Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การพัฒนาสมรรถนะสำคัญของนักเรียนเตรียมทหาร ให้สอดคล้องกับแนวคิดไทยแลนด์ 4.0

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการทหาร/Military
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลโท สุพจน์ มาลานิยม
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2560
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง การพัฒนาสมรรถนะส าคัญของนักเรียนเตรียมทหารให้สอดคล้องกับ แนวคิดไทยแลนด์ ๔.๐ ลักษณะวิชา การทหาร ผู้วิจัย พลโท สุพจน์ มาลานิยม หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๐ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบการฝึกศึกษาของโรงเรียนเตรียมทหาร ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสมรรถนะส าคัญของนักเรียนเตรียมทหาร และความสอดคล้องกับ แนวคิดไทยแลนด์ ๔.๐ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการวิเคราะห์จากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์และแบบสอบถามผู้บริหารด้านการศึกษาของโรงเรียนเตรียมทหาร เกี่ยวกับแนวทาง การพัฒนาสมรรถนะส าคัญของนักเรียนเตรียมทหารให้สอดคล้องกับแนวคิดไทยแลนด์ ๔.๐ วิเคราะห์ ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะส าคัญของนักเรียนเตรียมทหารที่สอดคล้อง กับแนวคิดไทยแลนด์ ๔.๐ ประกอบด้วย ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการคิด ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการใช้ชีวิต และความสามารถในการใช้เทคโนโลยี แนวทางการพัฒนาสมรรถนะส าคัญของนักเรียนเตรียมทหารให้สอดคล้องกับแนวคิดไทยแลนด์ ๔.๐ แบ่งออกเป็น ๒ ด้าน คือด้านนโยบายการจัดการศึกษาและด้านกระบวนการเรียนการสอน ด้านนโยบายการจัดการศึกษา โรงเรียนเตรียมทหารส่งเสริมครู อาจารย์ ผู้ที่ท าหน้าที่สอน ให้ได้รับการพัฒนาทักษะด้านเทคนิคการสอน โดยการจัดชุมชนแห่งการเรียนรู้(Professional Learning Community : PLC) พัฒนาให้มีความพร้อมทางด้านเทคโนโลยี การใช้เครื่องมือการเรียนรู้จาก สื่อออนไลน์ การเลือกสรรสื่อที่เหมาะสม เป็นผู้ออกแบบการเรียนรู้และอ านวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitator) บูรณาการรายวิชาของตนกับรายวิชาอื่น ๆ ออกแบบการเรียนการสอนและภาระงานให้ สอดคล้องกัน ด้านกระบวนการเรียนการสอน เน้นการสะสมทักษะชีวิต ครูผู้สอนเป็นเพียงผู้ชี้แนะ (Mentoring) ใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) ใช้เทคโนโลยี สืบค้นข้อมูล จัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem - based Learning) ตั้งประเด็นค าถาม ต่อยอดความรู้ในการค้นคว้าเพิ่มเติม ผ่านทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Collaborative Learning) ใช้ STEM Education พัฒนากระบวนการหรือผลผลิตนวัตกรรมใหม่ๆ ผ่านการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project - based Learning)การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learningการใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity - based Learning) รวมทั้งปลูกฝังนักเรียนเตรียมทหารให้มีจิตสาธารณะ (Public Mind) และมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม (Public Responsibility)

abstract:

ข ABSTRACT Title The Improvement on Key Competencies of Pre – Cadets in accordance with Thailand 4.0 Policy Field Military Name Suphot Malaniyom, Lieutenant General Course NDC Class 60 This research aimed to study the education and training scheme of the Armed Forces Academies Preparatory School (AFAPS) particularly in key competencies of Pre - cadets in accordance with ‘Thailand 4.0’ policy. The data was collected by conducting a documentary analysis, interviews with AFAPS education administrators and a questionnaire on guidelines of improvement onPre-Cadets’ competencies in accordance with Thailand 4.0 policy. According to the content analysis, it was discovered that the key competencies relevant to Thailand 4.0 policy were communication capability, critical thinking capability, problem solving capability, capability in applying life skills, and capability in technological application. The guidelines of the improvement on the key competencies in accordance with Thailand 4.0 policy could be divided into two main areas: an educational administration policy and teaching pedagogy. According to an educational administration policy, AFAPS teachers and instructors were encouraged to improve their teaching techniques by establishing Professional Learning Community (PLC) and their technological readiness to appropriately select and utilize digital media as learning tools. Additionally, teachers shifted their roles to be facilitators designing and facilitating in Pre - cadets’ learning process along with utilizing a cross - disciplinary integration and planning and implementing appropriate teaching approaches and corresponding assignments. Regarding teaching pedagogy, life skills learning was emphasized while teachers were only mentors. Flipped classroom, information searching skills, and problem - based learning were also implemented together with open - ended discovery by students through collaborative learning. In regard to STEM education, Pre-cadets’ innovative processes or products were Improved through project - based learning, and active learning, especially in activity - based learning, was also put into practiced. Correspondingly, Pre - cadets were imbued with public mind and public responsibility.