่อการบริโภค
ตลอดจนการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเครือข่ายโคเนื้อใน ภาคตะวันออกที่สมบูรณ์ครบถ้วนเป็น
ฐานข้อมูลเดียวกัน เพื่อวางแผนการผลิตการตลาดให้มั่นคงและยั่งยืนต่อไป
abstract:
Abstract
Title The Methods to Support the Production of Beef Cattle to be Adequate for
Consumption in the East of Thailand
Field Economics
Name Mr. Ampan Welutanti Course NDC Class 60
The study of the methods to support the beef cattle to be adequate for consumers in the
East of Thailand. The objective of this study is to study the condition of animal husbandry and
production to analyze the factors able to affect the production in farms, slaughterhouse, and butcher
shops. Also, it was to provide the ways to make the beef cattle production adequate for consumption by
studying from farmers’ leaders, butcher shops’ owners, slaughterhouses’ owners, hotels, restaurants
which are 194, in 8 provinces. The data were gathered and analyzed by instant programs. The statistical
values which were used are mean, percentage, and standard deviation.
The result revealed that most of farmers’ leaders are male, 88.42%, aged 41-55,
marriage, completing primary schools, having no social positions, having 4 members on the average
in each family. Their main occupations are animal husbandry. They pose 25.43 rai on the average,
but only 61.79% for planting grass, 4.28 rai per person on the average. The areas not rent mostly
have no male breeders, but have 8.44 female breeders on the average, 4.26 male calves, 5.01 female
calves, with 17.28 cows per families on the average. The average of household labor usage was
1.84 persons, capital spending is 223,862 baht per household on average. Farmer leaders were
members registered with the Department of Livestock, and they had knowledgeable in beef cattle.
They reserved dry straw to use in case of the shortage. However, there was a lack of disease
prevention system (60.49%), and also parasitic disease. As for marketing, farmers sold 1-5 beef
cattle per year at 30,000-150,000 baht to local traders by buying the whole at individual, and the
persons who priced is the beef cattle owners. Health services were offered by from livestock
officials. Also, it was found that beef cattle made the living conditions and environmentbetter. As
for the promotion, integration and marketing were emphasized.
The slaughterhouse operators, who had worked more than 15 years, purchased 1-2
cows from farmers per day by weighing them individually. The price is 80 baht and 85 baht per 2
kilo. The problem is that alive cattle are expensive, and it was found that this business motivated
to earn stable incomes.
The butcher shops, who had operated more than 15 years, priced the beef over 200
baht , and entrails 100-150 baht. The problem was the quality, and it was found that this business
motivated to earn stable incomes.
The owner of the hotels / restaurants having operated more than 6 years have bought
beef from large wholesalers. They wanted fresh beef more than frozen beef, and also wanted
European and local beef 1-10 kilos of beef per day. The beef is not required to be Halal. The
problem is the expensive prices, quality, the brands of beef having no effect on decision. Most
customers are Thai, Chinese, European. It was suggested that the government should promote the
consumption of beef. The beef are in good quality and standard.
The suggestions are that for the promotion of beef production are cooperative
grouping, to establish a connection from upstream to downstream systems, to focus on intensive
cattle farming and food supplies, utilizing GFM disease prevention system which has been
certified by the GMP standard, making the production of all beef cattle able to meet the demand,
extend the Burapha Village Project to be able to cover all provinces in the area. This can make the
amount of animal adequate for the consumption. Also, it requires the development of the beef
network database in the East to be complete and the same database to plan the production,
marketing to be stable and sustainable.